มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

Phuket Rajabhat University

Home / academy / มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต (Phuket Rajabhat University) ตั้งอยู่ ณ จังหวัดภูเก็ต บนที่ดินเนื้อที่ประมาณ 354 ไร่ 78 ตารางวา ซึ่งเดิมเป็นที่ดินขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต 78 ไร่… See More

มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต (Phuket Rajabhat University) ตั้งอยู่ ณ จังหวัดภูเก็ต บนที่ดินเนื้อที่ประมาณ 354 ไร่ 78 ตารางวา ซึ่งเดิมเป็นที่ดินขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต 78 ไร่ ที่ดินที่ได้รับบริจาคจากขุนเลิศโภคารักษ์ และทายาท 273 ไร่ และได้รับบริจาคจากนายโสภณ เอกวานิช 3 ไร่ 78 ตารางวา ทำการสอนทั้งในระดับปริญญาตรี ประกาศนียบัตรบัณฑิต และปริญญาโท

มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

ประวัติความเป็นมา
มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต เริ่มต้นจากการเป็นส่วนหนึ่งในสถาบันการศึกษาชั้นสูง (Higher Education Institution) 3 แห่ง ที่จัดตั้งขึ้นในจังหวัดต่างๆ ในภูมิภาค ในปี พ.ศ. 2515 โดยกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้ริเริ่มผลักดันให้สถาปนาขึ้นที่จังหวัดภูเก็ต บุรีรัมย์ และลำปาง ด้วยวัตถุประสงค์เชิงซ้อน 4 ประการ คือ

1. เพื่อผลิตครู และส่งเสริมวิทยฐานะครูประจำการ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนครูที่มีคุณภาพ และวุฒิทางครูอย่างรุนแรงในยุคนั้น ตามนโยบายยกระดับคุณภาพการศึกษาของชาติ และการรณรงค์เพื่อการรู้หนังสือของประชาชนในประเทศ (Literacy Campaign) ที่เน้นการลดจำนวนผู้ไม่รู้หนังสือของประชาชนทั่วไป
2. เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาอุดมศึกษาไปสู่ประชาชนในท้องถิ่นชนบท ด้วยการลดต้นทุนทางการศึกษาในภาคประชาชนให้กับชาวชนบทห่างไกล ลดภาระในการเดินทางเพื่อรับการศึกษาสำหรับนักเรียนต่างจังหวัด และเพิ่มโอกาสในการแข่งขันให้กับเด็กเรียนดี ใฝ่เรียน ใฝ่รู้ ในชนบทตามแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาชนบทอย่างยั่งยืน
3. เพื่อแก้ปัญหาความขาดแคลนครูเรื้อรัง ในโรงเรียนในท้องถิ่นชนบทห่างไกลบางแห่ง เนื่องจากคนในท้องถิ่นห่างไกลไม่มีโอกาสเรียนครู และผู้ที่เรียนครูซึ่งมาจากท้องถิ่นอื่นที่มีความสะดวกสบายกว่า ไม่ประสงค์ที่จะเป็นครูในโรงเรียนในท้องถิ่นทุรกันดารและห่างไกล
4. เพื่อกระจายนักวิชาการและผู้มีความรู้ความสามารถระดับสูงจากส่วนกลาง โดยเฉพาะกรุงเทพมหานครออกไปประจำต่างจังหวัด เพื่อให้การสนับสนุนทางวิชาการแก่ชาวชนบทในการประกอบการงานอาชีพ อันเป็นการเสริมสร้างรากฐานในการพัฒนาชนบทอย่างยั่งยืน และเป็นรูปธรรม

มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จึงได้เริ่มต้นจากการเป็นวิทยาลัยครูภูเก็ต จัดการศึกษาตามปรัชญา และอุดมการณ์ดังกล่าว โดยเปิดสอนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษากับประกาศนียบัตรวิชาการชั้นสูง และจัดการอบรมเพื่อส่งเสริมวิทยฐานะครูประจำการ ตามหลักสูตรครูมัธยม (พ.ม.) มีพื้นที่รับผิดชอบในการผลิตครู และส่งเสริมวิทยฐานะครูในเขตภาคใต้ 5 จังหวัดชายฝั่งตะวันตก (ฝั่งอันดามัน) ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต พังงา ระนอง กระบี่ และตรัง

เมื่อได้มีประกาศใช้ พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 วิทยาลัยครูภูเก็ต จึงได้เปิดสอนระดับปริญญาในสาขาวิชาการศึกษา ใช้ชื่อปริญญาครุศาสตรบัณฑิต ในแขนงวิชาเอกต่างๆ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ เพื่อตอบสนองความต้องการโอกาสทางการศึกษาอุดมศึกษาของประชาชนในท้องถิ่นให้กว้างขึ้น

หลังจากประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2527 วิทยาลัยครูภูเก็ตได้ปรับเปลี่ยนระบบการจัดการศึกษาจากเดิม โดยเปิดสอนตามหลักสูตรระดับปริญญาตรี ในสาขาวิทยาศาสตร์ ศิลปศาสตร์ และบริหารธุรกิจ เพิ่มเติมจากสาขาครุศาสตร์ ทำให้ประชาชนในท้องถิ่นมีโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาเพิ่มมากขึ้น

ต่อมาได้ปรับเปลี่ยนสถานภาพจากวิทยาลัยครูภูเก็ต เป็นสถาบันราชภัฏภูเก็ต ตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 โดยสาระสำคัญของพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏนี้มุ่งเน้นให้สถาบันราชภัฏ เป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อพัฒนาท้องถิ่นที่ให้การศึกษา และวิชาชีพชั้นสูงได้หลายสาขาวิชา จนถึงระดับปริญญาเอก โดยให้คงภารกิจการผลิต การฝึกอบรม และการส่งเสริมวิทยฐานะครู ซึ่งเป็นภารกิจหลักในอดีตเอาไว้เช่นเดิม

ในปี พ.ศ.  2543 สภาองค์การบริหารส่วนตำบลนาบินหลา มีมติเห็นชอบแบ่งที่ดินทุ่งสาธารณะเลี้ยงสัตว์ในทุ่งโคกชะแง้ ที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ จำนวน 52 ไร่ 80 ตารางวา เพื่อให้สถาบันจัดตั้งศูนย์ให้การศึกษา สถาบันราชภัฏภูเก็ตประจำจังหวัดตรัง สถาบันฯ ได้ดำเนินการจัดซื้อที่ดินบริเวณข้างเคียงเพิ่มเติมที่ตำบลนาบินหลา จำนวน 2 แปลง แปลงที่ 1 จำนวน 12 ไร่ 55 ตารางวา แปลงที่ 2 จำนวน 12 ไร่ 3 งาน 58 ตารางวา ราคาประเมินไร่ละไม่เกิน 500,000 บาท วัตถุประสงค์เพื่อขยายที่ดินให้มีอาณาเขตติดต่อกับถนน รพช. ตามมติการประชุมกรรมการสภาประจำสถาบันราชภัฏภูเก็ต ครั้งที่ 3/2537 วันอังคารที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2547

ปัจจุบันได้มีพระราชบัญญัติ “มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547” โดยให้มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตเป็นนิติบุคคล และเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีภารกิจตาม มาตรา 7 ซึ่งระบุไว้ว่า “ให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่เสริมสร้างพลังปัญญาของแผ่นดิน ฟื้นฟูพลังการเรียนรู้ เชิดชูภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างสรรค์ศิลปวิทยาเพื่อความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคง และยั่งยืนของปวงชน มีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการสอน วิจัย ให้บริการทางวิชาการสังคม ปรับปรุง ถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยี ทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู”

ปรัชญาประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏ
มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต เป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อพัฒนาท้องถิ่น ปฏิบัติภารกิจบนพื้นฐานแห่งความรับผิดชอบต่อสังคม

มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏ
เป็นรูปวงรี ภายในเป็นดวงตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์รัชกาลที่ 9 ล้อมรอบด้วยชื่อของมหาวิทยาลัยราชภัฏยังภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สีของสัญลักษณ์ ประกอบด้วยสีต่าง ๆ จำนวน 5 สี ซึ่งมีความหมายดังนี้

1. สีน้ำเงิน แทนค่า สถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิดและพระราชทานนาม “มหาวิทยาลัยราชภัฏ”
2. สีเขียว แทนค่า แหล่งที่ตั้งของมหาวิทยาลัยชภัฏทั้ง 36 แห่ง ในแหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม
3. สีทอง แทนค่า ความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา
4. สีส้ม แทนค่า ความรุ่งเรืองของศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ก้าวไกลใน 36 สถาบัน
5. สีขาว แทนค่า ความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

สีประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
– สีแสด หมายถึง ความรุ่งโรจน์ในด้านศิลปวิทยาการทั้งปวงที่มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตนี้ ประสิทธิประสาทให้แก่มวลชน

– สีดำ หมายถึง ความเสียสละ อุทิศตนเพื่อสังคม ของนักศึกษา ครูบาอาจารย์ของมหาวิทยาลัย
ราชภัฏภูเก็ต ซึ่งรวมแล้ว แสด-ดำ หมายถึง เอกลักษณ์ของผู้จบการศึกษาจากสถาบันการศึกษาแห่งนี้จักต้องมีความรุ่งโรจน์ในด้านความรู้ ความสามารถในวิทยาการทั้งปวง และเป็นผู้อุทิศตนเพื่อรับใช้สังคมอย่างแท้จริง

ธงประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าประกอบด้วยแถบสีตามความยาวของผืนธง 2 สี คือ แถบสีแสดอยู่ด้านบน และแถบสีดำอยู่ด้านล่าง มีสัญลักษณ์ของสถาบันอยู่ตรงกลาง

คติพจน์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
สติ ปญฺญ ปริหรติ สติเป็นเครื่องควบคุมการใช้ปัญญา

ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
คือ ดอกแคแสด

มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต : Phuket Rajabhat University
คติพจน์ : สติ ปญฺญ ปริหรติ (สติเป็นเครื่องควบคุมการใช้ปัญญา)
สถาปนา : 9 มิถุนายน พ.ศ. 2514
ประเภท : รัฐบาล
ที่ตั้ง : 21 หมู่ที่ 6 ถนนเทพกระษัตรี ตำบลรัษฎา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต โทรศัพท์ 0-7621-1959 โทรสาร 0-7621-1778
เว็บไซต์ : www.pkru.ac.th
Facebook : pkrupage

ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี และ www.pkru.ac.th/history.php

See Less

ดาวเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้

ชิลเอ้าท์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้

มุมต่างๆในรั้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้

เรื่องเล่า มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้