มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2465 โดยมีชื่อเดิมว่า “โรงเรียนฝึกหัดครูมูลกสิกรรม” ประจำมณฑลนครสวรรค์ โดยรับนักเรียนที่จบชั้นประถมปีที่ 4 มาเรียน 2 ปี ตามหลักสูตรกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ) นักเรียนที่จบแล้วจะได้รับวุฒิครูมูล โดยมีนายสวัสดิ์ กัณหเนตร เป็นครูใหญ่ ต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็น “ขุณกัณหเนตรศึกษากร”
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ประวัติความเป็นมา
พ.ศ. 2465 จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูมูลกสิกรรม รับนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มาเรียน 5 ปี ตามหลักสูตรกระทรวงธรรมการ นักเรียนที่เรียนจบแล้วจะได้รับวุฒิครูมูล
พ.ศ. 2477 จัดตั้งโรงเรียนประถมวิสามัญเกษตรกรรม รับผู้จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และประถมศึกษาปีที่ 5 เรียนในชั้นประถมเกษตรกรรมปีที่ 1 และชั้นประถมเกษตรกรรมปีที่ 2 โดยมีระยะเวลาเรียน 2 ปี โดยมีระยะเวลาเรียน 5 ปี
พ.ศ. 2483 เปิดรับนักเรียนฝึกหัดครูประชาบาล(ป.บ.) ฟลักสูตร 3 ปี รับผู้สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีหลักสูตรการเรียน 3 ปี
พ.ศ. 2498 จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูนครสวรรค์ เปิดรับนักเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) หลักสูตร 2 ปี รับนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีทีี่ 6 ปัจจุบันเทียบเท่ากับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
พ.ศ. 2511 ยกฐานะโรงเรียนฝึกหัดครูขึ้นเป็น “วิทยาลัยครู” เปิดสอนในระดับ ป.กศ. และ ป.กศ.สูง
พ.ศ. 2512 กรมการฝหัดครูได้มีโครงการ ผลิตครูนามฉุกเฉินขึ้นจึงได้เปิดหลักสูตร “ประกาศนียบัตรครูประถมศึกษา” (ป.ป.) สำหรับผู้จบ ม.ศ.5 มาเรียนอีก 1 ปี รวมทั้งเปิดรับนักศึกษาภาคค่ำรุ่นแรกทั้งระดับ ป.กศ. และระดับ ป.กศ.สูง
พ.ศ. 2518 ได้มีพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ.2518 ให้สามารถจัดการศึกษาได้ถึงระดับปริญญาตรี
พ.ศ. 2524 เปิดรับนักศึกษาภาคปกติสาขาวิชาการศึกษา หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ. 4 ปี) ในวิชาเอกสังคมศึกษาและวิทยาศาสตร์ทั่วไป
พ.ศ. 2526 เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัติการศึกษาขั้นสูง ป.กศ. สูง วิชาเอกเทคนิคการอาชีพ ได้แก่ เทคนิคการอาชีพกสิกรรม เทคนิคการอาชีพวารสารและการประชาสัมพันธ์ และเทคนิคการอาชีพไฟฟ้า
พ.ศ. 2527 มีพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2527 ให้วิทยาลัยครูสามารถเปิดสอนสาขาวิชาการอื่นได้ จึงเปิดรับนักศึกษาหลักสูตรอนุปริญญาศิลปศาสตร์บัณฑิต (อ.ศศ.) ในวิชาวารสารและการประชาสัมพันธ์ วิชาดนตรี และหลักสูตรอนุปริญญาวิทยาศาสตร์ (อ.วท.) มีวิชาไฟฟ้า พีชศาสตร์ และมีคณะวิชาวิทยาการจัดการ เพิ่มขึ้นรวมเป็น 4 คณะวิชา คือ คณะวิชาครุศาสตร์ คณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะวิชาวิทยาการจัดการ
พ.ศ. 2531 เปิดรับนักศึกษาในสาขาศิลปศาสตร์และสาขาวิทยาศาสตร์ ทั้งในระดับอนุปริญญาและระดับปริญญาตรี ระดับอนุปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (อ.ศศ.) เปิดโปรแกรมวิชาดนตรี โปรแกรมวิชาอังกฤษธุรกิจระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) เปิดโปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษ โปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ โปรแกรมวัฒนธรรมศึกษา ระดับอนุปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (อ.วท.) เปิดโปรแกรมวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โปรแกรมวิชาไฟฟ้า และระดับปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) เปิดโปรแกรมวิชาพืชศาสตร์ และโปรแกรมวิชาเกษตรศาสตร์
พ.ศ. 2532 เปิดสอนระดับอนุปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต โปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์
พ.ศ. 2533 เปิดสอนระดับอนุปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต โปรแกรมวิชาเคมีปฏิบัติ และระดับปริญญาตรีวิทยาศาสตร์บัณฑิต (ว.ทบ.) หลักสูตร 2 ปี โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีการเกษตร
พ.ศ. 2534 เปิดสอนระดับอนุปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต โปรแกรมวิชาเซรามิกส์ และระดับปริญญาตรี (ค.บ.4 ปี) ในโครงการครุทายาท ระดับมัธยม จำนวน 3 โปรแกรม ได้แก่ เกษตรกรรม ฟิสิกส์ และชีววิทยา
พ.ศ. 2535 วิทยาลัยครูนครสวรรค์ ได้เปลี่ยนสถานภาพเป็นสถาบันราชภัฏนครสวรรค์เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 โดยได้รับพระราชทานชื่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และอยู่ในสังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏกระทรวงศึกษาธิการและได้มีการเปิดสอนระดับปริญญาตรีถึงปริญญาโท
พ.ศ. 2542 เปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา และสาขาวิชาการหลักสูตรและการสอน
พ.ศ. 2543 เปิดสอนระดับปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ. 4 ปี) โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีเซรามิกซ์
พ.ศ. 2545 เปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา
พ.ศ. 2546 เปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรสาขาวิชาส่งเสริมสุขภาพ และเปิดรับนักศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์
พ.ศ. 2547 สถาบันราชภัฏนครสวรรค์ได้รับเปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 อยู่ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาธิการ และดำเนินการเปิดสอนในระดับประกาศนียบัตร ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท และระดับปริญญาเอก
พ.ศ. 2548 ร่วมมือกับวิทยาลัยชุมชนพิจิตรเปิดสอนระดับปริญญาตรี หลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ ที่อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร
พ.ศ. 2549 เปิดสอนระดับปริญญาเอกหลักสูตรครุศาสตรดุษฏีบัณฑิต (ค.ด.) สาขาวิชาจัดการศึกษาและการเรียนรู้
พ.ศ. 2550 เปิดสอนระดับปริญญาเอกหลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต (ปร.ด) สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา เปิดสอนระดับปริญญาโท ได้แก่ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการเกษตร หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด และสาขาการจัดการทั่วไป
พ.ศ. 2551 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ทรงประกอบพิธีเปิด อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ในวันที่ 25 สิงหาคม 2551 ซึ่งเป็นอาคารที่ใช้สนับสนุนการเรียนการสอนประกอบด้วย ศูนย์ภาษา ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
พ.ศ. 2552 เปิดสอนระดับปริญญาตรีได้แก่ วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (วิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต) และหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมพลังงาน
พ.ศ. 2553 เปิดสอนระดับปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา
พ.ศ. 2554 เปิดสอนระดับปริญญาตรี ได้แก่ สาขาดนตรีศึกษา (ค.บ.5 ปี) เทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม (ทล.บ. 4 ปี) และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (ต่อเนื่อง) แขนงวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม (ทล.บ. 2 ปี)
พ.ศ. 2555 เปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาประวัติศาสตร์ (ศศ.บ. 4 ปี) และสาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (วท.บ. 4 ปี)
พ.ศ. 2556
– เปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาจุลชีววิทยา(วท.บ. 4 ปี)
– ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ผศ.ดร.บัญญัติ ชำนาญกิจ มาดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2556
พ.ศ. 2557 เปิดสอนระดับปริญญาตรี ได้แก่ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม และระดับปริญญาเอก หลักสูตรครุศาสตรดุษฏีบัณฑิต (ค.ด.) สาขาบริหารการศึกษา
ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ตั้งอยู่เลขที่ 398 หมู่ 9 ถนนสวรรค์วิถี ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ มีเนื้อที่ประมาณ 108 ไร่ 3 งาน 52 ตารางวา นอกจากนั้นมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ยังมีศูนย์การศึกษาอีก 3 ศูนย์ ได้แก่
1. ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหคีรี จังหวัดนครสวรรค์ มีเนื้อที่ประมาณ 500 ไร่ โดยศูนย์ดังกล่าว ได้มีการก่อสร้างอาคารต่างๆ หลายอาคาร ตามแผนแม่บทของมหาวิทยาลัยระยะเวลา 20 ปี เพื่อเตรียมการเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์แบบ
2. ศูนย์การศึกษาตำบลเขาแรด อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งปัจจุบันได้จัดการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีการเกษตร มีเนื้อที่ประมาณ 63 ไร่ 3 งาน 64 ตารางวา
3. ศูนย์การศึกษาตำบลหนองกรด อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ มีเนื้อที่ประมาณ 16 ไร่ มหาวิทยาลัยได้ใช้พื้นที่นี้เพื่อดำเนินการเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามแนวพระราชดำริ นอกจากการจัดการเรียนการสอนในระดับประกาศนียบัตร ระดับปริญญาตรี ถึงปริญญาเอกแล้ว
และนอกจากนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ยังมีโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยจัดการศึกษาตั้งแต่อนุบาลถึง ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายอีกด้วย
ปรัชญา “เป็นมหาวิทยาลัยของแผ่นดิน ในการพัฒนาท้องถิ่น”
วิสัยทัศน์ “มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เป็นสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำเพื่อพัฒนาท้องถิ่น”
เอกลักษณ์ “เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อให้บริการวิชาการ”
อัตลักษณ์ “บัณฑิตทำงานเป็นทีม ชำนาญเทคโนโลยี ซื่อสัตย์สุจริต จิตสาธารณะต่อชุมชนและท้องถิ่น”
ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ ดอกพยอม
สีประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ สีเขียว – เหลือง
ค่านิยมหลัก
N : Natural Thinking คิดเชิงสร้างสรรค์
S : Spirit มีความมุ่งมั่น
R : Relationship ความสมัครสมานสามัคคีปรองดอง
U : Unity ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
เป็นรูปวงรี ภายในเป็นดวงตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ล้อมรอบด้วยชื่อของมหาวิทยาลัยทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษประกอบด้วย สีต่างๆ จำนวน 5 สีได้แก่
1. สีน้ำเงิน สีเขียว สีส้ม สีทอง สีขาว
2. สีน้ำเงิน : สถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิด และพระราชทานนาม “มหาวิทยาลัยราชภัฏ”
3. สีเขียว : แหล่งที่ตั้งของมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง36 แห่ง ในแหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม
4. สีส้ม : แทนค่าความรุ่งเรืองของศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ก้าวไกลใน 41 มหาวิทยาลัยราชภัฏ
5. สีทอง : ความเจริญรุ่งเรืองทางด้านภูมิปัญญา
6. สีขาว :ความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เครื่องหมายการค้าประจำมหาวิทยาลัย
– สีเขียว หมายถึง แหล่งที่ตั้งของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ที่ตั้งในแหล่งธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมที่สวยงาม
– ดอกพยอม หมายถึง เป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ลักษณะของดอกพยอมมี 5 กลีบ โดยปลายกลีบจะโค้งเป็นเกลียว
จุดตรงกลาง แสดงถึงลักษณะ การเริ่มต้นของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จากจุดเล็กๆ สู่คณะวิชา 5 คณะ โดยมีหน่วยงานสนับสนุน 5 หน่วยงาน เพื่อขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไปสู่จุดหมายสูงสุด ด้วยความสมัครสมาน สามัคคีกลมเกลียว
NSRU หมายถึง แบบตัวอักษรมีลักษณะแข็งและโค้งมน แสดงถึงความเข้มแข็งและอ่อนโยน ตัวอักษรใช้สีเดียวกันทุกตัว แสดงถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ : Nakhon Sawan Rajabhat University
ชื่อย่อ : มร.นว. (NSRU)
คติพจน์ : การดำเนินชีวิตด้วยปัญญา เป็นชีวิตที่ประเสริฐที่สุด
สถาปนา : 15 สิงหาคม พ.ศ. 2465
ประเภท : รัฐ
ที่ตั้ง : 398 ถนนสวรรค์วิถี ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ (ศูนย์การศึกษา)
เว็บไซต์ : www.nsru.ac.th
Facebook : Nakhon Sawan Rajabhat University
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี และ www.nsru.ac.th/About.aspx