ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในปัจจุบันวงการเพลงของไทยกำลังเติบโตและมีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะความนิยมในการเรียนดนตรีในระดับมหาวิทยาลัยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในไทยก็ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญทางด้านดนตรีมากขึ้น จึงได้มีการเปิดการเรียนการสอนคณะ/สาขาวิชาด้านดนตรีเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย
คณะน่าเรียน ดุริยางคศาสตร์ เลือกเรียนที่ไหนดี?
ดังนั้น ในบทความนี้ แคมปัส-สตาร์ ก็จะพาน้อง ๆไปรู้จักกับคณะ/สาขาวิชาทางด้านดนตรีกันให้มากยิ่งขึ้นว่าเข้าไปเรียนแล้วจะต้องเจออะไรกันบ้าง มีมหาวิทยาลัยใดที่เปิดสอนบ้าง และเรียนจบออกไปแล้วสามารถประกอบอาชีพหรือทำงานสายได้บ้าง ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย
สอนการเปิดช่องคอ โดยครูแก้ว…
Link : https://seeme.me/ch/krukeawacademy/9WQVGq?pl=yad2Wz
คุณสมบัติของผู้สมัคร
- ต้องสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า หรือกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมปีที่ 6 และคาดว่าจะสำเร็จการศึกษา
- ผู้สมัครจะต้องมีความสามารถที่โดดเด่นในด้านการขับร้อง การเล่นดนตรี หรือการแสดง อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอย่างน้อย
- ผู้สมัครจะต้องมีความประพฤติดี ไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาทางด้านดนตรี
- การขอรับทุนการศึกษาผู้สมัครจะต้องได้รับการทดสอบทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติกับทางคณะกรรมการตามวันและเวลาที่มหาวิทยาลัยได้กำหนดเอาไว้
** ทั้งนี้ ผู้สมัครจะต้องมีคุณสมบัติที่ครบถ้วนตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ซึ่งมหาวิทยาลัยอาจจะมีคุณสมบัติของผู้สมัครที่แตกต่างกันออกไป น้อง ๆ ควรศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนสมัคด้วยนะจ๊ะ
มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน
1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะ/สาขาวิชาที่เปิดสอน ได้แก่
- สาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะคณะครุศาสตร์ สาขานี้จะเรียนเพื่อไปเป็นคุณครู/อาจารย์ โดยแบ่งออกเป็นสาขาดนตรีไทยและสาขาดนตรีสากล ใช้เวลาในการเรียนทั้งหมด 5 ปี และน้อง ๆ ที่สนใจอยากจะเข้าศึกษาต่อในสาขาวิชาดนตรีศึกษาจะต้องผ่านการทดสอบทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ พร้อมทั้งยังจะต้องมีเกรดเฉลี่ยสะสม (GPAX) และผลคะแนนสอบ GAT/PAT5 (วิชาความถนัดเฉพาะวิชาชีพครู) ด้วย
เว็บไซต์ คณะคณะครุศาสตร์ : คลิกที่นี่
- คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ แบ่งออกเป็น สาขาดุริยางคศิลป์ไทยและสาขาดุริยางคศิลป์ตะวันตก และน้อง ๆ ที่สนใจอยากจะเข้าศึกษาต่อในสาขาวิชาดนตรีศึกษาจะต้องผ่านการทดสอบทั้งภาคทฤษฎี (ประวัติศาสตร์ดนตรี ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับดนตรี) และภาคปฏิบัติ ฯลฯ
เว็บไซต์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ : คลิกที่นี่
2. มหาวิทยาลัยศิลปากร
คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร แบ่งออกเป็น 4 สาขา ได้แก่ สาขาการแสดงดนตรี, สาขาวิชาดนตรีแจ๊ส, สาขาวิชาดนตรีเชิงพาณิชย์, สาขาวิชาดนตรีและธุรกิจบันเทิง โดยการเรียนการสอนของที่นี่จะเน้นการเรียนรู้ที่ให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะในด้านดนตรี
ซึ่งจะเริ่มเรียนตั้งแต่ขั้นพื้นฐานของวิชาทฤษฎีการดนตรี, ประวัติศาสตร์ด้านดนตรี, การฝึกโสตทักษะ, คีย์บอร์ดพื้นฐาน, กษะคีย์บอร์ดสำหรับนักเปียโน, การขับร้อง, เครื่องเอก, การรวมวง, ออร์เคสเตสชั่น และการรวมวงเชมเบอร์ ซึ่งในแต่ละชั้นปีก็จะเพิ่มความยากขึ้นเรื่อย ๆ
ข้อดีของการเลือกเรียนที่นี่ คือ มีสาขาที่ไม่จำเป็นที่จะต้องเล่นดนตรีเป็นก็สามารถสมัครเรียนได้ และสามารถสอบเข้าในรอบ Admission ได้อีกด้วย คือ สาขาวิชาดนตรีและธุรกิจบันเทิง ซึ่งจะเป็นการสอนผู้เรียนให้เป็นนักธุรกิจดนตรีที่เข้าใจภาพรวมของวงการดนตรี
ส่วนสาขาวิชาดนตรีเชิงพาณิชย์ จะเน้นการผลิตทีมงานเบื้องหลังและนักดนตรีคุณภาพ ที่สามารถแต่งเพลงได้และอัดเพลงเป็นได้ด้วยตนเอง
เว็บไซต์ คณะดุริยางคศาสตร์ ม.ศิลปากร : คลิกที่นี่
3. มหาวิทยาลัยมหิดล
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีการแบ่งสาขาที่เปิดสอนออกเป็น 2 สาขาวิชาด้วยกัน ได้แก่
- สาขา Perform เรียนเกี่ยวกับ การปฏิบัติดนตรีคลาสสิก, ดนตรีแจ๊ส, การประพันธ์ดนตรี, ละครเพลง, ดนตรีสมัยนิยม, ดนตรีไทยและดนตรีตะวันออก
- สาขา Non-Perform เรียนเกี่ยวกับ ธุรกิจดนตรี (เรียนธุรกิจ), ดนตรีศึกษาและการสอน (เรียนเป็นครูดนตรี), เทคโนโลยีดนตรี (เรียนเพื่อเป็น Sound Engineer)
ในปัจจุบันวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดรับสมัครบุคคลเข้าศึกต่อทั้งหมด 4 รอบ และสามารถสอบเพื่อเข้าเรียนในภาคการศึกษาที่ 2 ได้ โดยการสอบจะใช้คะแนนสอบภาคทฤษฎี โสตทักษะ คะแนนสอบภาคปฏิบัติ และคะแนนสอบวิชาเฉพาะสาขา กำหนดการสมัครเข้าเรียน ปีการศึกษา 2562 : คลิกที่นี่
เว็บไซต์ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ม.มหิดล : คลิกที่นี่
ร้องยังไงให้ตรงคีย์เพลง ไม่เพี้ยน(เคล็ดลับการร้องคีย์ผู้ชายหรือผู้หญิง)
Link : https://seeme.me/ch/krukeawacademy/9OVynk?pl=yad2Wz
4. มหาวิทยาลัยรังสิต
วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต มีแขนงวิชาที่เปิดสอน ได้แก่ แขนงวิชาการแสดงดนตรี, แขนงวิชาดนตรีแจ๊สศึกษา, แขนงวิชาการแสดงขับร้อง, แขนงวิชาการสอนดนตรี (เรียนเพื่อเป็นครูสอนดนตรี), แขนงวิชาการประพันธ์เพลง (เรียนเพื่อเป็นนักประพันธ์เพลง), แขนงวิชาการผลิตดนตรี (เรียนเพื่อผลิตงานดนตรี/โปรดิวเซอร์), แขนงวิชาดนตรีประกอบภาพยนตร์และมัลติมีเดีย
โดยผู้สมัครสามารถแสดงความจำนงในการเลือกแขนงวิชาเอกได้ตั้งแต่ในขั้นตอนการรับสมัครสอบคัดเลือกเข้าศึกษา แต่นักศึกษาและวิทยาลัยอาจปรับเปลี่ยนแขนงวิชาเอกของนักศึกษาอีกครั้งเมื่อนักศึกษาเรียนไปได้ 2 ภาคการศึกษาแล้ว (จบการศึกษาชั้นปีที่ 1) ซึ่งดูจากผลการเรียนของวิชาบังคับสำหรับการสมัครแขนงวิชาเอกนั้น ๆ
ส่วนระบบการศึกษาจะใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติจะมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ และอาจมีภาคฤดูร้อนอีก 1 ภาคการศึกษา ซึ่งมีระยะการศึกษาไม่น้อยกว่า 6 สัปดาห์
เว็บไซต์ วิทยาลัยดนตรี ม.รังสิต : คลิกที่นี่
5. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีสาขาวิชาที่เปิดการเรียนการสอน ประกอบด้วย
- สาขาดุริยางคศาสตร์สากล คือ สาขาที่เน้นการปฏิบัติดนตรี มี 3 สาขาย่อย ได้แก่ ดนตรีคลาสสิก, การผลิตงานดนตรีเชิงธุรกิจ และดนตรีแจ๊ส สำหรับการสอบเข้าศึกษาต่อน้อง ๆ จะต้องสอบปฏิบัติ อ่านโน้ต ความเข้าใจในดนตรี และอื่น ๆ
- สาขาดนตรีศึกษา สาขาที่เรียนเพื่อเป็นครูสอนดนตรี น้อง ๆ จะต้องสอบข้อเขียนเกี่ยวกับประวัติดนตรีไทยและดนตรีตะวันตก ทฤษฎีดนตรี ดนตรีศึกษา ความรู้ทั่วไปทางดนตรี ใช้เวลาเรียน 5 ปี
เว็บไซต์คณะศิลปกรรมศาสตร์ มศว : คลิกที่นี่
นอกจากนี้ก็ยังมีมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ที่เปิดสอนด้านดนตรี ได้แก่
- คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
- คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
- วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
- คณะดนตรี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
- วิทยาลัยศิลปะการแสดง มหาวิทยาลัยสยาม
- คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
- คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
- คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
- คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
- คณะครุศาสตร์ และสำนักวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
- คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
- คณะครุศาสตร์ และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
- คณะดนตรีและการแสดง, คณะศิลปกรรมศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมดนตรีและสื่อประสม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
** คะแนนที่ใช้ในการรับสมัคร หรือเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาในแต่ละปี (อาจจะ) มีความแตกต่างกันออกไป ดังนั้นน้อง ๆ ควรที่จะเข้าไปศึกษารายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับสมัครให้ดีเสียก่อนผ่านเว็บไซต์ของแต่ละมหาวิทยาลัย จะได้ไม่พลาดกันทีหลังนะจ๊ะ
เรียนจบแล้วทำงานด้านไหนได้บ้าง?
- นักดนตรี เล่นตามงานจ้างต่าง ๆ หรือเล่นตามร้านอาหาร/นักดนตรี รับจ้างอัดเสียงในอัลบั้มต่าง ๆ
- คอนดักเตอร์
- Sound Engineer ในห้องอัด หรืองานคอนเสิร์ต
- รับราชการ ดุริยางค์ทหารเรือ ทหารบก ทหารอากาศ ตำรวจ หรือกรมศิลปากร
- นักแต่งเพลง/ประพันธ์เพลง (แต่งเนื้อ แต่งทำนอง หรือเรียบเรียงดนตรี )
- อาจารย์สอนดนตรีตาม รร.ดนตรี หรือ สมัครเป็นอาจารย์ประจำหรืออาจารย์พิเศษในมหาวิทยาลัยรัฐ เอกชน
- เปิดห้องซ้อมดนตรี หรือห้องอัดเสียง ให้เช่า ฯลฯ
Written by : Toey