5 สถาบันการศึกษา ที่เปิดสอนด้านการบิน | แนะอาชีพที่น่าสนใจ เมื่อเรียนจบ

อาชีพทางด้านการบิน เป็นอีกหนึ่งอาชีพในฝันของน้องๆ หลายคน สำหรับใครที่กำลังตัดสินใจอยู่ว่าจะเลือกเดินตามความฝัน แต่ก็ไม่รู้ว่ามีสถาบันการศึกษาแห่งไหนบ้างที่เปิดการเรียนการสอนทางด้านนี้ ไม่ต้องเสียเวลาไปเปิดค้นหาจากที่อื่นเลย เพราะในบทความนี้ แคมปัส-สตาร์ ได้รวม 5 สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนทางด้านการบินมาให้น้องๆ ได้ศึกษารายละเอียดกันแล้ว จะมีที่ไหนกันบ้าง… มาดูกันเลย

5 สถาบัน ที่เปิดสอนด้านการบิน

ประกอบไปด้วย 1. สถาบันการบินพลเรือน 2. มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย 3. มหาวิทยาลัยศรีปทุม 4. สถาบันการบิน RoyalSky Aviation Center 5. โรงเรียนการบินกรุงเทพ บริษัท บางกอกเอวิเอชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด มีรายละเอียดดังนี้

1. สถาบันการบินพลเรือน

สถาบันการบินพลเรือน (Civil Aviation Training Center) เดิมมีชื่อว่า “ศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทย” เป็นหน่วยงานประเภทรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคม โดยมีหน้าที่ในการอบรมและผลิตบุคลากรด้านการบินทั้งระดับภายในประเทศและระหว่างประเทศ ตามมาตรฐานระดับสากลที่องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization : ICAO) ได้กำหนดเอาไว้

สำหรับสถาบันการบินพลเรือนได้แบ่งหลักสูตรการเรียนการสอนออกเป็น 3 หลักสูตรด้วยกัน ได้แก่ หลักสูตรภาคพื้น หลักสูตรภาคอากาศ และหลักสูตรฝึกอบรม ซึ่งในแต่ละหลักสูตรมีรายละเอียดการเรียนการสอนดังต่อไปนี้

หลักสูตรภาคพื้น

หลักสูตรภาคพื้น (Ground Training Programme) ได้มีการแบ่งการเรียนการสอนออกเป็น 4 หลักสูตร ได้แก่

1. หลักสูตรเทคโนโลยีการบินบัณฑิต (Bachelor of Technology in Aviation Program in Aviation Management) สาขาวิชาการจัดการการบิน เป็นหลักสูตร 4 ปี โดยเปิดรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในแผนกวิทย์-คณิต และแผนกศิลป์ นักศึกษาจะเรียนรวมกันเป็นเวลา 2 ปี (ชั้นปีที่ 1 และ 2) และจะทำการเลือกสาขาวิชาเมื่อนักศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 มี 3 วิชาเอก ได้แก่

2. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Engineering) เป็นหลักสูตร 4 ปี โดยเปิดรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนกวิทย์-คณิต มี 1 สาขาวิชา ได้แก่

3. หลักสูตรอนุปริญญา (ปวส.) เป็นหลักสูตร 2 ปีครึ่ง มี 3 หลักสูตร ได้แก่

4. หลักสูตรเทคโนโลยีการบินบัณฑิต (ต่อเนื่อง) (Bachelor of Technology in Aviation (Continuing Program) ) เป็นหลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปี มี 2 สาขาวิชา ได้แก่

ดูรายละเอียดทั้งหมดหลักสูตรภาคพื้น : คลิกที่นี่

หลักสูตรภาคอากาศ

หลักสูตรภาคอากาศ (Flying Training Programme) ในปัจจุบันได้ถูกแบ่งออกเป็นหลักสูตรต่างๆ ดังต่อไปนี้

ดูรายละเอียดทั้งหมดหลักสูตรภาคอากาศ : คลิกที่นี่ 

หลักสูตรฝึกอบรม

หลักสูตรฝึกอบรม (Specific Training Programme) ได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 หลักสูตรการอบรม ได้แก่

1. Operations Group Schedule

2. Aircraft Maintenance Group

ดูรายละเอียดทั้งหมดหลักสูตรฝึกอบมรม : คลิกที่นี่ 

เว็บไซต์ สถาบันการบินพลเรือน : คลิกที่นี่

>> สถาบันการบินพลเรือน เปิดรับสมัครนิสิตใหม่ หลักสูตรวิชาภาคพื้น ปีการศึกษา 2561

2. มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คณะการบิน (School of Aviation) สาขาวิชาบริหารกิจการการบิน (Aviation Management) มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย มีแผนการเรียนการสอนทั้งภาคพื้นและภาคอากาศ ทั้งนี้ผู้เรียนภาคอากาศสามารถเลือกเรียนเพิ่มเติมเป็นนักบินพาณิชย์ได้ด้วย ซึ่งในหลักสุตรการเรียการสอนของที่นี่จะเน้นสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ มีห้องปฏิบัติการจำลองทางด้านการบิน เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติจริง นอกจากยังมีทุนเรียนดี และกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา อีกด้วย

ดูรายละเอียดทั้งหมดของหลักสูตรการสอน : คลิกที่นี่

3. มหาวิทยาลัยศรีปทุม

วิทยาลัยการบินและคมนาคม สาขาการจัดการความปลอดภัยทางการบิน มหาวิทยาลัยศรีปทุม มีจุดเด่นในการเรียนการสอนคือ “เรียนกับมืออาชีพ” มุ่งเน้นให้นักศึกษาเรียนรู้ ฝึกฝน และหาประสบการณ์จากการเรียนในห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ และการฝึกปฏิบัติงานจริงเสมือนเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานในองค์กรที่มีชื่อเสียงทางด้านธุรกิจการบินทั้งในภาครัฐและเอกชน มีการทำความร่วมมือทางด้านวิชาการและด้านบุคลากร ระหว่างมหาวิทยาลัยศรีปทุมกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่ภาครัฐและเอกชนที่มีชื่อเสียงทางด้านธุรกิจการบินอย่างกว้างขวาง เช่น บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และสถาบันฝึกอบรมด้านการบิน (TFTA) เป็นต้น โดยได้หลักสูตรการเรียนการสอนดังนี้

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

ดูรายละเอียดทั้งหมดของหลักสูตรการสอน : คลิกที่นี่

4. สถาบันการบิน RoyalSky Aviation Center

สถาบันการบิน RoyalSky Aviation Center เป็นอีกหนึ่งสถาบันการศึกษาที่น่าสนใจสำหรับน้องๆ คนไหนที่จะเข้าศึกษาต่อทางด้านการบิน โดยที่สถาบันแห่งนี้ได้ทำการแบ่งหลักสูตรการเรียนการสอนออกเป็น 3 หลักสูตร ได้แก่

1. Private Pilot License (PPL) เป็นหลักสูตรที่มุ่งหวังให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้พื้นฐานในด้านการบิน ตลอดจนมีทักษะ ความชำนาญในการทำการบิน หลักสูตรนักบินส่วนบุคคลนี้ ถือเป็นพื้นฐานของหลักสูตรการบินทั้งหมด ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่มีความสนใจด้านการบิน โดยผู้สมัครจะมีคุณสมับติคือ สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่าขึ้นไป ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ

2. Commercial Pilot License (CPL) หลักสูตรนักบินพาณิชย์ตรี ช่วยเพิ่มความรู้ ทักษะความสามารถ และความเป็นนักบิน อาชีพ การบินเดินทางระยะไกล การบินในเวลากลางคืน การบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน และการบินเครื่องบินหลายเครื่องยนต์ จนสามารถประกอบอาชีพได้ โดยผู้สมัครจะมีคุณสมับติคือ สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่าขึ้นไป ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ

3. Multi-Engine Rating (ME) เป็นหลักสูตรที่อบรมความรู้ภาควิชการระดับศักย์การบินด้วยเครื่องบินหลายเครื่องยนต์ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจในหลักการบินของเครื่องบินหลายเครื่องยนต์ เพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติการบินกับเครื่องบินหลายเครื่องยนต์ได้อย่างปลอดภัย โดยผู้สมัครจะมีคุณสมับติคือ เป็นผู้ถือใบอนุญาตนักบินส่วนบุคคล หรือผู้ถือใบอนุญาตศักย์การบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน

ดูรายละเอียดทั้งหมดของหลักสูตรการสอน : คลิกที่นี่ 

5. โรงเรียนการบินกรุงเทพ บริษัท บางกอกเอวิเอชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด

สำหรับ โรงเรียนการบินกรุงเทพ บริษัท บางกอกเอวิเอชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด (BAC) ได้มีการเปิดสอนหลักสูตรนักบินพาณิชย์ตรี ตลอดหลักสูตร (CPL) ประกอบไปด้วย หลักสูตรนักบินส่วนบุคคล (PPL), หลักสูตรการบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน (IR), หลักสูตรการบินด้วยเครื่องบินสองเครื่องยนต์ (MR), หลักสูตรครูการบิน (IP) รวมไปถึงหลักสูตรนักบินพาณิชย์เอก (ATP) โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

หลักสูตรนักบินพาณิชย์ตรี (CPL)

หลักสูตรนักบินพาณิชย์ตรีของ BAC ได้ออกแบบมาเพื่อสร้างคุณสมบัติการเป็นนักบินในสายการบินให้กับผู้เรียน เมื่อสำเร็จหลักสูตรแล้วสามารถที่จะทำงานในสายการบินได้เลย โดยหลักสูตรจะมีความเข้มงวดในความรู้เรื่องการบินและความรู้ขั้นประยุกต์ ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับการบินพาณิชย์ที่ยอมรับกันในสากล หลักสูตรนักบินพาณิชย์ตรีของ BAC มุ่งเน้นการเรียนการสอนที่สามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปใช้ได้จริงในการทำงานกับสายการบินชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ

หลักสูตรนักบินส่วนบุคคล (PPL)

BAC ได้พัฒนาหลักสูตรนักบินส่วนบุคคลซึ่งได้รวมทุกสิ่งที่จำเป็นสำหรับการเป็นนักบินที่ดี เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายที่น่าพึงพอใจ และสามารถต่อยอดสู่การเป็นนักบินพาณิชย์ได้ในอนาคต โดย BAC ใส่ใจทุกรายละเอียดของการฝึกทั้งการฝึกภาคพื้น 132 ชั่วโมง และการฝึกภาคอากาศอีก 40 ชั่วโมงบิน สำหรับผู้ที่สนใจหลักสูตรนักบินส่วนบุคคลสามารถจัดสรรเวลาเรียนได้ทั้งแบบ Part-Time และ Full-Time

หลักสูตรการบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน (IR)

หลักสูตรที่จะทำให้คุณสามารถบังคับเครื่องบินด้วยตัวเองได้แม้อยู่ในสภาพอากาศที่แปรปรวน และเพิ่มศักยภาพในการบินโดยเครื่องวัดประกอบการบินเป็นเครื่องนำทาง ซึ่งเป็นทักษะหนึ่งของการบิน โดยหลักสูตรนี้ของ BAC จะเรียนวิชาภาคพื้น 86 ชั่วโมง และฝึกภาคอากาศ 40 ชั่วโมง โดยแบ่งเป็นการฝึกบินจำลอง (Simulator) 30 ชั่วโมง และการฝึกเครื่องบินจริง 10 ชั่วโมงบิน หรือชั่วโมงบินเดินทาง PIC 50 ชั่วโมง โดยผู้เรียนสามารถเลือกเวลาเรียนได้ตามช่วงเวลาที่โรงเรียนกำหนด

หลักสูตรการบินแบบสองเครื่องยนต์ (MR)

หลักสูตรการบินแบบสองเครื่องยนต์ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีของการเพิ่มศักยภาพทางการบินสำหรับใบอนุญาตนักบินส่วนบุคคล และใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี โดยมีการฝึกสอนภาคพื้น 22 ชั่วโมง และภาคอากาศ 15 ชั่วโมง โดยแบ่งเป็นการฝึกบินจำลอง (Simulator) 4 ชั่วโมง และการฝึกเครื่องบินจริง 11 ชั่วโมงบิน

หลักสูตรครูการบิน (IP)

BAC มีความพร้อมและได้รับการรับรองในการเปิดสอนหลักสูตรครูการบิน เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับนักบินที่ต้องการเพิ่มศักยภาพทางการบินและหาความรู้เพิ่มเติม

หลักสูตรนักบินพาณิชย์เอก (วิชาการเบื้องต้น : ATP)

หลักสูตร ATP เป็นหลักสูตรที่เรียนอย่างต่อเนื่อง 6 สัปดาห์ เพื่อฝึกอบรมบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ และเตรียมพร้อมเพื่อประกอบอาชีพเป็นนักบินพาณิชย์ในสายการบินต่างๆ หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรที่ต้องเรียนหลังจากมีใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี (CPL License) เนื้อหาของหลักสูตรจะเป็นความรู้ขั้นประยุกต์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของนักบินในสายการบิน มีความสำคัญและจำเป็นมากสำหรับการเป็นนักบินพาณิชย์

หลักสูตรเพิ่มเติม (ฝึกอบรม)

– Crew Resource Management (CRM)

การอบรม CRM คือ กระบวนการการพัฒนาในระยะยาว ซึ่งประกอบไปด้วยการอบรมด้านทรัพยากร และสื่อกลางการฝึก เริ่มตั้งแต่ระดับขั้นพื้นฐานจนถึงระดับสูงสุด โดยจะแบ่งออกเป็นการศึกษาด้วยตนเอง การศึกษาระหว่างเรียน การศึกษาทั้งในห้องเรียนและเครื่องบินจำลอง (Simulator) เพื่อที่จะฝึกสอนในระหว่างการปฏิบัติการจริง ซึ่งเป็นวิธีที่ได้พิจารณาแล้วว่าเป็นประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน

– หลักสูตร Add on to CPL

สถาบันการบิน BAC เป็นสถาบันการบินที่เป็นศูนย์รวมของกลุ่มบุคคลที่สนใจ และรักในการบิน ฝึกอบรมศิษย์การบินทุกคนให้มีความรู้ ประสบการณ์ และมีทักษะที่ดี อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจด้านการบินเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นสถาบันการบิน BAC จึงต้องเตรียมรับมือและพัฒนาประสิทธิภาพของการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะผลิตบุคลากรทางด้านการบินให้มีความสามารถ เป็นมาตรฐานในระดับสากล และพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ต่อไป

ดูรายละเอียดทั้งหมดของหลักสูตรการสอน : คลิกที่นี่

เรียนจบมาแล้วประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง?

  1. เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานสนามบิน
  2. เจ้าหน้าที่ฝ่ายขนส่งสินค้าทางอากาศ/เจ้าหน้าที่แผนกคลังสินค้าทางอากาศ
  3. เจ้าหน้าที่แผนกรองรับที่นั่ง/บริการลูกค้า/ชิปปิ้งสายการบิน
  4. พนักงานบริการและต้อนรับบนเครื่องบิน/เจ้าหน้าที่บริการและต้อนรับภาคพื้น
  5. อาจารย์สถาบันการศึกษา/วิทยากรบรรยาย
  6. เจ้าหน้าที่ในองค์การและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธรุกิจสายการบิน
  7. งานด้านการบริหารระดับต้นของสายการบิน
  8. งานด้านการบริหารระดับต้นของท่าอากาศยาน
  9. งานด้านความปลอดภัยการบินในท่าอากาศยาน สายการบิน ภาคพื้น และบริษัทวิทยุการบิน
  10. งานด้านความปลอดภัยในอาคารหรือโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
  11. งานด้านการบิน (นักบินพาณิชย์และนักบินส่วนบุคคล) ฯลฯ

บทความที่น่าสนใจ

ขอบคุณภาพจาก FB : สถาบันการบินพลเรือน-Civil Aviation Training Center,Thailand

ข่าวที่เกี่ยวข้อง