hcu มหาวิทยาลัย เรื่องน่ารู้

11 เรื่องน่ารู้ รอบรั้ว ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ – HCU

Home / เรื่องเล่ามหาวิทยาลัย / 11 เรื่องน่ารู้ รอบรั้ว ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ – HCU

เตรียมตัวกันให้พร้อม!! สำหรับใครกำลังจะเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา อีกหนึ่งมหาวิทยาลัยเอกชนที่เราอยากจะแนะนำให้เพื่อนๆ ได้รู้จักกันก็คือ “มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ” มหาวิทยาลัยที่เปิดการเรียนการสอนทั้งภาษาไทย จีน และอังกฤษ  วันนี้เราได้รวบรวมข้อมูล รอบรั้ว ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ที่น่าสนใจมาให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันค่ะ

รอบรั้ว ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

1. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (Huachiew Chalermprakiet University) ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2524 โดย มูลนิธิฮั้วเคี้ยวป่อเต็กเซี่ยงตึ๊ง ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลจีน ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยชื่อของมหาวิทยาลัย “หัวเฉียว” (華僑) หมายถึง ชาวจีนโพ้นทะเล และเป็นชื่อที่มูลนิธิใช้เป็นชื่อของโรงพยาบาล และวิทยาลัยของมูลนิธิอยู่แล้ว

พิธีมอบขีดหมวก นักศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ รุ่นที่ 30

พิธีมอบขีดหมวก นักศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ รุ่นที่ 30

2. ม.หัวเฉียวเฉลิมฯ มีวิทยาเขต 1 แห่ง คือ วิทยาเขตยศเส ตั้งอยู่บริเวณ ถ.อนันตนาค แขวงป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2535

3. เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2537 ม.หัวเฉียวฯ เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งเดียวในประเทศไทย ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ มาเป็นประธานเปิดมหาวิทยาลัยให้

4. ต้นโพธิ์ สัญลักษณ์แห่งรุ่งอรุณของการรู้แจ้งเห็นจริง มีที่มาจากการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าใต้ต้นโพธิ์ นำความสว่าง สะอาด และความสงบมาสู่โลกในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงปลูกโพธิ์ต้นนี้ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2537 และเป็นต้นไม้ประจำ ม.หัวเฉียวฯ

รอบรั้ว ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ - HCU

ประมวลภาพงานเทศกาล “วันไหลสงกรานต์” ม.หัวเฉียวฯ เมื่อวันศุกร์ที่ 22 เมษายน 2559 Cr.pumpkin

5. เอกลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย มี 5 ด้านด้วยกัน คือ

  • ด้านหลักสูตรการเรียนการสอน
  • ด้านการวิจัย
  • ด้านการบริการวิชาการ
  • ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทย-จีน
  • ด้านการประชาสัมพันธ์เผยแพร่และเป็นแหล่งข้อมูลในเรื่องความเป็นจีน

6. การแสดงหุ่นคน เป็นการถ่ายทอดความงาม ของท่วงท่าคนเป็นหุ่น นับเป็นศิลปะร่วมสมัยที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น เป็นที่เชิดหน้าชูตาของประเทศไทย มีเพียงแห่งเดียวที่ ม.หัวเฉียวฯ ซึ่งมุ่งสืบสานเอกลักษณ์ไทยให้ยืนนาน และสร้างชื่อเสียงของศิลปวัฒนธรรมไทย ให้ขจรไกลสู่นานาประเทศทั่วโลก

อนุสาวรีย์ ดร.อุเทน เตชะไพบูลย์

7. ตรงลานกว้างหน้าพิพิธภัณฑ์ จะมีอนุสาวรีย์ ดร.อุเทน เตชะไพบูลย์ ตั้งอยู่ สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึง ดร.อุเทน อดีตประธานมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ซึ่งเป็นผู้นำในการเชิญชวนคนไทยเชื้อสายจีน ร่วมก่อตั้งมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ภาพบรรยากาศวันรับปริญญาบัตร ม.หัวเฉียวฯ

ภาพบรรยากาศวันรับปริญญาบัตร ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (16 ก.พ.63)

8. ม.หัวเฉียวฯ มีพิพิธภัณฑ์ด้วยนะ อยู่ระหว่างห้องสมุดและหอประชุม แต่กลับไม่ค่อยเป็นที่สะดุดตาของบรรดานักศึกษาเท่าไหร่นัก คนมาใช้บริการที่นี่เฉลี่ยวันละ 1 – 2 คน เนื่องจากไม่ค่อยมีคนเข้า ที่นี่จึงกลายเป็นแหล่งฝึกซ้อมหุ่นคน + รำ ของฝ่ายศิลปวัฒนธรรมไป…

สนามกีฬากลาง ม.หัวเฉียวฯ

สนามกีฬากลางมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

9. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เปิดสอนระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ปริญญาต่อเนื่อง 2 ปี ทั้งภาคปกติและภาคสมทบ (เรียนเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์) หลักสูตรนานาชาติ (International Program) รวม 14 คณะ ได้แก่

  • บัณฑิตวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • คณะบริหารธุรกิจ
  • คณะศิลปศาสตร์
  • คณะเทคนิคการแพทย์
  • คณะเภสัชศาสตร์
  • คณะการแพทย์แผนจีน
  • คณะกายภาพบำบัด
  • คณะพยาบาลศาสตร์
  • คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม
  • คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • คณะนิเทศศาสตร์
  • คณะภาษาและวัฒนธรรมจีน

พิธีมอบขีดหมวกและเข็มนักศึกษาพยาบาล ปีที่ 4 รุ่น 32

พิธีมอบขีดหมวกและเข็มนักศึกษาพยาบาล ปีที่ 4 รุ่น 32 ประจำปีการศึกษา 2559 ณ หอประชุม มฉก. (29 พ.ค.60)

10. รอบมหาวิทยาลัยจะมีรถไฟฟ้าคอยรับส่งนักศึกษาไปตามคณะต่างๆ สามารถขึ้นที่ป้ายรถเมล์ไฟฟ้าเลย

11. สวนอภิรมย์ หรือสวนจีน เรียกอีกชื่อว่า “สวนหยิน หยาง” เป็นสวนพฤกษชาติประดับอาคารด้านข้างพิพิธภัณฑ์ ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ งดงามด้วยเอกลักษณ์สถาปัตยกรรมจีน แวดล้อมด้วยธรรมชาติ เน้นศาสตร์ฮวงจุ้ย ด้วยหลักดุลยภาพหยิน หยาง มีศาลาทรงจีน ธารน้ำ สะพาน ศิลาน้อยใหญ่ ต้นไผ่เขียว และสิงโต เป็นต้น

ที่มา : www.hcu.ac.th , Facebook : HuachiewOfficial

ภาพบรรยากาศการ แสดงกตเวฑิตาคุณและน้อมรำลึกถึงคุณ ความดีของ ดร.อุเทน เตชะไพบูลย์ 24 พ.ย.64

ภาพบรรยากาศวันรับปริญญาบัตร ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (16 ก.พ.63)

ภาพบรรยากาศวันรับปริญญาบัตร ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (16 ก.พ.63)

บทความแนะนำ