โลจิสติกส์ หรือ ลอจิสติกส์ (logistics) อีกหนึ่งสาขาวิชาที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน โดยมีความเกี่ยวข้องกับการจัดระบบการขนส่ง หรือ การเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ ทั้งภาคพื้นดิน ทางอากาศ และทางเรือ นอกจากนี้ยังรวมถึง ข้อมูล และทรัพยากรอย่างอื่น ที่ทำการขนย้ายตั้งแต่ต้นทางไปยังจุดหมายปลายทางตามความต้องการของลูกค้า
สาขาน่าเรียน โลจิสติกส์ เรียนที่ไหนดี?
ซึ่งสาขาวิชาด้านโลจิสติกส์นั้นไม่ได้เรียนรู้เฉพาะเรื่องการขนส่งเท่านั้น แต่ยังรวมถึงกระบวนการ วิธีการ การวางแผนสินค้าคลคลัง การจัดเก็บ ควบคุม การบริหารธุรกิจ และความเข้าใจเกี่ยวกับการเงิน การตลาดเบื้องต้นในการทำธุรกิจ อีกด้วย
สำหรับน้อง ๆ ที่เข้ามาเรียนในสาขาวิชาด้านโลจิสติกส์ ในปี 1 น้อง ๆ จะต้องวิชาหลักที่คล้าย ๆ กันก็คือ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิชาพื้นฐานทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นวิชาด้านธุรกิจ การบริหารจัดการ วิชาการตลาด การเงิน ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ (แคลคูลัส สถิติ) และมนุษยศาสตร์ ฯลฯ
และในปีต่อ ๆ มาก็ได้เรียนรู้วิชาเฉพาะด้านมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น วิชาด้านการขนส่งสินค้าและการกระจายสินค้าไปยังตลาด เรียนรู้เกี่ยวกับวัสดุและการบรรจุภัณฑ์ เรียนรู้วิธีการจัดการการทรัพยากรมนุษย์ การวางแผนอุปสงค์และสินค้าคงคลัง การจัดการโซ่อุปทานเชิงกลยุทธ์ เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับโลจิสติกส์ การค้าการจัดการ ฯลฯ
หลังจากนั้นน้อง ๆ ก็จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับโลจิสติกส์มากขึ้น โดยในบางมหาวิทยาลัยก็จะมีการให้นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ออกไปฝึกงานจริงในโรงงานหรือบริษัท หรือบางมหาวิทยาลัยก็จะมีการฝึกแบบสหกิจศึกษาด้วย
โลจิสติกส์ กับศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
โลจิสติกส์ มีศาสตร์แขนงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ศาสตร์ด้วยกัน ได้แก่
1. ด้านวิศวกรรมศาสตร์
โดยในส่วนของวิศวกรรมศาสตร์ มีสาขาวิชาที่มีความเกี่ยวข้องคือ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering) และสาขาวิศวกรรมโยธา (Civil Engineering) โดยในสาขาวิชาเหล่านี้จะเรียนรู้ถึงวิธีการเคลื่อนที่ย้ายสินค้าเป็นหลัก เพื่อให้การขนส่งสินค้านั้นมีประสิทธิภาพสูงสุด ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อเพลิง หรือเวลาในการขนส่งให้น้อยที่สุด
2. ด้านบริหารธุรกิจ
สำหรับสาขาด้านบริหารธุรกิจจะเน้นมองในเรื่องของการขนส่งระหว่างประเทศ โดยจะพิจารณาจากภาษี กฎหมาย ค่าระวาง นโยบาย หรือยุทธศาสตร์ทางด้านโลจิสติกส์ของแต่ละประเทศและเรื่องการค้าระหว่างประเทศ เพื่อนำมาประกอบการวางแผนขนส่งสินค้าไปยังประเทศต่าง ๆ
3. ด้านการจัดการสารสนเทศ
ส่วนในด้านการจัดการสารสนเทศ จะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับ software และ hardware ที่นำมาควบรวมกันเป็น solution หรือ บริการ ที่จะช่วยทำให้การดำเนินการทางโลจิสติกส์มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ใช้เวลาในการดำเนินงานให้น้อยมากที่สุด
ติวเข้ม แคลคูลัส Part 5 : The Last Part
Link : https://seeme.me/ch/pparkmathacademy/MzR7dM?pl=yad0Mz
เกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาเข้าเรียนต่อ …
ระบบรับตรง (ทั่วประเทศ)
- กำลังศึกษา หรือสำเร็จการศึกษาชั้น ม.6 แผนการเรียนวิทย์-คณิตฯ, ศิลป์-คำนวณ
- มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) 5 หรือ 6 เทอม
- ต้องมีผลคะแนน GAT/PAT1 (คณิตศาสตร์), PAT2 (วิทยาศาสตร์)
ระบบแอดมิชชัน
แผนการเรียนวิทย์-คณิตฯ
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 10%
- PAT1 (คณิตศาสตร์) 10%
- PAT2 (วิทยาศาสตร์) 30%
แผนการเรียนศิลป์-คำนวณ
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 30%
- PAT1 (คณิตศาสตร์) 20%
** ทั้งนี้เกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศ อาจจะมีความแตกต่างกันออกไป (นี่เป็นเพียงเกณฑ์พิจารณาคราว ๆ เท่านั้น) ดังนั้นน้อง ๆ ควรที่จะต้องเข้าไปศึกษาข้อมูลในเว็บของมหาวิทยาลัยที่ต้องการเข้าศึกษาให้ดีเสียก่อนทำการสมัครจริงค่ะ
มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน
- คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา Link : คลิกที่นี่
- วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม Link : คลิกที่นี่
- ภาควิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร Link : คลิกที่นี่
- สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต Link : คลิกที่นี่
- สาขาการจัดการโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ Link : คลิกที่นี่
- สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย Link : คลิกที่นี่
- สาขาการจัดการโลจิสติกส์ สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี Link : คลิกที่นี่
- สาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์ คณะเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยราชมงคลตะวันออก Link : คลิกที่นี่
- หลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี Link : คลิกที่นี่
- สาขาการจัดการโลจิสติกส์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา Link : คลิกที่นี่
- สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง Link : คลิกที่นี่
- สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน โครงการบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง Link : คลิกที่นี่
- สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร Link : คลิกที่นี่
- สาขาวิชาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศโลจิสติกส์และการขนส่ง คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Link : คลิกที่นี่
- สาขาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ โลจิสติกส์และการขนส่ง ภาควิชาพาณิชยศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Link : คลิกที่นี่
คุณสมบัติที่ดีของผู้ที่ทำงานด้านโลจิสติกส์
- ต้องมีความรู้ หรือเรียนจบมาทางด้านโลจิสติกส์ (Logistics)
- ต้องมีระเบียบและมีความละเอียดรอบคอบในการทำงาน
- ทำงานด้วยความซื่อสัตย์และปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด
- สามารถทำงานเป็นกะหรือทำงานล่วงเวลาได้
- มีความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษที่สามารถนำมาใช้ในการทำงานได้
- ต้องมีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ เพื่อการจัดการระบบโลจิสติกส์ได้
- สามารถทำงานเป็นทีมได้ เป็นได้ทั้งผู้นำและผู้ตามในบางโอกาส
จบแล้วทำงานอะไรได้บ้าง?
- ฝ่ายจัดซื้อ
- ฝ่ายผลิต
- ฝ่ายจัดส่งและคลังสินค้า
- ฝ่ายควบคุมวัตถุดิบ
- ฝ่ายซัพพลายเชนและโลจิสติกส์
- ฝ่ายการขนส่ง
- นักวิเคราะห์ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
- นักวางแผน วัตถุดิบ การผลิต หรือการกระจายสินค้า
- นักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ
- ทำธุรกิจส่วนตัว เช่น นำเข้าและส่งออก ผู้ให้บริการทางด้านโลจิสติกส์ ตัวแทนขนส่งทางบก ทางทะเล หรือทางอากาศ ฯลฯ
- ทำงานสายวิชาการ เช่น นักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์ในสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ ฯลฯ
- รับราชการ เช่น กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี กรมประมง กรมการขนส่งทางอากาศ กรมศุลกากร และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, www.u-review.in.th
บทความที่น่าสนใจ
- เวชกิจฉุกเฉิน สาขาน่าเรียนที่เน้นสร้างนักปฏิบัติการวิชาชีพเฉพาะด้านการแพทย์
- สาธารณสุขศาสตร์ คณะน่าเรียน สำหรับน้อง ๆ ที่ชอบงานวิจัย วิเคราะห์ ตรวจสอบ และป้องกัน
- วิศวกรรมระบบราง อีกหนึ่งสาขามาแรง ที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน
- คณะสังคมศาสตร์ เรียนเกี่ยวกับอะไร? เลือกเรียนที่ไหนดี? จบแล้วทำงานด้านไหน?
- อยากเรียน เศรษฐศาสตร์ ต้องใช้คะแนนอะไร? เรียนที่ไหนดี? จบแล้วทำงานที่ไหนได้บ้าง?