นวัตกรรม ผลงานนักศึกษา สิ่งประดิษฐ์ ไอเดียสร้างสรรค์

ไอเดียเจ๋ง! 4 สุดยอดนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์สุดล้ำ จาก นศ. ม.หอการค้าไทย

Home / วาไรตี้ / ไอเดียเจ๋ง! 4 สุดยอดนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์สุดล้ำ จาก นศ. ม.หอการค้าไทย

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สถาบันการศึกษาเอกชนชั้นนำด้านธุรกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ และกำลังมุ่งสู่ระดับเอเชีย ได้รับรางวัล Apple Distinguished School 2016 – 2017 เนื่องจากนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการเรียนผ่านระบบ Digital Hybrid Learning เน้นผลิตนักศึกษาและบัณฑิตที่มีศักยภาพสามารถนำนวัตกรรมต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้กับธุรกิจและบริการ ที่สำคัญมุ่งสร้างและตอบแทนประโยชน์เพื่อสังคม ในบทความนี้รวบรวมตัวอย่างผลงานนักศึกษา จากงาน HK Innovation Challenge @UTCC 2019 เกี่ยวกับการนำไอเดียการสร้างสรรค์มาต่อยอดกับนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์สุดล้ำมาให้ชมกันค่ะ แต่ละอย่างสามารถใช้ประโยชน์ได้จริงด้วย

4 สุดยอดนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์สุดล้ำ ไอเดีย นศ. หอการค้าไทย

1. หน้ากากอนามัย “นาโนมาร์ค” ทำจากมุ้งนาโนไนลอน

นางสาวพิมลรัตน์ สินประเสริฐสุข (น้องฟรองซ์) คณะบัญชี ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ทีม โป้ง ชี้ กลาง นาง ก้อย ทีมชนะเลิศประเภท “Winner Best Innovation”และรางวัล “Popular Vote” จากงาน HK Innovation Challenge @UTCC 2019 เล่าว่า “จุดเริ่มต้นตอนแรกที่ทางอาจารย์ให้คิดปัญหาทีมเราก็เลยคิดเริ่มจากปัญหาที่เกิดจากตัวเราเองก่อน คือเวลาใส่หน้ากากอนามัยแล้วมันชอบหายใจไม่สะดวก เลอะเครื่องสำอาง ทีมเราก็เลยออกไปสอบถามคนข้างนอกว่าเป็นเหมือนกันไหมแต่ผลตอบรับที่เราได้มานั้นมันไม่ใช่แค่เลอะเครื่องสำอางเพียงอย่างเดียวแต่มันยังทำให้รู้สึกหายใจลำบาก ใส่แล้วเลอะง่าย รวมถึงหน้ากาที่สามารถกันฝุ่น PM2.5 ได้นั้นก็มีราคาสูงอันนี้ก็เป็นปัญหาทั้งหมดที่พวกเขาเจอเราก็เลยอยากที่จะแก้ไขปัญหานี้

ต้นแบบ (Prototype) หน้ากากอนามัย “นาโนมาร์ค” ทำจากมุ้งนาโนไนลอน
ทีม โป้ง ชี้ กลาง นาง ก้อย ทีมชนะเลิศประเภท “Winner Best Innovation”และรางวัล “Popular Vote” จากงาน HK Innovation Challenge @UTCC 2019

ก็เลยเลือกที่จะสร้างผลิตภัณฑ์หน้ากากอนามัย “นาโนมาร์ค” ทำจากมุ้งนาโนไนลอนขึ้นมา โดยตัววัสดุมาจากมุ่งลวดของประเทศจีนที่เรียกว่ามุ้งนาโนไนลอนที่ผ่านการวิจัยมาแล้วว่าสามารถกันฝุ่น PM2.5 ได้ 99.65% ซึ่งมีแค่ประเทศจีนเท่านั้นที่ผลิตได้ในตอนนี้ ราคาถ้าคิดเป็นเงินบาทจะอยู่ที่ 480บาท/7.5 ตารางเมตร เราก็เลยเอาคุณสมบัติของมุ้งลวดนี้มาประดิษฐ์เป็นหน้ากากอนามัย ความแตกต่างจากหน้ากากอนามัยตามท้องตลาดทั่วไปของท้องตลาดที่ใช้กันอยู่ จะใช้เป็นเส้นใยที่ผ่านการทอมาอย่างละเอียด แต่ความละเอียดของเส้นใยที่ทอมานั้นถึงแม้มันจะช่วยกันฝุ่นที่มีขนาดเล็กได้ แต่ยังทำให้เราหายใจลำบากมากขึ้น ทีมเราก็เลยคิดว่าถ้าเราทำหน้ากากที่เป็นตัวมุ้งลวดออกมานอกจากจะช่วยในเรื่องของการกันฝุ่นแล้วยังทำให้หายใจได้สะดวกสบายมากขึ้นเราก็น่าจะนำนวัตกรรมตรงนี้มาพัฒนาให้เกิดขึ้น”

2. กรรไกรตัดผลไม้  ช่วยในการเก็บเกี่ยวผลไม้และคุณสมบัติพิเศษไม่ทำให้ตัวผลไม้นั้นช้ำเมื่อรับแรงกระแทก

นางสาวสลารี ระดาบุตร (ไอซ์) ทีม God of Immortal เจ้าของผลิตภัณฑ์ “กรรไกรตัดผลไม้” คณะเศรษฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย รางวัล “Finalist” จากงาน HK Innovation Challenge @UTCC 2019 เล่าว่า “จุดเริ่มต้นเจ้าของผลิตภัณฑ์ “กรรไกรตัดผลไม้” อยากทำให้ทุกบ้านที่ปลูกผลไม้เองและตัวต้นไม้นั้นมีขนาดที่สูงอยากให้สามารถเก็บทานเองได้ภายในบ้าน ไม่ต้องออกไปซื้อมาทาน ทางทีมเลยเลือกที่จะสร้างผลิตภัณฑ์นี้ขึ้นมาช่วยในการเก็บเกี่ยวผลไม้และคุณสมบัติพิเศษคือมันจะไม่ทำให้ตัวผลไม้นั้นช้ำเมื่อรับแรงกระแทกต่างๆ

“กรรไกรตัดผลไม้” คณะเศรษฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย รางวัล “Finalist” จากงาน HK Innovation Challenge @UTCC
ทีม God of Immortal เจ้าของผลิตภัณฑ์ “กรรไกรตัดผลไม้” คณะเศรษฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ทางทีมเริ่มเก็บข้อมูลก่อนผลิตผลิตภัณฑ์ขึ้นมา ลองศึกษาหาข้อมูลเชิงลึกลงพื้นในเขตดินแดงและสวนผลไม้จังหวัดนครนายก สาเหตุที่เลือกสวนที่จังหวัดนครนายกเพราะมีสวนผลไม้ที่เป็นเป้าหมายของการผลิตผลิตภัณฑ์อันนี้ คือ มะม่วง มะยงชิด ฯลฯ โดยการเก็บข้อมูลมีการนำผลิตภัณฑ์จริงไปให้เกษตรได้ทดลองใช้จริงและสัมภาษณ์ภายหลังจากกาใช้ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ถ้าเราผลิตออกมาขายจะสามารถตอบโจทย์ได้หรือไม่ ผลตอบรับที่ได้คือเกษตรกรชาวสวนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก”

3. ถังขยะดับกลิ่นผลไม้ ถังขยะที่สร้างขึ้นมาเพื่อรองรับขยะประเภทผลไม้

นางสาวแทนหทัย ตั้งประเสริฐ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ สาขาการจัดการธุรกิจสายการบิน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ตัวแทนทีมเบบี้แครอทเจ้าของรางวัลผู้ชนะประเภท Winner Best Impact จากงาน HK Innovation Challenge @UTCC 2019 เล่าว่า “จากการลงสำรวจพื้นที่แถวย่านห้วยขวางนั้นมีถังขยะเยอะก็จริงแต่ไม่เพียงพอต่อการทิ้งขยะของคนในละแวกนั้น อีกทั้งถังขยะบางอันก็ชำรุดไม่สมบูรณ์แบบ พื้นที่ตลาดนั้นมีผลไม้เน่าเสียที่นำมาทิ้งจำนวนมาก ทำให้ถนนดูไม่สะอาดและส่งกลิ่นเน่าเหม็น

ถังขยะดับกลิ่นผลไม้ ผู้ชนะประเภท Winner Best Impact จากงาน HK Innovation Challenge @UTCC 2019
ตัวแทนทีมเบบี้แครอทเจ้าของรางวัลผู้ชนะประเภท Winner Best Impact จากงาน HK Innovation Challenge @UTCC 2019

ทางทีมจึงคิดที่อยากจะทำถังขยะสักรูปแบบหนึ่งที่สร้างขึ้นมาเพื่อรองรับขยะประเภทผลไม้เพื่อให้สภาพแวดล้อมในละแวกนั้นดีขึ้ ผลิตภัณฑ์ถังขยะดับกลิ่นผลไม้ของเรามันสามารถอบแห้งผลไม้ที่ทิ้งได้แล้วไม่ทำให้น้ำในผลไม้ที่ทิ้งนั้นเกิดการไหลออกมานอกถังขยะเพราะน้ำในผลไม้เมื่อมันไหลออกมาแล้วมันจะส่งกลิ่นเน่าเหม็นเป็นอย่างมาก พอเราใช้ถังขยะนี้แล้วมันก็จะลดปัญหานี้ออกไปได้ ทำให้สภาพแวดล้อมในพื้นที่นั้นดูดีขึ้นกว่าเดิม เพราะในละแวกนั้นเป็นตลาดนัดความสะอาดถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก แต่ผลิตภัณฑ์ตัวนี้สามารถใช้กับขยะเปียกได้ทุกชนิดไม่จำเป็นว่าต้องเป็นผลไม้เพียงอย่างเดียว เพราะสามารถทำให้ขยะที่ทิ้งนั้นแห้งไม่มีน้ำไหลออกมาจากถังขยะ ไม่ส่งกลิ่นเน่าเสีย อีกทั้งยังทำให้ทัศนียภาพในละแวกนั้นดูดีและสะอาดปราศจากกลิ่นเน่าเหม็น”

4. แบรนด์ CHANAS เศษผ้าที่ได้มาฟรี ประยุกต์ใช้รีไซเคิลเป็นกระเป๋าสวยเก๋ เพิ่มมูลค่า

นายวรภัทร เลิศชวพร (น้องกาย) นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะบริหารธุรกิจ สาขาการตลาด มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เจ้าของผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์แบรนด์ CHANAS เล่าว่า

“ภายหลังได้เข้าร่วมกิจกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่จัดขึ้นโดยมหาวิทยาลัยฯ ร่วมกับ SCG และเรียนวิชาการจัดการผลิตภัณฑ์ตราสินค้า เป็นวิชาของสาขาการตลาด โดยอาจารย์ประจำวิชาได้ให้โจทย์มาว่าให้เรานำสินค้าผลิตภัณฑ์โอทอปไปต่อยอดเพิ่มมูลค่าให้มากขึ้น ทำให้ผมได้ตระหนักคุณค่าของทรัพยากรอย่างมาก ผลิตภัณฑ์แบรนด์ CHANAS มาจากเศษผ้าที่ได้มาฟรี ที่เหลือจากการตัดเป็นผืนเพื่อนำไปขาย เศษผ้าพวกนี้จะเป็นเศษผ้าที่ไม่สามารถนำไปทำประโยชน์อื่นๆ ได้ไม่สามารถนำไปขายได้

ซึ่งถ้าโดยปกติทางครอบครัวของสมาชิกกลุ่มบ้านเก่าโก หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ก็จะนำเศษผ้าเหล่านี้ทิ้งทั้งหมด แต่เราได้นำเศษผ้าในส่วนนั้นมาประยุกต์ใช้รีไซเคิลขึ้นมาใหม่เป็นกระเป๋า เราก็สามารถใช้ประโยชน์จากเศษผ้าตรงนี้ได้ ที่สำคัญยังช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ของเราอีกด้วย โดยความแตกต่างคือกระเป๋าที่ทำจากผ้าไหมของแบรนด์อื่นจะเป็นเศษผ้าไหมแท้ทั้งใบโดยนำผ้าไหมมาทำเป็นกระเป๋า แต่ของเราจะเป็นเศษผ้าไหมที่นำมาจัดสี จัดลูกเล่นต่างๆ และนำมาผสมผสานกับหนังแท้เพื่อให้มันดูร่วมสมัยมากขึ้นอีกทั้งยังมีรูปทรงที่เป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์มากขึ้น ซึ่งราคาขายจริงๆ ของกระเป๋าใบนี้จะอยู่ที่ประมาณ 9,900 บาท”

#####

บทความแนะนำ