มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (Bansomdejchaopraya Rajabhat University) เป็นมหาวิทยาลัยในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ ตั้งอยู่ในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ประวัติความเป็นมา
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาเป็นสถานศึกษาที่ก่อตั้งมาครบ ๑๐๐ ปี ใน พ.ศ.๒๕๓๙ สถานศึกษาอันมีชื่อว่า “บ้านสมเด็จเจ้าพระยา” เกิดจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ที่จะตั้งโรงเรียนแบบ public school ของอังกฤษโดยโปรดให้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการเรื่องนี้มีเจ้าพระยาภาสกรวงศ์เสนาบดีกระทรวงธรรมการเป็นประธาน ที่ประชุมเห็นว่าจวนของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุญนาค) ซึ่งพระยาสีหราชเดโชชัย หลานปู่ของสมเด็จเจ้าพระยาฯได้น้อมเกล้าฯ ถวายไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๓๓ เป็นที่กว้างขวางใหญ่โตเห็นสมควรจัดตั้งเป็นโรงเรียน ให้ชื่อว่า “โรงเรียนราชวิทยาลัย” เปิดเรียนตั้งแต่วันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๔๓๙ แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “โรงเรียนฟากขะโน้น” หรือ “โรงเรียนานสมเด็จเจ้าพระยา” ตราของโรงเรียนเป็นรูป จุฬามงกุฏ การแต่งกายนุ่งผ้าสีครามแกสื้อขาว มีนาย เอ ซี คาร์เตอร์ เป็นอาจารย์ใหญ่ครั้นต่อมาการศึกษาขยายตัวขึ้นเป็นลำดับ ทำให้สถานที่คับแคบลงโรงเรียนราชวิทยาลัยจึงย้ายไปอยู่ที่ตำบลไผ่สิงโต ปทุมวัน ข้างวังสระปทุมวัน จวนของสมเด็จเจ้าพระยาฯ ก็ว่างลงในขณะนั้นการศึกษาระหว่างหัวเมืองกับกรุงเทพมหานคร เหลื่อมล้ำกันมาก เนื่องจากคุณภาพของครูแตกต่างกัน กระทรวงธรรมการจึงได้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูขึ้นที่จวนของสมเด็จเจ้าพระยาฯเรียกว่า “โรงเรียนฝึกหัดครูฝั่งตะวันตก” สำหรับผลิตครูที่มีคุณภาพเพื่อสอนในหัวเมือง เริ่มเปิดสอนเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๔๔๖ มีหลวงบำเน็จวรญาณ เป็นอาจารย์ใหญ่
การจัดการศึกษาฝึกหัดครูระยะนั้นได้ขยายตัวออกไปต่างจังหวัดมากขึ้นจึงทำให้ความจำเป็นที่จะส่งนักเรียนมาเรียนในกรุงเทพฯ ที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยาลดน้อยลง ทางราชการเห็นว่าการฝึกหัดอาจารย์ที่มีอยู่เดิมจะให้ได้ประโยชน์อย่างสูงควรจัดเป็นโรงเรียนประจำจึงให้ย้ายโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์เทพศิรินทร์ซึ่งเป็นนักเรียนกลางวันมาอยู่ที่โรงเรียนฝึกหัดครูฝั่งตะวันตกแล้วเรียกชื่อใหม่ว่า “โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ฝั่งตะวันตก” เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๙ ขุนวิเทศดรุณกิจเป็นอาจารย์ใหญ่ และต่อมาเรียกว่า “โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์บ้านสมเด็จเจ้าพระยา”
พ.ศ.๒๔๕๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์บ้านสมเด็จเจ้าพระยาไปสังกัดเป็นแผนกหนึ่งของโรงเรียนข้าราชการพลเรือน(จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบัน) แต่ยังตั้งอยู่ที่เดิมจนถึงปี พ.ศ.๒๔๕๘ จึงได้ย้ายโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ไปอยู่ที่วังใหม่ (กรีฑาสถานแห่งชาติในปัจจุบัน) ทำให้จวนของสมเด็จเจ้าพระยาฯ ว่างลงอีกครั้ง ทางราชการจึงได้ตั้งโรงเรียนมัธยมขึ้นณ จวนสมเด็จเจ้าพระยาขึ้นใหม่ เรียกว่า “โรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยา” เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๔๕๘ รับนักเรียนประจำ โดยมีโรงเรียนใกล้เคียงเข้าร่วมเป็นสาขาของสถานศึกษาแห่งนี้ ได้แก่ โรงเรียนมัธยมวัดอนงค์ โรงเรียนสุขุมาลัย (ตั้งอยู่บริเวณวัดพิชัยญาติ) และโรงเรียนประถมวัดอนงค์ มีพระยาประมวลวิชาพูล เป็นอาจารย์ใหญ่
โรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยาเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงมาตั้งแต่อดีต สีประจำโรงเรียนคือ ม่วงและขาว อักษรย่อของโรงเรียนคือ บ.ส. มีคติพจน์ประจำโรงเรียนคือ “สจฺจํ เว อมตา วาจา” และตราประจำโรงเรียนคือ รูปเสมาสุริยมณฑล เพื่อเป็นเกียรติแด่ส่lมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ สัญลักษณ์ที่กล่าวมานี้เป็นรากฐานสำคัญของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยามาจนถึงปัจจุบันเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๓ ทางราชการได้สร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพุทธ) และได้ตัดถนนผ่านโรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สถานที่นี้จึงถูกรื้อถอนไม่สามารถทำเป็นโรงเรียนได้อีกต่อไปพระยาวิเศษศุภวัตร์ซึ่งเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยาอยู่ในสมัยนั้นได้เจรจาผ่านกระทรวงธรรมการเพื่อขอแลกเปลี่ยนสถานที่กับโรงเรียนศึกษานารีซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็กและมีนักเรียนจำนวนน้อย ดังนั้นสถานที่ของโรงเรียนศึกษานารีเดิม จึงก่อสร้างเป็นโรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และกระทรวงพระคลังมหาสมบัติิยังได้มอบที่ดินบริเวณตำบลบางไส้ไก่ และตอนใต้ของโรงเรียนศึกษานารีเดิมเพื่อสร้างหอนอนและห้องเรียน และได้ย้ายนักเรียนมาอยู่ ณ ที่แห่งใหม่นี้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๕ เป็นต้นไป ซึ่งเป็นสถานที่ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็เจ้าพระยาในปัจจุบันขณะนั้นมีการศึกษาถึงชั้นมัธยมตอนปลาย (ม.๗ -ม.๘) ใน พ.ศ.๒๔๘๔ กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายผลิตครูมากขึ้น จึงให้เปิดสอนแผนกฝึกหัดครูอีกแผนกหนึ่งมีชื่อเรียกว่า “โรงเรียนฝึกหัดครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา” คู่กับโรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยาแผนกฝึกหัดครูแห่งนี้เปิดรับนักเรียนทุนของจังหวัดที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ และได้เปิดสอนหลักสูตรประโยคครูประถม (ป.ป.) เป็นโรงเรียนประจำต่อมาใน พ.ศ.๒๔๙๙ ได้ยุบหลักสูตรดังกล่าวและเปิดสอนหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง
พ.ศ.๒๕๐๑ โรงเรียนฝึกหัดครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาได้ยกฐานะเป็นวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาและโรงเรียนมัธยม ศึกษาบ้านสมเด็จเจ้าพระยาได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนสาธิตวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระ ยาได้ขยายการจัดการศึกษา เพื่อผลิตครูมาเป็นลำดับ ใน พ.ศ.๒๕๑๖ ได้เปิดสอนในระดับปริญญาตรี หลักสูตรประโยคอุดมศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๘ กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จึงได้เปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการศึกษา ครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) จนกระทั่ง พ.ศ.๒๕๒๗ จึงได้เปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการอื่น ๆ เพิ่มขึ้น ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ และสาขาวิชาศิลปศาสตร์ และยังได้เปิดระดับ อนุปริญญา หลักสูตร ๒ ปี นับเป็นการขยายการศึกษาในระดับอุดมศึกษาอย่างกว้างขวาง ในปีเดียวกันนี้ วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าะพระยาได้รวมกลุ่มกับวิทยาลัยครูกลุ่มนครหลวง ๖ แห่ง เรียกชื่อว่า “วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์” วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ “สถาบันราชภัฏ” เป็นชื่อสถาบันการศึกษาในกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ แทนชื่อ “วิทยาลัยครู” วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาจึงได้รับพระราชทาน นามใหม่ว่า “สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา” และจากพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ.๒๕๓๘ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาสามารถจัดการศึกษาในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกในสาขาวิชาต่าง ๆ ได้ นับได้ว่า สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เป็นสถาบันที่มีเกียรติประวัติดีงามมาโดยตลอดและเป็นความภาคภูมิใจของนักศึกษาทุกคนที่ได้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันแห่งนี้
วิสัยทัศน์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มุ่งมั่น ทุ่มเทให้เป็นเลิศของประเทศ และเป็นมหาวิทยาลัยคุณภาพสากลชั้นนำ (World Class Quality University)
สัญลักษณ์ประจำสถาบัน
1. สีน้ำเงิน แทนค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิด และพระราชทาน “สถาบันราชภัฏ”
2. สีเขียว แทนค่าแหล่งที่ตั้งของสถาบันฯ 36 แห่งในแหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม
3. สีทอง แทนค่าความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา
4. สีส้ม แทนค่าความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ก้าวไกลใน 36 สถาบัน
5. สีขาว แทนค่าความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
ดอกไม้ประจำสถาบัน : ดอกชงโค
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา : Bansomdejchaopraya Rajabhat University
คติพจน์ : สจฺจํ เว อมตา วาจา
ประเภท : รัฐบาล
ที่ตั้ง : 1061 ซอยอิสรภาพ15 ถนนอิสรภาพ แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600
เว็บไซต์ : www.bsru.ac.th
Facebook : BSRU มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี