ผู้บริหาร เคล็ดลับการทำงาน เรียนบริหาร

บทบาทผู้บริหาร คุณสมบัติที่ดีของผู้บริหาร – ความหมายของผู้บริหาร

Home / บทความการทำงาน / บทบาทผู้บริหาร คุณสมบัติที่ดีของผู้บริหาร – ความหมายของผู้บริหาร

การจะเป็น ผู้บริหารที่ดี มีคุณสมบัติที่เหมาะสมในการทำงานบริหารได้นั้น จะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร? มีขั้นตอนการทำงานอย่างไรบ้าง ในบทความนี้เรามีข้อมูลมาแนะนำสำหรับน้อง ๆ ที่คิดว่าต่อไปภายหน้าจะทำงานสายนี้กันค่ะ – บทบาทของผู้บริหาร คุณลักษณะที่ดีของผู้บริหาร ความหมายของผู้บริหาร

บทบาทผู้บริหาร หน้าที่ และคุณสมบัติ – ผู้บริหารที่ดี

ผู้บริหาร คืออะไร?

ผู้บริหาร คือ ผู้นำที่มีความรู้ความสามารถหลาย ๆ ด้าน และสามารถแบ่งงานให้ตามความสามารถของแต่ละบุคคลและให้คำแนะนำการทำงานได้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด คำว่า บริหาร ตามพจนานุกรมหมายถึง การแบ่งงานกันทำโดยทั่วถึง การกระจายงาน ผู้ที่ทำหน้าที่ดำเนินการต่างๆ ผู้ที่ทำการปกครอง

บทบาทผู้บริหาร บทบาทสำคัญและหน้าที่ของผู้บริหาร

1. เป็นผู้นำในด้านความรู้ความสามารถในหลาย ๆ ด้าน และมีความทันสมัย

การเป็นผู้นำในการบริหารต้องมีความรู้ความสามารถในหลาย ๆ ด้าน และอัปเดตเทรนด์ต่าง ๆ ให้ทันยุคทันสมัยอยู่เสมอ ติดตามข่าวสารความรู้ด้านต่างๆ เพื่อนำมาปรับใช้ในหน่วยงาน และเพื่อที่จะสามารถสั่งการบุคลากรในหน่วยงานได้และสามารถสั่งสอนเรื่องต่าง ๆ ที่บุคลากรไม่มีความเข้าใจในด้านนั้น ๆ ได้

2. เป็นผู้นำการสั่งการ มีบทบาทหรืออิทธิพลต่อบุคลากรในหน่วยงาน

เพราะต้องได้รับหน้าที่สำคัญในการบริหารงานให้ประสบผลสำเร็จ  จึงต้องเป็นผู้นำในการสั่งการให้กับทุกฝ่ายทุกหน่วยงานสามารถดำเนินงานไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บริหารต้องมอบงานให้กับบุคลากรได้อย่างเหมาะสมด้วย

3. เป็นผู้จัดหาสิ่งต่าง ๆ ในการดำเนินงาน มีบทบาทมากกว่าผู้อื่น

การเป็นผู้บริการก็คือการเป็นผู้นำ การจะทำอะไรก็ตามแต่จะต้องดำเนินงาน จัดหาสิ่งต่าง ๆ เช่น จะต้องหาทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ เพื่อมาดำเนินงานในองค์กร เพื่อให้งานเดินต่อไปได้สำเร็จ

4. เป็นผู้สร้างความสัมพันธ์อันดีในองค์กร เป็นที่ยอมรับจากบุคลากรให้เป็นผู้นำ

เนื่องจากในองค์กรนั้นต้องมีการสนทนากันระหว่างบุคคลด้วย ผู้บริหารต้องเชื่อมความสัมพันธ์ของหน่วยงานและบุคลากรให้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เพื่อการทำงานขององค์กรจะได้มีประสิทธิภาพอย่างมากที่สุด

11 สิ่งที่ผู้บริหารควรมี

1. มีภาวะผู้นำ จูงใจผู้คนให้เต็มใจร่วมมือ บริหารผู้คนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. มีเมตตาธรรม ไม่มีอคติหรือรักต่อบุคคลใด ๆ ไม่ใช้ความเป็นส่วนตัวในการตัดสิน รู้จักเสียสละผลประโยชน์ส่วนตัวเพื่อส่วนรวม

3. ต้องอยู่บนพื้นฐานของเหตุผลและความถูกต้อง มีความชัดเจน มีความเป็นธรรม และตัดสินใจแก้ไขปัญหาจากพื้นฐาน เพื่อความถูกต้อง

4. เป็นนักคิด นักวิเคราะห์ มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถวิเคราะห์สถานะการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5. มีการสร้างวิสัยทัศน์ มีมุมมองที่มองเห็นอนาคตว่าจะเป็นอย่างไร จากความรู้ที่สะสมมา มีมุมมองที่ดีในทุก ๆ ด้าน

6. มีทักษะหลายด้าน ต้องมีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ การตัดสินใจ การจัดการที่ดี และรู้จักบริหารส่วนต่าง ๆ

7. รอบรู้และมีข้อมูลที่ทันสมัย ต้องอัปเดตมีความรู้ใหม่ ๆ เพื่อตัดสินใจในการบริหาร หรือ ตัดสินใจในหลาย ๆ ด้าน

8. รู้และเข้าใจบทบาทหน้าที่ รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง ดูแลหน้าที่ของตนเองอย่างเหมาะสม ไม่ก้าวก่ายงานที่ตนไม่ได้รับผิดชอบ

9. กล้าตัดสินใจ กล้าที่จะทำตัดสินปัญหาได้อย่างมั่นคง ไม่ลังเลในความคิด

10. มียุทธวิธีและเทคนิค มีทักษะและวิธีการที่เหมาะสม รวดเร็ว และถูกต้องในการตัดสินใจในแต่ละเรื่อง

11. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี นักบริหารมืออาชีพจะต้องเป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับทุกคน ทั้งเจ้านาย ลูกน้อง เพื่อน และบุคคลทั่วไป

8 หลักการของผู้บริหาร เพื่อการทำงานให้มีประสิทธิภาพ

1. การวางแผน คือ การร่วมมือของบุคลากรกับผู้บริหารในการวางแบบโครงสร้างในอนาคตเพื่อจะได้กระทำงานให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

2. การจัดระบบ คือ การกำหนดหน้าที่ให้กับบุคลากรในการรับผิดชอบในการกระทำการนั้น ๆ และขึ้นตรงกับบุคคลใด และรายงานผลการปฏิบัติงานกับบุคคลใด

3. การรับบุคลากรเข้าทำงาน คือ การจัดหรือเพิ่มจำนวนบุคลากรที่มีความสามารถมารับตำแหน่งในการทำงารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

4. การอำนวยการ คือ การตัดสินใจ การสั่งการบุคลากร การสร้างแรงจูงใจให้แก่บุคลากร การติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานอื่น ๆ

5. การควบคุม คือ การจัดการงานให้เป็นไปตามแบบแผนที่ตั้งไว้ให้ไม่มีแนวโน้มว่าจะมีการเบี่ยงเบนออกจากแบบแผนเดิมซึ่งทำให้ไม่ประสบผลสำเร็จ

6. การประสานงาน คือ การติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงานและในหน่วยงานให้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในการร่วมกันทำงานทำให้งานนั้นมีประสิทธิภาพสูงสุด

7. การเสนอรายงาน คือ การรายงานผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานให้ได้ทราบการเคลื่อนไหว

8. การจัดการงบประมาณ คือ การจัดสรรการใช้งานทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และจัดระบบการใช้งบให้เหมาะสมกับงานที่ตั้งไว้อย่างเหมาะสม

ขอบคุณที่มาข้อมูลจาก : ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ พจนานุกรมไทย ฉบับทันสมัย. – – กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2543
yahoo.com, academia.edu, sanook, th.wikipedia

บทความแนะนำ