สมุนไพร อุทยานการเรียนรู้ อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ แหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ

อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ แหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติวิทยา ม.มหิดล ศาลายา

Home / วาไรตี้ / อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ แหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติวิทยา ม.มหิดล ศาลายา

อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ ตั้งอยู่ในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ต.ศาลายา อ.พุทธ-มณฑล จ.นครปฐม เป็นศูนย์การเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง บนพื้นที่กว่า 140 ไร่ โดยอุทยานแห่งนี้ได้รวบรวมพันธุ์สมุนไพรที่ปรากฏในตำรายาเอาไว้มากที่สุด กว่า 800 ชนิด

อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ ม.มหิดล ศาลายา

สำหรับ อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ เป็นพื้นที่อนุรักษ์ธรรมชาติในรูปแบบ Botanical Garden เพื่อเป็นอุทยานการเรียนรู้ทางธรรมชาติวิทยา ต่อยอดภูมิปัญญาไทย ให้สามารถเป็นต้นแบบด้านการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช โดยเป็นแหล่งรวบรวมพืชสมุนไพรสำหรับให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป และสำหรับการวิจัยและผลิตพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยาให้เป็นอาหาร เครื่องสำอาง และอื่น ๆ อย่างครบวงจร

อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ

นอกจากนี้ มีการจัดแสดงนิทรรศการความเป็นมาของการแพทย์แผนไทย และการพัฒนาสมุนไพรเพื่อประโยชน์ที่ยั่งยืน ผ่านสื่อการเรียนรู้ที่น่าสนใจ พร้อมทั้งกิจกรรมสาธิตส่งเสริมประสบการณ์ให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป ชุมชนต่าง ๆ นักเรียน นักศึกษา นักวิจัย และรวมทั้งผู้พิการทุกกลุ่ม เนื่องจากอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ ได้จัดสร้างขึ้นภายใต้แนวคิด อารยสถาปัตย์ (Universal Design)

โดยเป็นการออกแบบสิ่งแวดล้อม อาคารสถานที่ และสิ่งของเครื่องใช้ ที่อำนวยความสะดวกให้แก่ ผู้สูงอายุ คนพิการ หรือผู้ที่ด้อยสมรรถภาพต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ชมทุกกลุ่มสามารถมาเรียนรู้ และเยี่ยมชมอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติได้อย่างเท่าเทียมกัน

สุดยอดแหล่งการเรียนรู้ ยอดเยี่ยม 

อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ใน Museum Thailand Awards 2018 ด้านพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2561 ณ ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย และได้รับรางวัลในงาน Thailand Friendly Design Expo 2018 มหกรรมอารยสถาปัตย์ และนวัตกรรมสุขภาพเพื่อคนทั้งมวล ครั้งที่ 3 ประเภท แหล่งท่องเที่ยว Friendly Design เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2561

อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ

อุทยานแห่งนี้ ประกอบด้วย 7 ลาน 7 อาคาร ดังนี้ 

1. อาคารใบไม้สามใบ

จุดต้อนรับผู้เข้าเยี่ยมชมเข้าสู่อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ เพื่อจุดประกายความคิดก่อนเข้าชมสวนสมุนไพร ภายในอาคารประกอบด้วยโถงต้อนรับห้องจัดนิทรรศการถาวร สมุนไพร ภูมิปัญญาไทยสู่สากล นิทรรศการถาวรให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร จากภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ สู่การเผยแพร่และได้รับความยอมรับในระดับสากล ประทับใจกับการเรียนรู้จริง ได้สัมผัส ชิม ดม สมุนไพรอย่างใกล้ชิด รวมทั้งสื่อวิดีทัศน์และเกมมากมาย ที่จะช่วยให้การเรียนรู้เรื่องสมุนไพรเป็นเรื่องสนุก ใช้เวลาชมอย่างน้อย 1 ชั่วโมง และห้องประชุม สำหรับบรรยายทางวิชาการ จำนวน 218 ที่นั่ง

2. ลานนานาสมุนไพร

ลานสมุนไพรที่เป็นไม้เล็ก มุ่งให้ความสำคัญในการเรียนรู้สมุนไพรด้านอาหาร เครื่องใช้ และยารักษาโรค

3. บ้านหมอยา

เป็นอาคารให้บริการตรวจรักษาด้วยการแพทย์แผนไทย (เป็นคลินิกให้บริการการแพทย์แผนไทยในบรรยากาศบ้านหมอยาแบบโบราณ) ประกอบด้วย ห้องตรวจวินิจฉัยห้องพักแพทย์ ห้องเก็บ และจ่ายยา ห้องเตรียมยา และโถงพักผู้เข้ารับบริการ ห้องให้บริการนวดแผนไทย 4 หลัง ๆ ละ 3 เตียง และการนวดฝ่าเท้า (จะเปิดให้บริการเร็ว ๆ นี้)

อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ

4. สวนสมุนไพร

รวบรวมสมุนไพรหลากหลายชนิดทั้ง ไม้ต้น ไม้พุ่ม ไม้ล้มลุกที่สำคัญไว้ในที่เดียวกัน อาทิ สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม ขันทองพยาบาท โกโก้ สะเดา พญายอ เสม็ด เป็นต้น

5. หอดูนก พื้นที่ชุ่มน้ำเหนือ

หนึ่งในองค์ประกอบสำคัญแห่งพื้นที่ชุ่มน้ำเพื่อการอนุรักษ์ หอดูนกนานาชาติอยู่ในเขตพื้นที่ชุ่มน้ำเพื่อการอนุรักษ์ การศึกษาสมุนไพรตามความหลากหลายของระบบนิเวศ

6. หอดูนก พื้นที่ชุ่มน้ำใต้

เป็นอีกหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญแห่งพื้นที่ชุมน้ำเพื่อการอนุรักษ์ หอดูนกนานาชาติ อยู่ในเขตพื้นที่ชุ่มน้ำเพื่อการอนุรักษ์ การศึกษาสมุนไพรตามความหลากหลายของระบบนิเวศ

7. ลานไม้เลื้อย

แปลงสมุนไพรที่จัดปลูกสมุนไพรกลุ่มไม้เลื้อยโดยเฉพาะ ซึ่งมีสมุนไพรที่สำคัญ อาทิ เถาวัลย์เปรียง กวาวเครือขาว โคคลาน ผักเชียงดา ดาวอินคา เป็นต้น

8. ลานสมุนไพรวงศ์ขิง

รวบรวมพืชวงศ์ขิง ซึ่งเป็นชนิดพืชมีความหลากลายสูงมาก โดยนำมาใช้ประกอบอาหาร หรือเป็นเครื่องเทศ เช่น ขิง ข่า กระชาย กระวาน ขมิ้น ฯลฯ ส่วนที่นำมาใช้เป็นสมุนไพร เช่น ว่านชักมดลูก มหาหงส์ ฯลฯ และสุดท้ายคือส่วนที่นำมาใช้เป็นไม้ประดับ เช่น ดาหลา และปทุมมา เป็นต้น

9. อาคารใบไม้ใบเดียว

อาคารสำหรับรองรับจัดกิจกรรมสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ เป็นห้องปฏิบัติการเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง ออกแบบเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สูงอายุ คนพิการ หรือผู้ที่ด้อยสมรรถภาพด้านต่าง ๆ

อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ

10. ลานสมุนไพรเพื่อคนพิการและผู้สูงอายุ

ลานสมุนไพรที่รวบรวมสมุนไพรหลากหลายมาไว้ให้ชมได้โดยง่าย เน้นพืชสมุนไพรที่มีกลิ่น รส และผิวสัมผัส เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับผู้พิการทางสายตา และออกแบบพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สูงอายุ คนพิการ หรือผู้ที่ด้อยสมรรถภาพด้านต่าง ๆ และมีสื่อการสอนพิเศษ สำหรับผู้พิการทางสายตาและผู้พิการทางการได้ยินโดยเฉพาะ ใช้เวลาชมอย่างน้อย 2 ชั่วโมง

11. ศาลาหมอชีวกโกมารภัจน์

ประดิษฐานรูปหล่อหมอชีวกโกมารภัจน์ เนื่องจากเป็นบุคคลที่มีคุณประโยชน์และมีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ซึ่งเรื่องราวได้กล่าวไว้ในพระไตรปิฏก โดยหมอชีวกโกมารภัจจ์ได้ถวายตัวเป็นแพทย์ประจำพระองค์พระพุทธเจ้าด้วย จึงถือได้ว่าหมอชีวกโกมารภัจจ์เป็นบรมครูแห่งการแพทย์แผนโบราณ

12. ลานสมุนไพรเพื่อสุขภาพ

รวบรวมสมุนไพรที่ช่วยดูแลสุขภาพและสามารถใช้ได้ในชีวิตประจำวัน ให้ผู้ชมได้เรียนรู้จากสมุนไพรใกล้ตัว ได้เห็นของจริงอย่างใกล้ชิดและมั่นใจได้ในการใช้งานอย่างปลอดภัย เพราะเป็นสมุนไพรที่มีงานวิจัยรองรับ

13. อาคารสัมมนา

ประกอบด้วย ส่วนบริการจัดอบรมและสัมมนาด้านวิชาการ และส่วนบริการห้องอาหาร สำหรับรองรับผู้เข้าชมอุทยานฯ (จะเปิดให้บริการเร็ว ๆ นี้)

14. อาคารวิจัยและพิพิธภัณฑ์พืช

เป็นอาคารสำหรับการวิจัย พร้อมทั้งจัดแสดงกระบวนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสมุนไพร โดนเฉพาะชนิดที่ใกล้สูญพันธุ์ เพื่อให้สามารถรักษาลักษณะทางพันธุ์กรรมที่สำคัญไว้สำหรับเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์สืบไป และเป็นแหล่งรวบรวมตัวอย่างสมุนไพรแห้ง เพื่อการศึกษา โดยจัดแสดงในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ที่สวยงามน่าสนใจ และให้ความรู้ได้เป็นอย่างดี (กำลังดำเนินการตกแต่งภายใน)

อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ

อัตราการเข้าชม

เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี

– อัตราค่าเข้าชม ไม่คิดค่าธรรมเนียม
– อัตราค่าวิทยากรนำชม กลุ่มละ 15-30 คน/รอบ จะมีค่าบริการอยู่ที่ 30 บาท/คน
– กิจกรรมสาธิต กลุ่มละ 15-30 คน ต่อ 1 กิจกรรม จะมีค่าบริการอยู่ที่ 60 บาท/คน

บุคคลทั่วไป

– อัตราค่าเข้าชม 100 บาท/คน
– อัตราค่าวิทยากรนำชม กลุ่มละ 15-30 คน/รอบ จะมีค่าบริการอยู่ที่ 30 บาท/คน
– กิจกรรมสาธิต กลุ่มละ 15-30 คน ต่อ 1 กิจกรรม จะมีค่าบริการอยู่ที่ 60 บาท/คน

นักเรียน/นักศึกษา

– อัตราค่าเข้าชม 50 บาท/คน
– อัตราค่าวิทยากรนำชม กลุ่มละ 15-30 คน/รอบ จะมีค่าบริการอยู่ที่ 30 บาท/คน
– กิจกรรมสาธิต กลุ่มละ 15-30 คน ต่อ 1 กิจกรรม จะมีค่าบริการอยู่ที่ 60 บาท/คน

นักศึกษา และบุคลากร มหาวิทยาลัยมหิดล

– อัตราค่าเข้าชม ไม่คิดค่าธรรมเนียม
– อัตราค่าวิทยากรนำชม กลุ่มละ 15-30 คน/รอบ จะมีค่าบริการอยู่ที่ 30 บาท/คน
– กิจกรรมสาธิต กลุ่มละ 15-30 คน ต่อ 1 กิจกรรม จะมีค่าบริการอยู่ที่ 60 บาท/คน

ชาวต่างชาติ

– อัตราค่าเข้าชม 250 บาท/คน
– อัตราค่าวิทยากรนำชม กลุ่มละ 15-30 คน/รอบ จะมีค่าบริการอยู่ที่ 30 บาท/คน
– กิจกรรมสาธิต กลุ่มละ 15-30 คน ต่อ 1 กิจกรรม จะมีค่าบริการอยู่ที่ 60 บาท/คน

อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ

เวลาเปิดบริการและช่องถามติดต่อสอบถาม

เวลาทำการ : พุธ-อาทิตย์ เวลา 06.00 – 18.00น. (เฉพาะห้องนิทรรศการ เวลา 09.00 – 16.00 น.)

โทรศัพท์ : 0 2441 5272 ถึง 4

โทรสาร : 0 2441 5264

E-mail : [email protected]

เว็บไซต์ : https://sireepark.mahidol.ac.th

Facebook : sireepark

รวมภาพ อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ

บทความที่น่าสนใจ