มาถึงโค้งสุดท้ายกันแล้ว สำหรับการรับตรงผ่าน กสพท เพื่อนำคะแนนไปยื่นเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยในระบบ TCAS โดยสนามสอบ กสพท เป็นสนามสอบสำหรับน้องๆ ที่ต้องการเข้าศึกษาต่อในคณะแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ และเภสัชศาสตร์ ทั้งนี้การรับตรงผ่าน กสพท นั้น น้องๆ ที่สมัครสอบในรอบนี้นอกจากจะต้องทำการสอบความถนัดในวิชาต่างๆ ของแต่ละคณะแล้ว น้องๆ ยังจะต้องเจอข้อสอบ 9 วิชาสามัญ อีกด้วย
เน้นอ่านให้ถูกบท? 9 วิชาสามัญ
สำหรับการสอบ 9 วิชาสามัญ ในรอบรับตรงผ่าน กสพท นั้น น้องๆ ไม่จำเป็นที่จะต้องสอบครบทั้ง 9 วิชาก็ได้ โดยที่น้องๆ สามารถเลือกสอบเฉพาะวิชาที่ต้องการใช้เท่านั้นก็ได้เช่นกัน ดังนั้นในบทความนี้ แคมปัส-สตาร์ จะพาน้องๆ ทุกคนมาดูเนื้อหาที่จะออกสอบในแต่ละวิชากันว่าเราควรที่จะเน้นอ่านตรงไหนมากที่สุด
วิชาฟิสิกส์
1. เสียงและการได้ยิน
จะเน้นในเรื่องการคำนวณความเร็วเสียงในอากาศ การคำนวณความเข้มของเสียงและระดับความเข้มเสียง นอกจากนี้ ยังรวมถึงการเปรียบเทียบความเข้มของเสียง ในสองตำแหน่งการสั่นพ้องในหลอดปลายปิดและปลายเปิดด้วย
2. ฟิสิกส์นิวเคลียร์
จะเน้นในเรื่องของสมการนิวเคลียร์ หลักการคิดเลขมวลและเลขอะตอม นอกจากนี้ยังรวมถึงการคำนวณ half-life อีกด้วย
3. แสงและการมองเห็น
เรื่องการคำนวณกระจกและเลนส์ น้องๆ ต้องทบทวนการแทนเครื่องหมายให้ดีๆ เลย ต้องจำให้ได้ว่าเครื่องหมายแบบไหนควรใช้อย่างไร รวมถึงเรื่องความสว่างของแสง การสอดแทรกผ่านเกรตติ้ง และการสอดแทรกผ่านสลิตคู่
4. กฏการเคลื่อนที่ของนิวตัน
ต้องจำให้ได้ว่ากฏ 3 ข้อของนิวตันมีอะไรบ้าง และแทนค่าอย่างไร เช่น กฏข้อที่สอง ค่า F ต้องรวมแรงแบบเวกเตอร์ให้เสร็จก่อนจึงจะสามารถแทนสูตรได้ และค่า a อาจจะต้องหาจากสมการการเคลื่อนที่แนวตรง ฯลฯ
5. งานและพลังงาน
จะเน้นในเรื่องการคำนวณพลังงานศักย์ พลังงานจลน์ และศักย์สปริง นอกจากนี้ยังต้องจำวิธีการคำนวณกำลังและพลังงานให้ได้อีกด้วย
- TCAS แต่ละรอบคืออะไร ? สรุปการสมัครสอบ TCAS62 รายละเอียดทั้ง 5 รอบ
- ข้อสอบ O-NET 2561 พร้อมเฉลย (PDF) จาก สทศ. – ฝึกทำข้อสอบโอเน็ต
การหาคู่เบส!! ก็เป็นแค่เรื่องหมูๆ
น้องๆ สามารถเข้าไปเนื้อหาทั้งหมด : คลิกที่นี่
วิชาเคมี
1. กรด-เบส
น้องๆ จะต้องรู้ทฤษฎีคู่กรด-เบส ต้องดูเป็น และยังจะต้องรู้เรื่องการไทเทรต ซึ่งข้อสอบอาจจะออกเป็นกราฟมาแล้วให้เราดูว่าเป็นการไทเทรตของสารอะไร และใช้อินดิเคเตอร์อะไร โดยที่เรื่องอินดิเคเตอร์จะออกเรื่องการดูสี แล้วถามค่า pH ว่าเป็นอย่างไร เช่น สารชนิดนี้จุ่มอินดิเคเตอร์ชนิดต่า ๆ ได้สี A B C D แล้วถามค่า pH ของสารนี้ เป็นต้น
2. ปริมาณสารสัมพันธ์
เรื่องการแปลงหน่วย โมล กรัม ลิตร จำนวนโมเลกุล น้องๆ จะต้องสามารถแปลงค่าได้ พร้อมทั้งยังต้องหาความเข้มข้นของสารละลายเป็นด้วย เช่น การคำนวณหาโมลาริตี (molarity) คือ อัตราส่วนของจำนวนโมลของตัวถูกละลายต่อปริมาตรของสารละลาย ฯลฯ
3. ไฟฟ้าเคมี
น้องๆ จะต้องดูให้เป็นว่าตัวไหนเป็นตัวออกซิไดซ์/ถูกออกซิไดซ์ ตัวรีดิวซ์/ถูกรีดิวซ์, การดุลสมการรีดอกซ์ (ออกบ่อยมาก), ค่า E0 ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการนำเอาสมการมาบวกกัน เอาค่าคงที่คูณสมการแล้วค่า Eo เป็นยังไง หรือจะเป็นการให้ค่า Eo ของครึ่งปฏิกิริยาหลายๆ อันมาแล้วถามว่า ถ้าจับคู่ต่อวงจรไหนจะออกออกซิไดซ์ ตัวไหนจะรีดิวซ์
4. อัตราการเกิดปฏิกิริยา
การคำนวณหาอัตรการเกิดปฏิกิริยา โดยที่น้องๆ จะต้องจำสูตรและแทนสูตรได้ เพื่อทำการหาคำตอบ รวมถึงน้องๆ ยังจะต้องรู้เกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยา เช่น พื้นที่ผิว ความดัน อุณหภูมิ ตัวเร่ง โดยที่เราจะต้องรู้ว่าผลที่เกิดจะเป็นอย่างไร และอาจจะมีกราฟพลังงานกับการดำเนินไปของปฎิกิริยาด้วย
5. พันธะเคมี
ต้องรู้เกี่ยวกับรูปร่างของโมเลกุล เช่น XeF4 รูปร่างเป็นยังไง สามารถเปรียบเทียบจุดเดือดของโมเลกุลต่างๆ Born Harber cycle ของสารประกอบไอออนิก ฯลฯ
. . . . .
สูตรลัดจำง่าย! ภายใน 1 นาที! ความแตกต่างระหว่างโมลอะตอม VS โมลโมเลกุล
น้องๆ สามารถเข้าไปเนื้อหาทั้งหมด : คลิกที่นี่
วิชาชีววิทยา
1. กลุ่ม basic biology
การคำนวณและเรื่องกล้องจุลทรรศน์ลักษณะภาพที่เกิดคือเซลล์อะไร มีลักษณะเป็นอย่างไร อันนี้จะออกเป็นหลักในกลุ่มของ basic biology (อ่านมาให้ละเอียดนะ) ส่วนเรื่องการแบ่งเซลล์ให้น้องๆ ไปทบทวในเรื่อง mitosis meiosis ว่าการแบ่งเซลล์เกิดขึ้นได้อย่างไร มีลักษณธะเป็นแบบไหน และเรื่องการเรียกชุดโครโมโซมแต่ละชนิด มีความหมายอย่างไร
2. กลุ่มเรื่องสัตว์
การหายใจระดับเซลล์ แต่ละขั้นตอนเกิดที่ตำแหน่งไหน ได้พลังงานเท่าใด ส่วนพวกชื่อสารแต่ละขั้นตอนไม่ต้องจำ จำแค่สารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์แต่ละขั้นตอนก็พอ เช่น glucose เข้า glycolysis แล้วได้ pyruvate (ประมาณนี้ก็พอจ๊ะ) และรวมถึงเรื่องระบบต่างๆ ในร่างกาย (อันนี้ออกค่อนข้างละเอียด คนที่ต้องการเรียนหมอต้องทำความเข้าใจให้ดีเลย)
3. กลุ่มเรื่องพืช
เรื่องการสังเคราะห์แสงของพืช (ออกค่อนข้างเยอะและละเอียดมาก) น้องๆ จะต้องจำให้แม่นเลยว่าแต่ละขั้นตอนของการสังเคราะห์แสงเป็นอย่างไร รวมถึงเรื่องพืช C3, C4, CAM ความแตกต่างของพืชทั้งสามเป็นอย่างไร และจะต้องรู้ด้วยว่าพืชชนิดไหนเป็น C3, C4 หรือ CAM พร้อมทั้งเรื่องโครงสร้างของพืช ก็ออกเยอะเหมือนกันนะ
4. กลุ่มพันธุศาสตร์
สำหรับเรื่องพันธุศาสตร์มาทั้งความจำและการคำนวณเลย เรื่องการถ่ายทอดยีนส์ ถ้าให้รุ่นพ่อ-แม่มาต้องหา genotype ของลูกได้ ดังนั้นเราจะต้องดู pedigree ให้เป็น และขั้นตอน DNA replication/ transcription/ translation ต้องรู้จักเอนไซม์ต่างๆ ในแต่ละขั้นตอนว่ามีอะไรบ้าง
5. กลุ่มความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
สำหรับเนื้อหาที่ออกสอบในกลุ่มนี้ บอกได้คำเดียวเลยว่าน้องๆ จะต้องท่องจำหรือทำความเข้าใจไปให้ดีเลย โดยที่น้องๆ จะต้องรู้ว่าระบบนิเวศแต่ละอันมีความสัมพันธ์เป็นอย่างไรระหว่างสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในแต่ละระบบนิเวศ
. . . . .
วิชาคณิตศาสตร์
1. แคลคูลัส
เรื่องลิมิต การประยุกต์นำลิมิตมาใช้หาความต่อเนื่องของฟังก์ชัน, การ diff ต้องทำได้และเข้าใจว่าการหาความชันหาได้จากการ diff (หาจุดวิกฤตเป็น) และการ integrate นั้น ใช้ในการหาพื้นที่ใต้กราฟ
2. สถิติ
รู้จักค่ากลางของข้อมูลและวิธีการหาค่ากลางข้อมูลแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน ฐานนิยม สามารถคำนวณเกี่ยวกับการกระจายของข้อมูลในรูปส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานได้ และเรื่องความแปรปรวน ก็ออกสอบนะ
3. ความน่าจะเป็น
หลักการเรียงสับเปลี่ยน หลักการจัดหมู่/จัดกลุ่ม, หลักการคูณ หลักการบวก โดยที่เราจะต้องรู้ว่าตอนไหนที่เราควรจะคูณหรือควรจะบวก…
4. Expo & Log
การแก้สมการและอสมการของ expo & log ต้องทำเป็น และต้องรู้ว่าเมื่อไหร่ต้อง take log เพื่อให้แก้โจทย์ง่ายขึ้นด้วย
5. จำนวนจริง
สำหรับการแก้อสมการ น้องๆ จะต้องแบ่งช่วงคำตอบให้เป็น, การแก้สมการและอสมการของค่าสัมบูรณ์ น้องจะต้องรู้ว่าพอถอดค่าสัมบูรณ์แล้วจะเป็นยังไง และเรื่องทฤษฎีเศษเหลือ ก็เคยออกข้อสอบด้วยนะ
. . . . .
วิชาภาษาไทย
สำหรับข้อสอบในวิชาภาษาไทยมีเนื้อหาที่เป็นทั้งความจำและการวิเคราะห์เลย สิ่งที่ควรจำ เช่น คำราชาศัพท์ และการสะกดคำต่างๆ ว่าเขียนอย่างไร ฯลฯ ส่วนการวิเคราะห์ จะเป็นการวิเคราะห์ข้อความหรือบทความสั้นๆ
EP.1 ออกชัวร์100% กับ 8 เนื้อหาที่ต้องรู้! พิชิต 9 วิชาและ PAT2
น้องๆ สามารถเข้าไปเนื้อหาทั้งหมด : คลิกที่นี่
วิชาภาษาอังกฤษ
1. Reading
สำหรับ Reading บอกได้เลยว่าออกเยอะสุด โดยประมาณ 50% มีทั้งที่เป็นบทความยาวๆ ประมาณ 4-5 บทความ หรือเป็นพวกบทความที่อ่านแล้วเอาคำตอบมาจากบทความเลยก็มีเหมือนกัน หลักในการทำข้อสอบในพาร์ Reading น้องๆ จะต้องอ่านให้ดีๆ จับใจความให้ได้ (ส่วนสำคัญมักจะอยู่ในย่อหน้าแรกและย่อหน้าสุดท้ายของบทความ)
2. Listening+Speaking
จะออกเป็นพวก Conversation ให้เรามาเติมคำ/ประโยค หรือหาคำตอบที่ถูกต้องที่สุดมาตอบ ดังนั้นเราควรที่จะต้องดูสำนวนเยอะๆ เพราะข้อสอบจะออกแนวนี้ค่อยข้างบ่อย นอกจากนี้น้องๆ ยังจะต้องจำคำศัพท์ให้ได้เยอะๆ อีกด้วย เพราะมันจะช่วยทำให้เราสามารถตอบได้ง่ายขึ้น เดาคำตอบได้ หรือช่วยทำให้เราสามารถตัดตัวเลือกที่ไม่ใช่ออกไปได้ ที่นี่ก็จะเหลือแต่คำตอบที่ถูกต้องให้เราได้เลือกตอบกันแล้ว
3. writing
ย้ำ!! ว่าน้องๆ ต้องอ่านแกรมม่าเยอะๆ และจำให้ได้แม่นเลย… แนะนำให้น้องๆ ลองเอาข้อสอบในปีเก่าๆ มาลองทำ มันจะช่วยทำให้เราเข้าใจได้ขึ้นเยอะเลย ดีกว่าอ่านเพียงอย่างเดียว
. . . . .
วิชาสังคมศึกษา
1. ประวัติศาสตร์
ออกทั้งประวัติสาสตร์ไทยและประวัติศาสตร์โลก สำหรับประวัติศาสตร์ไทยจะเน้นในเรื่องราชวงศ์จักรี และราชวงศ์วงอื่นๆ ก็เน้นแค่กษัตริย์บางพระองค์ที่สำคัญๆ และประวัติศาสตร์โลกเราจะต้องรู้พวกการปฏิวัติอุตสาหกรรม และการปฏิวัติด้านวิทยาศาสตร์
2. ภูมิศาสตร์
น้องๆ จะต้องรู้จักเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ เช่น แผนที่ เข็มทิศ เป็นต้น ต้องอ่านเกี่ยวกับด้านสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงสนธิสัญญาที่สำคัญเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมด้วย
3. หน้าที่พลเมือง
เนื้อหาที่ออกสอบจะออกตั้งแต่กฏหมายทั่วไปในชีวิตประจำวัน แล้วก็พวกรายละเอียดต่างๆ ในรัฐธรรมนูญ หรือการเลือกตั้งต่างๆ ด้วย
4. ศาสนา
น้องๆ จะต้องอ่านเกี่ยวกับศาสนาพุทธให้มากที่สุด ตั้งแต่ประวัติศาสตร์ของศาสนาพุธ วันสำคัญต่างๆ พระสงฆ์รูปสำคัญๆ ในศาสนา ฯลฯ
5. เศรษฐศาสตร์
สำหรับเรื่องเศรษฐศาสตร์จะเป็นเรื่องที่เราจำน้อยที่สุด แต่ก็ต้องทำความเข้าใจให้ได้มากที่สุดด้วย โดยเฉพาะเรื่องอุปสงค์ อุปทาน ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์ เป็นต้น
ที่มา : http://p-dome.com, www.niets.or.th
บทความที่น่าสนใจ
- เจาะลึก!! ทำไมต้องสอบ 9 วิชาสามัญ และมีความสำคัญอย่างไร?
- ปฏิทินการสอบ GAT/PAT และ 9 วิชาสามัญ ปีการศึกษา 2561
- 8 เรื่องน่ารู้ การเตรียมตัวสอบ O-NET, GAT/PAT และวิชาสามัญ
- ม้วนเดียวจบ! สรุปการสอบ O-NET, GAT/PAT, 9 วิชาสามัญ, กสพท คืออะไร? ต้องสอบอะไรบ้าง?
- 9 วิชาสามัญ รูปแบบข้อสอบ จำนวนข้อสอบ และเนื้อหาที่ออกสอบ #dek62