คณะน่าเรียน คณะแพทยศาสตร์ จบแล้วทำงานอะไร สาขาเวชกิจฉุกเฉิน

เวชกิจฉุกเฉิน สาขาน่าเรียน เน้นสร้างนักปฏิบัติการวิชาชีพ เฉพาะด้านการแพทย์

Home / ข่าวการศึกษา / เวชกิจฉุกเฉิน สาขาน่าเรียน เน้นสร้างนักปฏิบัติการวิชาชีพ เฉพาะด้านการแพทย์

สาขาเวชกิจฉุกเฉิน เป็นอีกหนึ่งหลักสูตรการเรียนการสอนที่เน้นสร้างนักปฏิบัติการวิชาชีพเฉพาะด้านการแพทย์ ที่มีความสามารถในการช่วยเหลือดูแลรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ และระหว่างการนำส่งโรงพยาบาลได้อย่างถูกวิธีและรวดเร็วที่สุด

แนะนำสาขาน่าเรียน สาขาเวชกิจฉุกเฉิน

โดยจะเน้นการเรียนด้านการช่วยเหลือคนไข้หรือผู้ที่ได้รับการบาดเจ็ย เช่น การให้น้ำเกลือ การใช้ท่อช่วยหายใจ การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย การดูแลคนไข้บนรถพยาบาลฉุกเฉินจนถึงโรงพยาบาล เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่เรียนจบทางด้านเวชกิจฉุกเฉินจะประจำอยู่ที่ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาล และในบางครั้งออกมาช่วยเหลือผู้ป่วยอาการหนักหรือผู้ที่ประสบอุบัติเหตุด้วยนอกโรงพยาบาลด้วย

สาขาเวชกิจฉุกเฉิน

คุณสมบัติของผู้สมัคร

1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

2. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือ สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.)-สาขาเวชกิจฉุกเฉิน

หลักสูตรและสถาบันที่เปิดสอน

1. EMR (Emergency Medical Responder)

หลักสูตร EMR( Emergency Medical Responder) หรือมีชื่อเดิมว่า FR (First Responder) เป็นหลักสูตรสำหรับเจ้าหน้าที่และอาสาสมัคร (อาสากู้ชีพ) โดยจะเปิดอบรมทั้งหมด 40 ชั่วโมง ซึ่งโรงพยาบาลประจำหวัดหรือโรงพยาบาลศูนย์ จะเปิดอบรมทุก ๆ ปี หลักจากจบหลักสูตรผู้เข้าร่วมอบรมจะได้รับประกาศนียบัตร

2. EMT (Emergency Medical Technician)

หลักสูตร EMT (Emergency Medical Technician) หรือมีชื่อเดิมว่า EMT-B (Emergency Medical Technician Basic) เป็นหลักสูตรสำหรับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลและอาสาสมัคร (อาสากู้ชีพ) โดยจะเปิดอบรม 115 ชั่วโมง ส่วนใหญ่หน่วยงานต้นสังกัดส่งอบรมเพื่มเติม โดยต้องผ่านการอบรม EMR มาก่อน สถานจัดอบรมได้แก่ โรงพยาบาลศูนย์ หรือโรงพยาบาลขนาดใหญ่ จะเปิดอบรมทุก ๆ ปี หลักจากจบหลักสูตรผู้เข้าร่วมอบรมจะได้รับประกาศนียบัตร

3. AEMT (Advanced Emergency Medical Technician)

หลักสูตร AEMT (Advanced Emergency Medical Technician) หรือมีชื่อเดิมว่า EMT-I (Emergency Medical Technician Intermediate) โดยรับผู้ที่จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า เข้าเรียนในหลักสูตร 2 ปี เมื่อจบการศึกษาจะได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ (ปวส.ฉพ.) โดยมีสถาบันการศึกษาที่เปิดสอน ดังต่อไปนี้

  • วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
  • วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง
  • วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา
  • วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
  • โรงเรียนนาวิกเวชกิจ ศูนย์วิทยาการ กรมแพทย์ทหารเรือ

สาขาเวชกิจฉุกเฉิน

4. Paramidic

หลักสูตร Paramidic หรือมีชื่อเดิมว่า EMT-P (Emergency Medical Technician – Paramidic) โดยรับผู้ที่จบการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 6 สายวิทย์-คณิต หรือผู้จบหลักสูตร AEMT 2 ปีมาแล้ว เข้าเรียนในหลักสูตร 4 ปี เมื่อจบการศึกษาจะได้รับ วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเวชกิจฉุกเฉิน (วทบ. เวชกิจฉุกเฉิน) โดยมีสถาบันการศึกษาที่เปิดสอน ดังต่อไปนี้

  • สาขาเวชกิจฉุกเฉิน-คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (เปิดหลักสูตรปริญญาสาขาเวชกิจฉุกเฉิน แห่งแรกของประเทศไทย รับผู้จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า) ในปีการศึกษา 2559 ได้ปรับปรุงหลักสูตรและเปิดสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์
  • สาขาเวชกิจฉุกเฉิน-คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา และตั้งแต่ในปีการศึกษา 2559 ได้ปรับปรุงหลักสูตรและเปิดสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์
  • คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดสอนในปีการศึกษา 2558 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์
  • คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เปิดสอนในปีการศึกษา 2558 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์

สูตรยกของยังไงให้เบาที่สุด

Link : https://seeme.me

แนวทางการประกอบอาชีพ

  1. ทีมช่วยเหลือ ณ จุดเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่เวชกิจฉุกเฉินระดับกลาง หรือเจ้าหน้าที่กู้ชีพเป็นหลักสูตรเทียบเท่า EMT-Intermediate ของสหรัฐอเมริกา และเจ้าหน้าเคลื่อนย้ายผู้ป่วยต้องผ่านหลักสูตรเวชกรฉุกเฉินระดับตัน (EMT-B)
  2. ทีมพยาบาลวิชาชีพเฉพาะทางการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน ที่ผ่านการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง (ACLS) และมีประสบการณ์การช่วยชีวิต
  3. ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เช่น แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน, สูตินรีแพทย์, วิสัญญีแพทย์, รังสีแพทย์วินิจฉัย ฯลฯ

บทความที่น่าสนใจ