มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

Rajabhat Maha sarakham University

Home / academy / มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ประวัติความเป็นมา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มีพื้นที่ 454 ไร่ มีอาคาร 57 หลัง และมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามศูนย์หนองโน ตั้งอยู่ที่บ้านหนองโน หมู่ 1 , หมู่… See More

มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ประวัติความเป็นมา
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มีพื้นที่ 454 ไร่ มีอาคาร 57 หลัง และมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามศูนย์หนองโน ตั้งอยู่ที่บ้านหนองโน หมู่ 1 , หมู่ 5 และบ้านกุดแคน หมู่ 6 ตำบลหนองโน (โคกก่อ) อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม มีพื้นที่ 1,050 ไร่ 3 งาน 32 ตารางวา เป็นที่ตั้งของคณะเทคโนโลยีการเกษตร และโครงการเกษตรทฤษฏีใหม่ตามแนวพระราชดำริ

– พ.ศ. 2468 ตั้งเป็น “โรงเรียนประถมกสิกรรม” ขึ้นที่บริเวณวิทยาลัยเทคนิคมหาสารคามในปัจจุบัน
– พ.ศ. 2470 ได้ย้ายไปตั้งที่โคกอีด่อย อยู่ห่างจากตังเมืองมหาสารคามไปทางทิศตะวันตกประมาณ 4 กิโลเมตร ซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามในปัจจุบัน
– พ.ศ. 2473 เปลี่ยนฐานะเป็นโรงเรียนประถมวิสามัญและฝึกหัดครูกสิกรรมชั้นต่ำ
– พ.ศ. 2474 ได้ยุบเลิกแผนแผนกฝึกหัดครูกสิกรรมชั้นต่ำเหลืออยู่เฉพาะโรงเรียนประถมวิสามัญ
– พ.ศ. 2481 ยกฐานะเป็นโรงเรียนประกาศนียบัตรจังหวัด
– พ.ศ .2498เปลี่ยนฐานะเป็นโรงเรียนฝึกหัดครู
– พ.ศ. 2505 (1 พฤษภาคม) ได้ยกฐานะเป็นวิทยาลัยครูมหาสารคาม
– พ.ศ. 2519 จัดระบบงานใหม่ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู และ พ.ศ. 2518 มีผลให้วิทยาลัยครูมหาสารคามเป็นสถาบันอุดมศึกษา
– พ.ศ. 2535 (14 กุมภาพันธ์) วิทยาลัยครูทุกแห่งได้รับพระราชทานนามว่า “สถาบันราชภัฏ” แปลว่า “คนของพระราชา” ใช้ ชื่อภาษาอังกฤษว่า “Rajabhat Institute” และต่อท้ายด้วยชื่อเดิมหรือชื่อจังหวัด
– พ.ศ. 2538 (25 มกราคม) ยกฐานะเป็นสถาบันราชภัฏมหาสารคาม และดำเนินงานตามพระราชบัญญติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 และวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2538 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานพระราชลัญจกรประจำพระองค์ ให้เป็นตราสัญลักษณ์ประจำสถาบันราชภัฏ
– พ.ศ. 2547 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ซึ่งส่งผลให้สถาบันราชภัฏมหาสารคามเปลี่ยน สถานะเป็น “มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม” ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2547 จนถึงปัจจุบัน

ปรัชญาประจำมหาวิทยาลัย
พัฒนาบัณฑิตให้มีความรู้ คู่คุณธรรม นำชุมชนพัฒนาให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน

มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามตราประจำมหาวิทยาลัย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานพระราชลัญจกรประจำพระองค์ รัชกาลที่ 9 ให้เป็นตราสัญลักษณ์ ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มีลักษณะเป็นรูปไข่ วงในคือ พระราชลัญจกรประจำพระองค์รัชกาลที่ 9 เป็นรูปพระที่นั่งอัฐทิศ ประกอบตัวจักร กลางวงจักรมีอักขระเป็น “อุ” เลข 9 รอบวงจักรมีรัศมีเปล่งออก โดยรอบเหนือจักรเป็นรูปเศวตฉัตรเจ็ดชั้น ฉัตรตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศ แปลความหมายว่า มีพระบรมเดชานุภาพในแผ่นดินวงนอก เป็นชื่อมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ และสีของตราประจำมหาวิทยาลัย ประกอบด้วยสีต่างๆ จำนวน 5 สี ดังต่อไปนี้

1. สีน้ำเงิน แทนค่า สถาบันพระมหากษัตริย์ ผู้ให้กำเนิด และพระราชทานนาม “มหาวิทยาลัยราชภัฏ”
2. สีเขียว แทนค่า แหล่งที่ตั้งของสถาบันฯ 36 แห่ง ในแหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม
3. สีทอง แทนค่า ความเจริญรุ่งเรื่องทางภูมิปัญญา
4. สีส้ม แทนค่า ความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒธรรมท้องถิ่นที่ก้าวไกลใน 41 แห่ง
5. สีขาว แทนค่า ความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

สีประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ สีเขียว และ สีแดง

ต้นไม้และดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ ต้นจาน และดอกจาน

เพลงประจำมหาวิทยาลัย
– มาร์ชราชภัฏมหาสารคาม
– ราชภัฏทัศนา
– รำวงราชภัฏมหาสารคาม
– ราชภัฏมหาสารคามคืนถิ่น
– ราชภัฏเริงรมย์
– เขียว-แดง ที่รัก
– ทองกราวพราวใจ
– มหาสารคามแดนฝัน
– วรุณราชภัฏ
– ตลุงราชภัฏมหาสารคาม
– ถิ่นสวรรค์สถาบันราชภัฏ (มหาสารคาม)
– ลาแล้วราชภัฏมหาสารคาม
– มาร์ชราชภัฏมหาสารคาม 2

มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม : Rajabhat Maha sarakham University
คติพจน์ : วิชาการเป็นเลิศ ประเสริฐคุณธรรม นำชุมชนพัฒนา
สถาปนา : 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547
ประเภท : รัฐบาล
ที่ตั้ง : 80 ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 44000
เว็บไซต์ : www.rmu.ac.th
Facebook : https://www.facebook.com/rmu.gs

ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี และ http://www.rmu.ac.th/

See Less

ดาวเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

มุมต่างๆในรั้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้

เรื่องเล่า มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้