คณะแพทยศาสตร์ ความแตกต่าง จิตแพทย์ นักจิตวิทยา

ไขข้อสงสัย 6 ข้อแตกต่างระหว่าง จิตแพทย์ VS นักจิตวิทยา

Home / บทความการทำงาน / ไขข้อสงสัย 6 ข้อแตกต่างระหว่าง จิตแพทย์ VS นักจิตวิทยา

น้อง ๆ ชาวแคมปัส-สตาร์ ที่กำลังสับสนอยู่ว่าระหว่าง จิตแพทย์และนักจิตวิทยา เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง? ทั้งในเรื่องของการเรียน การทำงาน และวิธีการรักษาผู้ป่วย ในบทความนี้มีข้อมูลมาให้น้อง ๆ ได้ทำความเข้าใจ โดยข้อมูลอ้างอิงมาจากความแตกต่างการทำงานของจิตแพทย์และนักจิตวิทยาในประเทศสหรัฐอเมริกา จิตแพทย์ – นักจิตวิทยา แตกต่างกันอย่างไร

6 ข้อแตกต่างของการเป็น จิตแพทย์ – นักจิตวิทยา

1. วุฒิการศึกษา

ผู้ที่สำเร็จการศึกษาด้านจิตแพทย์จะต้องจบจากมหาวิทยาลัยในคณะแพทยศาสตร์ หรือคณะที่มีความเกี่ยวข้องกับด้านจิตแพทย์ และจะต้องได้รับการฝึกอบรมจนเกิดความเชี่ยวชาญในด้านจิตเวชศาสตร์และได้รับการรับรองให้ทำการรักษาความผิดปกติทางจิต โดยที่จิตแพทย์ทุกคนจะได้รับการฝึกให้วินิจฉัยโรคและจิตบำบัด พร้อมทั้งนี้คนที่เป็นจิตแพทย์จะมีคำว่า M.D. ต่อท้ายหลังชื่อ-นามสกุลด้วย

ในขณะที่ นักจิตวิทยา สามารถจบการศึกษาได้ทั้งด้านปรัชญา (Ph.D) หรือทางด้านจิตวิทยา (PsyD) ก็ได้ โดยคนที่ศึกษาด้านจิตวิทยาจะเรียนรู้เกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต) กระบวนความคิด และพฤติกรรมของมนุษย์ ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หรือเรียกว่าเป็นการเรียนรู้การทำงานของจิตใจของมนุษย์ เช่น การคิด จินตนาการ การฝัน เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีความแตกต่างอีกหนึ่งด้านของจิตแพทย์และนักจิตวิทยาก็คือ จิตแพทย์สามารถสั่งจ่ายยาให้ผู้ป่วยได้ ในขณะที่นักจิตวิทยาจะสามารถทำการจ่ายยาให้ผู้ป่วยได้ก็ต่อเมื่อได้รับการอนุญาตจากจิตแพทย์หรือมีกฏหมายครอบคลุมว่านักจิตวิทยาสามารถสั่งจ่ายยาได้

จิตแพทย์ย้ำโรคซึมเศร้ารักษาหายขาดได้

Link : seeme.me/ch/goodmorningthailand/9d5NVM

2. มีกระบวนการทำงานที่ต่างกัน

ทั้งจิตแพทย์และนักจิตวิทยามีกระบวนการทำงานที่แตกต่างกัน คือ จิตแพทย์มีความมุ่งเน้นในการรักษาไปในทางกายภาพของสมองผู้ป้วย หรือการใช้ยาเพื่อช่วยปรับสมดุลทางเคมีของสมองให้มีการทำงานได้ตามปกติ ส่วนนักจิตวิทยาจะมุ่งเน้นในการบำบัดเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมอารมณ์ ความนึกคิดของตนเองได้ ทั้งนี้ยังช่วยให้ผู้ป่วยสามารถจัดการหรือรรับมือกับปัญหาทางอารมณ์ให้ดีขึ้นด้วย

3. มีแนวทางการรักษาที่ต่างกัน

ถึงแม้ว่าทั้ง 2 สาขาจะมีการวินิจฉัยและทำการรักษาความเจ็บป่วยทางจิตเหมือนกัน แต่เราก็จะเห็นความแตกต่างของทั้งสองได้อย่างชัดเจนคือ จิตแพทย์มักจะใช้ยาเป็นแนวทางในการรักษาอาการของผู้ป่วยเป็นหลัก ในขณะที่นักจิตวิทยาจะใช้วิธีในการพูกคุยให้คำปรึกษามากกว่า

และในบ่อยครั้งที่ จิตแพทย์และนักจิตวิทยาจะต้องทำงานร่วมกันในการรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางด้านสภาวะจิตใจ กล่าวคือ นักจิตวิทยาจะค่อยให้คำปรึกษาในการช่วยบำบัดอาการ ส่วนจิตแพทย์จะเป็นคนจ่ายยาให้ผู้ป่วยควบคู่กันไป

4. ผู้ป่วยควรเลือกไปรักษากับใครดี ?

หากผู้ป่วยมีอาการที่ค่อนข้างรุนแรง มีแนวโน้มสูงที่จะรู้สึกอยากใช้สารเสพติด รู้สึกอยากทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย และมีพฤติกรรมเสี่ยงอื่น ๆ ก็ควรที่จะได้รับการรักษาจากจิตแพทย์โดยตรงเลย เพื่อรับยาที่จะช่วยทำให้ผู้ป่วยสามารถแก้ปัญหาหรือทำให้อาการเหล่านั้นดีขึ้นได้ ซึ่งอาจจะนอกเหนือจากการที่ได้รับการบำบัดจากนักจิตวิทยา

ในส่วนของผู้ป่วยที่มีความกังวล แต่ยังไม่มีอาการขั้นรุงแรงมาก ก็อาจจะเลือกใช้วิธีในการบำบัดกับนักจิตวิทยา ซึ่งถ้ามีอาการที่ดีก็ไม่ต้องเข้ารับการรักษาจากจิตแพทย์ แต่ถ้าหากอาการยังไม่ดีผู้ป่วยก็จะต้องเข้ารับการรักษาจากจิตแพทย์ร่วมด้วย

จิตแพทย์ - นักจิตวิทยา แตกต่างกันอย่างไร

5. เครื่องมือในการวินิจฉัยเหมือนกัน

ทั้ง 2 สาขาต่างก็ใช้คู่มือการวินิจฉัยและสถิติของความผิดปกติทางจิต (DSM-5) จากสมาคมจิตแพทย์อเมริกันเหมือนกัน นอกจากนี้พวกเขายังใช้การทดสอบด้านอื่น ๆ ที่คล้ายกันในการวินิจฉัยและทำการรักษาเหมือนกันอีกด้วย เพื่อช่วยทำให้รักษาอาการผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

6. ระยะเวลาการรักษาที่ต่างกัน

จากวิจัยที่ได้ตีพิมพ์ลงในวารสาร Psychiatric Services พบว่า จิตแพทย์ส่วนใหญ่จะนัดพบกับผู้ป่วยในช่วงเวลาสั้น ๆ ประมาณ 10 – 30 นาที (ทำการพูดคุยกับผู้ป่วย + จ่ายยา) และจะทำการเว้นระยะห่างในการนัดห่างออกไปเป็น 1 – 3 เดือน

ส่วนนักจิตวิทยาจะมีการนัดพบพูดคุยกับผู้ป่วยประมาณ 45 นาที สัปดาห์ละ 1 ครั้ง หรือ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ระยะเวลาในการรักษาจะอยู่ที่ประมาณ 6 – 12 ครั้ง หรือมากกว่านั้นถ้ามีความจำเป็น  หรือถ้าอาการของผู้ป่วยยังไม่หายดี สำหรับวิธีการรักษาของนักจิตวิทยาจะเริ่มจากการพิจารณาระความร้ายแรงในจิตใจของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยรู้ว่าตนเองอยู่ในระดับความรุนแรงไหน และจะทำการรักษาในขั้นต่อไป

ที่มา : www.rd.com, www.scholarship.in.th

จิตแพทย์ : psychiatrist, psych, alienist, headshrinker
หมอโรคจิต : psych, psychiatrist
นักจิตเวชศาสตร์ : psychiatrist

บทความที่น่าสนใจ