12 คำถามยอดฮิต ปัญหาและวิธีการแก้ไข ในการสมัครสอบ GAT/PAT

ในการสมัครสอบทุกครั้งย่อมมีปัญหาที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็น ขั้นตอนการสมัคร จะทำอย่างไรเมื่อลืมรหัสผ่าน คุณสมบัติของผู้สมัครต้องเป็นอย่างไร และวิธีการแก้ไขข้อมูลต่างๆ ที่ต้องการปรับเปลี่ยนในการสมัครสอบ เป็นต้น ดังนั้น ในบทความนี้ แคมปัส-สตาร์ ก็ได้รวบรวม 12 คำถามสุดฮิต ในการสมัครสอบ GAT-PAT มาฝาก จะมีเรื่องที่เรากำลังสงสัยกันอยู่หรือเปล่า ลองหาคำตอบ

12 คำถามยอดฮิต ในการสมัครสอบ GAT/PAT

1. นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้น ม.5 สามารถสมัครสอบ GAT/PAT ได้หรือไม่

คำตอบ : ไม่ได้ เพราะการสอบ GAT/PAT ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะสมัครสอบ ณ วันสอบว่าต้องเป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า หรือเป็นผู้ที่จบการศึกษาระดับชั้น ม.6 ขึ้นไปเท่านั้น และถ้าน้องๆ คนไหนกรอกข้อมูลในระบบรับสมัครว่าเป็น นักเรียน ชั้น ม.6 หรือสูงกว่า ถือว่าเป็นการให้ข้อมูลที่ไม่ตรงตามความเป็นจริง เป็นความผิดด้วยนะ

2. ลืมรหัสผู้ใช้งาน หรือรหัสผ่านเข้าระบบต้องทำอย่างไร

คำตอบ : ถ้าผู้สมัครสอบลืมรหัสผู้ใช้งาน หรือรหัสผ่าน ดำเนินการได้ดังนี้

วิธีที่ 1 เข้าระบบและเลือกเมนู ผู้สมัครรายเก่า

เข้าระบบและเลือกเมนู ผู้สมัครรายเก่า ต้องการสอบถามรหัสผู้ใช้งานหรือรหัสผ่าน (วิธีนี้ผู้สมัครสอบต้องจำคำถามและคำตอบเมื่อลืมรหัสผ่านได้)

วิธีที่ 2 โทรศัพท์สอบถามในระบบโทรศัพท์อัตโนมัติของ สทศ.

โทรศัพท์ที่เบอร์ 02-217-3800 เมื่อมีเสียงตอบรับแล้วให้ดำเนินการ ดังนี้

  1. กด 1 เพื่อสอบถามเกี่ยวกับระบบ GAT/PAT
  2. กด 1 อีกครั้ง เพื่อตรวจสอบชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่าน
  3. ทำตามขั้นตอน โดยกดเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ตามด้วย #
  4. ระบบจะประมวลผล ถ้าเจอ ระบบจะถามว่า ถ้าทราบรหัสผู้ใช้ กด 1 ไม่ทราบ กด 2

วิธีที่ 3 สอบถามที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส (วิธีนี้ต้องเสียค่าบริการด้วย)

1. ผู้สมัครสอบต้องยื่นบัตรประจำตัวประชาชนให้พนักงาน และแจ้งความจำนงค์ว่าต้องการขอรหัสผ่าน GAT/PAT ของ สทศ.

2. กรณีพนักงานไม่ทราบว่าต้องดำเนินการอย่างไร ให้แจ้งว่า ให้เปิดแผ่นผู้ว่าจ้าง และหา Barcode สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) GAT/PAT และให้พนักงานยิง Barcode

3. พนักงานจะแจ้งรหัสผู้ใช้งาน และรหัสผ่านให้เป็นแผ่นสลิป พร้อมให้ผู้สมัครสอบเสียค่าบริการ 20 บาท (ยังไม่รวมค่าธรรมเนียม)

3. ชาวต่างชาติที่ไม่มีเลขประจำตัวประชาชนต้องสมัครสอบอย่างไร

คำตอบ : กรณีชาวต่างประเทศที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ระบุ แต่ไม่มีเลขประจำตัวประชาชนประสงค์จะสมัครสอบให้ดำเนินการ ดังนี้

1. กรอกรายละเอียดตามแบบคำขอลงทะเบียนสมัครสอบ GAT/PAT ประจาปีการศึกษา 2561 สำหรับผู้สมัครสอบ (รายใหม่) ที่เป็นชาวต่างประเทศ ที่ไม่มีเลขประจำตัวประชาชน (แบบคำขอลงทะเบียนจะแนบท้ายประกาศ รับสมัครสอบ)

2. แนบสำเนาหลักฐานหน้าแรกของหนังสือเดินทาง (Passport) ที่มีรูปถ่าย และข้อมูลของผู้ถือหนังสือและลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง

3. จัดส่งเอกสารมายัง สทศ. ตามช่องทาง ดังนี้

สทศ. จะดำเนินการลงทะเบียนในระบบให้ และจะแจ้งรหัสชื่อผู้ใช้งานสำหรับเข้าระบบกลับไปทางโทรศัพท์ หรือทางไปรษณีย์อิเลคทรอนิกส์ของผู้สมัครสอบ ภายใน 1 วันทำการนับแต่ได้รับแบบคำขอลงทะเบียนของผู้สมัครสอบ เพื่อให้ผู้สมัครสอบดำเนินการตามขั้นตอนการสมัครสอบที่กำหนด ทั้งนี้ ผู้สมัครสอบต้องดำเนินการกรอกแบบคำขอลงทะเบียน สมัครสอบ และชำระเงิน ภายในระยะเวลาการเปิดและปิดระบบรับสมัครสอบและชำระเงินที่ประกาศกำหนดไว้

4. ความต้องการพิเศษคืออะไร

คำตอบ : เนื่องจาก สทศ. ได้จัดการทดสอบให้น้องๆ ที่มีความบกพร่องทางสายตา การได้ยิน และทางร่างกาย โดยแบ่งเป็น 6 ประเภท และมีการเตรียมการจัดการทดสอบให้ตามความเหมาะสม ดังนี้

001 ตาบอดต้องการข้อสอบอักษรเบรลล์ (ภาษาอังกฤษตัวเต็ม)

002 ตาบอดต้องการข้อสอบอักษรเบรลล์ (ภาษาอังกฤษตัวย่อ)

** 001 และ 002 สทศ. จะเตรียมข้อสอบอักษรเบรลล์ (ยกเว้นวิชาภาษาต่างประเทศ PAT 7) ผู้ช่วยฝนกระดาษคำตอบ และจัดให้อยู่ในห้องพิเศษที่แยกจากห้องสอบปกติ

003 ตาเลือนราง ต้องการข้อสอบอักษรขยาย

004 ตาบอด/ตาเลือนรางต้องการผู้ช่วยอ่าน

005 พิการทางร่างกายต้องการผู้ช่วยพาเดินเข้าห้องสอบ

006 บกพร่องทางการได้ยิน

การกรอกข้อมูลกรณีนี้จะอยู่ตรงหัวข้อ “ความต้องการพิเศษ” ดังนั้น ขอให้เลือกประเภทให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง และความต้องการของผู้สมัครสอบเอง และตรวจสอบความถูกต้องก่อนการสมัครสอบ สทศ. จะยึดตามข้อมูลที่ผู้สมัครสอบกรอกไว้ในระบบ… ระวัง!!! ผู้ที่ไม่ได้มีความบกพร่อง แล้วให้ข้อมูลว่าบกพร่องไว้ อาจจะต้องสอบด้วยข้อสอบพิเศษที่ สทศ. จัดไว้ให้ตามที่แจ้งไว้

5. ถ้าตอนสมัครสอบ สนามสอบในกรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี เต็ม ! ต้องทำอย่างไร

คำตอบ : ถ้าเกิดกรณีที่ในช่วงสมัครสอบ สนามสอบในกรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี เต็มทุกสนามสอบแล้วยังไม่ได้เลือกสนามสอบไว้เลย ให้ผู้สมัครคงเขต/อำเภอที่เลือกไว้ ตอนสมัครสอบ สทศ. จะจัดสนามสอบให้ผู้สมัครสอบตามเขต/อำเภอที่ระบุไว้ หรือที่ใกล้เคียง หรือที่ยังมีที่ว่างอยู่ ผู้สมัครสอบไม่จำเป็นต้องเลือกสนามสอบ ในจังหวัดอื่น หากไม่ได้ประสงค์จะไปสอบในจังหวัดนั้นๆ

6. หลังจากสมัครสอบไปแล้วถ้าจะเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมรายวิชา ต้องทำอย่างไร

คำตอบ :

1. สมัครสอบแล้ว แต่ยังไม่ชำระเงิน ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบใหม่ได้ โดยเลือกวิชาที่จะสอบใหม่ และพิมพ์ใบจ่ายเงินใบล่าสุดไปชำระเงินเท่านั้น หากผู้สมัครสอบสมัครสอบใหม่แต่ใช้ใบชำระเงินใบเดิม สถานะการชำระเงินของผู้สมัครสอบจะไม่เปลี่ยนแปลงต้องติดต่อ สทศ. ทันที

2. สมัครสอบและชำระเงินแล้ว ให้ผู้สมัครสอบสมัครสอบเฉพาะวิชาที่ต้องการเพิ่มเติมเท่านั้น และพิมพ์ใบชำระเงินไปชำระเงิน ระบบจะรวมวิชาทุกใบสมัครที่ชำระเงินแล้วให้เองอัตโนมัติ สำหรับการเปลี่ยนแปลงรายวิชาไม่สามารถดำเนินการได้ ต้องสมัครสอบเพิ่มเติมเท่านั้น

3. ต้องการเปลี่ยนแปลงรายวิชาภาษาต่างประเทศ (PAT 7) หลังจากชำระเงินแล้ว ให้ผู้สมัครสอบยื่นคำร้องพร้อมเหตุผลที่ขอเปลี่ยนรายวิชามายัง สทศ. สทศ. จะพิจารณาตามความจำเป็น และจะดำเนินการเปลี่ยนแปลงให้หากเห็นเหตุสมควร

7. ถ้าต้องการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลในระบบ หลังการชำระเงินแล้ว ต้องทำอย่างไร

คำตอบ : การแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สมัครสอบในระบบ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. ข้อมูลที่ผู้สมัครสอบไม่สามารถแก้ไขได้เอง ได้แก่ คำนำหน้าชื่อ, ชื่อ, นามสกุล และเลขประจำตัวประชาชน ผู้สมัครสอบต้องส่งเอกสารมายัง สทศ. ทางไปรษณีย์ หรือไปรษณีย์อิเลคทรอนิกส์ e-mail : testingservice@niets.or.th สทศ. จะดำเนินการแก้ไขข้อมูลหลังจากได้รับเอกสารที่ครบถ้วนและสมบูรณ์ ไม่เกิน 2 วัน

2. ข้อมูลอื่นๆ ในระบบ นอกจากข้อมูลตามข้อ 1 ผู้สมัครสอบ สามารถแก้ไขข้อมูลได้เองในระบบส่วนบุคคล
การดำเนินการแก้ไขข้อมูลต้องดำเนินการภายในระยะเวลาที่ สทศ. กำหนด

8. พิมพ์ใบจ่ายเงิน ไม่ได้ต้องทำอย่างไร

คำตอบ : กรณีที่กดพิมพ์ใบจ่ายเงิน หรือบัตรแสดงข้อมูลสถานที่สอบ เลขที่นั่งสอบ แล้วไม่ปรากฎหน้าจอใหม่ ให้ดำเนินการดังนี้

1. ให้ผู้สมัครสอบเลือกเมนูด้านบนคำว่า TOOLS

2. ไปที่ POP UP BLOCKER แล้วเลือกคำว่า TURN OFF POP UP BLOCKER

3. แล้วกดคำว่า พิมพ์ หลังจากกดคำว่า “พิมพ์” จะปรากฎหน้าจอใหม่ ดังภาพด้านล่างนี้

9. ชำระเงินในการสมัครสอบได้ช่องทางไหนบ้าง

คำตอบ : น้องๆ สามารถทำการชำระเงินค่าสมัครสอบได้ 2 ช่องทางด้วยกัน ได้แก่

** ไม่สามารถจ่ายค่าสมัครสอบผ่าน E-banking หรือตู้เอทีเอ็มได้

10. สมัครสอบผิดวิชา จ่ายเงินไปแล้วควรทำอย่างไร

คำตอบ : เข้าไปในระบบแล้วทำการสมัครเพิ่ม แต่ให้น้องๆ เลือกตรงวิชาที่ต้องการสมัครเพิ่ม หลังจากนั้นพิมพ์ใบจ่ายเงินไปจ่ายอีกรอบ (เท่ากับว่าจะต้องจ่าย 2 ครั้ง แต่ในครั้งที่สองให้เราจ่ายแค่วิชาที่สมัครเพิ่มเท่านั้น) ดังนั้น น้องๆ คนไหนไม่อยากที่จะเสียเงินหลายๆ รอบ ก่อนสมัครสอบควรเช็ควิชาที่ต้องการสอบให้ดีเสียก่อน

11. สมัครสอบในโทรศัพท์ แล้วเข้าระบบใหม่ เพื่อทำการพิมพ์ในชำระเงินในคอมฯ ได้ไหม

คำตอบ : ถ้ายืนยันวิชาที่สอบ และยืนยันจังหวัด/อำเภอ ที่ต้องการสมัครสอบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สามารถออกจากระบบในโทรศัพท์ได้เลย และทำการเข้าระบบใหม่ผ่านทางเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เลย

12. จำเป็นหรือเปล่า ที่สมัครวันนี้ และจะต้องจ่ายค่าสมัครเลย

คำตอบ : ไม่จำเป็น .. แต่ในบางพื้นที่สนามสอบอาจจะเต็มก่อนได้ แต่สำหรับน้องๆ คนไหนที่สมัครสอบในเขตพื้นที่ต่างหวัดที่ไม่ได้อยู่ในกรุงเทพฯ สามารถจ่ายเงินได้จนถึงวันทาง สทศ. ได้กำหนดไว้เลย

คำถามทั้งหมดได้ที่ : www.niets.or.th

บทความที่เกี่ยวข้อง ปีการศึกษา 2564

บทความที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง