10 สาขาวิศวกรรม ที่มีความโดดเด่นในศตวรรษที่ 21 มีงานรองรับ – ค่าตอบแทนสูง

วิศวกรรมศาสตร์ หรือมีชื่อภาษาอังกฤษว่า Engineering เป็นหนึ่งในสาขา สะเต็มศึกษา หรือ STEM Education ที่ประกอบด้วย Science Technology Engineering and Mathematics ซึ่งเป็นแนวทางการศึกษาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถบูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กระบวนการทางวิศวกรรม และคณิตศาสตร์ ไปใช้ในการเชื่อมโยงและแก้ปัญหาในชีวิตจริงได้ รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 – อ่าน 10 สาขาวิศวกรรม ที่มีความโดดเด่นในศตวรรษที่ 21

10 สาขาวิศวกรรม ที่มีความโดดเด่นในศตวรรษที่ 21

ดังนั้น การเรียนรู้แบบ STEM Education ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นการต่ยอดหลักสูตรการเรียนการสอนให้มีความทันสมัยต่อการเรียนรู้ในยุคปัจจุบันให้มากยิ่งขึ้น โดยเป็นการบูรณาการเอาควาารู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กระบวนการทางวิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ มาพัฒนาให้สามารถเอามาใช้งานได้จริงในการทำงาน และยังเป็นการเสริมสร้างประสบการณ์ ทักษะชีวิต ความคิดสร้างสรรค์ที่นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ อีกด้วย

พร้อมทั้งนี้ การเรียนรู้แบบ STEM Education ยังไม่ได้นำความรู้เพียงแค่ 4 ด้านมาประยุกต์ใช้ในการทำงานจริงเท่านั้น แต่ยังสามารถนำความรู้ด้านอื่น ๆ เช่น ศิลปะ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ พลศึกษา สุขศึกษา สังคมศึกษาและวัฒธรรม มาบูรณาการร่วมกันได้ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

และในบทความนี้ แคมปัส-สตาร์ ก็ได้รวบรวมสาขาด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่มีความน่าสนใจ เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน และอัตราเงินเดือนที่จะได้รับในแต่ละสาขาด้านวิศวะมาฝากกันด้วย ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย…

** ทั้งนี้อัตราเงินอาจจะมีความแตกต่างไม่เท่ากัน เนื่องจากอาจจะขึ้นอยู่กับแต่ละองค์กร ประสบการณ์ทำงาน และอื่น ๆ ดังนั้นน้อง ๆ ที่เป็นนักศึกษาจบใหม่หรือใครที่กำลังหางาน ย้ายงาน อยู่นั้น ควรจะศึกษารายละเอียดขององค์กรและตำแหน่งให้ดีเสียก่อน ตัดสินใจด้วยนะคะ

1. วิศวกรซอฟต์แวร์

วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software engineering) ใช้ความรู้พื้นฐานด้านวิศกรรมคอมพิวเตอร์เป็นหลัก และยังรวมถึงการดึงเอาวิชาด้านวิศวกรรมไฟฟ้าบางตัวมาใช้ในการทำงานด้วย โดยสาขานี้จะเรียนเกี่ยวกับการพัฒนาซอฟต์แวร์ เริ่มตั้งแต่กระบวนการวิเคราะห์ระบบ ออกแบบ ไปจนถึงขั้นตอนการทดสอบ และยังจะต้องเรียนรู้ด้านการพัฒนาฮาร์แวร์ควบคู่กับการพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วย เพื่อให้ได้ระบบงานที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด

อัตราเงินเดือน : 20,000 – 40,000 บาท

2. วิศวกรระบบราง

วิศวกรระบบราง (Railway systems engineering) จะเรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบ ก่อสร้าง ซ่อมบำรุง และเรียนรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานด้านรถไฟทั้งหมด รววมไปถึงด้านโลจิสติกส์ และการเขียนโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ อีกด้วย เมื่อน้อง ๆ เรียนจบแล้วสามารถเข้าทำงานได้ทั้งหน่วยงานเอกชนและภาครัฐ

อัตราเงินเดือน : 18,000 – 25,000 บาท

อ่านเพิ่มเติม : วิศวกรรมระบบราง อีกหนึ่งสาขามาแรง ที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน

3. วิศวกรโทรคมนาคม / วิศวกรระบบดาวเทียม

วิศวกรโทรคมนาคม / วิศวกรระบบดาวเทียม (Telecommunications engineering) จะเรียนรู้ทุกอย่างที่มีความเกี่ยวกับการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสัญญาณ การส่ง การรับข้อมูล การวิเคราะสัญญาณต่าง ๆ นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้การเขียนโปรแกรมในภาษาต่าง ๆ และเรียนรู้เรื่องวงจรจรอิเล็กทรอนิกส์ อีกด้วย เมื่อเรียนจบไปแล้วลักษณะงานที่น้อง ๆ จะเจอก็คือ งานด้านการควบคุมการสื่อสาร งานติดตั้งและการซ่อมบำรุงระบบ เพื่อให้ระบบสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อัตราเงินเดือน : 18,000 – 20,000 บาท

4. วิศวกรไฟฟ้า

วิศวกรไฟฟ้า (Electrical engineering) จะเน้นเรียนเกี่ยวกับการออกแบบและการวิเคราะห์ระบบไฟฟ้า วงจรไฟฟ้า การรับส่งข้อมูลในรูปสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การควบคุมระบบอัตโนมัติ และเทคโนโลยีสารกึ่งตัวนำทั้งในระดับขนาดไมโครเมตรและนาโนเมตร และยังเรียนเกี่ยวกับวิธีการแปรผันพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานสะอาดให้นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นต้น เมื่อเรียนจบแล้วสามารถเข้าทำงานได้ในโรงงานภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ หรือโรงงานผลิตไฟฟ้า ฯลฯ

อัตราเงินเดือน : 25,000 – 35,000 บาท

อ่านเพิ่มเติม : วิศวกรรมไฟฟ้า สาขาน่าเรียน สำหรับน้อง ๆ ที่มีความฝันอยากจะเป็น วิศวกร

5. วิศวกรปิโตรเลียม

วิศวกรปิโตรเลียม (Petroleum engineering) เรียนรู้เกี่ยวกับ ธรณีวิทยาของแหล่งปิโตรเลียม วิธีการเจาะ คำนวณการไหลของปิโตรเลียมในท่อผลิตและท่อส่ง และยังจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติต่าง ๆ ของปิโตเลียมทั้งหมด การนำทรัพยากรปิโตเลียมขึ้นมาจากใต้ดิน ไปจนถึงกระบวนการผลิตและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่ามากที่สุด เมื่อน้อง ๆ เรียนรู้จบแล้วสามารถเลือกได้ว่าจะทำงานที่โรงกลั่นหรือที่แท่นขุดเจาะน้ำมัน

อัตราเงินเดือน : 25,000 – 35,000 บาท (ถ้าต้องเดินทางไปทำงานนอกสถานที่จะมีเงินพิเศษด้วย)

6. วิศวกรหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ

วิศวกรหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Robotics and automation engineering) เป็นหลักสูตรการเรียนการสอนที่มีการบูรณาการความรู้ด้านวิศวกรรมไฟฟ้า เครื่องกล และคอมพิวเตอร์มาทำงานร่วมกัน โดยจะเริ่มเรียนตั้งแต่พื้นฐานการคิดวิเคราะห์ ออกแบบ เขียนโปรแกรม และสร้างผลงานออกมาให้สามารถใช้งานได้จริง เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของการทำงานในยุคปัจจุบันที่ได้มีการนำระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์เข้าใช้งานมากขึ้นในแต่ละภาคอุตสาหกรรม

อัตราเงินเดือน : 30,000 – 45,000 บาท

7.  วิศวกรการบิน / วิศวกรเครื่องกล (อากาศยาน)

วิศวกรการบิน / วิศวกรเครื่องกล (อากาศยาน) (Aerospace engineering) เรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบ วิเคราะห์โครงสร้างรูปร่างทางพลศาสตร์ เครื่องยนต์ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการบินทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นระบบการขับเคลื่อน วัสดุและวิธีการผลิต การวางแผนและการควบคุมการสร้างเครื่องบิน และยังรวมถึงการทดสอบหรือการซ่อมบำรุงด้วย งานส่วนใหญ่ของสาขานี้ เช่น การซ่อมบำรุงอากาศยาน การผลิตเครื่องบินเล็กเพื่อใช้ในงานสื่อสารและการสำรวจทัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น

อัตราเงินเดือน : 17,000 – 20,000 บาท

อ่านเพิ่มเติม : สาขาน่าเรียน วิศวกรรมการบินและอวกาศ เรียนจบแล้วทำงานอะไรได้บ้าง

8. วิศวกรชีวการแพทย์

วิศวกรชีวการแพทย์ (Biomedical engineering) เป็นการนำความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์ต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้งานร่วมกัน เช่น ความรู้ด้านกลศาสตร์ของไหล ความรู้ทางด้านการแพทย์ และความรู้ด้านวิทยาศาสตร์แขนงต่าง ๆ ฯลฯ เพื่อนำมาออกแบบ สร้าง หรือพัฒนาซอฟต์แวร์ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีมาตรฐาน เช่น การทำหัวในเทียม หรือหลอดเลือดทียม เป็นต้น น้อง ๆ สามารถเลือกทำงานได้ทั้งในโรงพยาบาลหรือบริษัทที่มีความเกี่ยวข้องด้านการแพทย์

อัตราเงินเดือน : 20,000 – 35,000 บาท

9. วิศวกรเสียง

วิศวกรเสียง (Sound engineering) เป็นการประยุต์ใช้ความรู้ด้านวิศกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ สื่อสาร และไอที มาทำงานร่วมกับดนตรี กราฟิก และแอนิเมชัน อาชีพสำหรับคนที่จบสาขาด้านนี้ เช่น Sound engineer หรือ Light and sound control ฯลฯ ซึ่งสามารถเข้าทำงานได้ในบริษัทภาคอุตสาหกรรมดนตรีต่าง ๆ

อัตราเงินเดือน : 18,000 – 35,000 บาท

10. วิศวกรเคมี

วิศวกรเคมี (Chemical Engineer) เรียนรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติทางกายภาพ การออกแบบอุปกรณ์ และการควบคุมกระบวนการทำงานทางเคมี ชีวเคมี รวมถึงเรียนรู้หลักการของกระบวนการผลิตเคมีในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ควบคู่กับหลักเศรษฐศาสตร์ไปพร้อม ๆ กันด้วย

เมื่อเรียนจบแล้วสามารถทำงานได้อย่างหลากหลายตำแหน่ง เช่น วิศวกรการผลิต มีหน้าที่ในการควบคุม ดูแล แก้ไข กระบวนการผลิตต่าง ๆ ทางด้านเคมี ปิโตรเคมี, วิศวกรโครงการ มีหน้าที่กำกับดูแลงานโครงการต่าง ๆ ของโรงงานการผลิต, นักวิจัยด้านเคมี และวิศวกรออกแบบและพัฒนากระบวนการผลิต เป็นต้น

อัตราเงินเดือน : 18,000 – 80,000 บาท

อ่านเพิ่มเติม : วิศวกรรมเคมี สาขาน่าเรียนที่จบออกมาแล้ว เป็นได้ทั้ง วิศวกร-นักวิจัย

ข้อมูลจาก : www.stemedthailand.orgwww1.telecom.kmitl.ac.th,
www.admissionpremium.comwww.siuk-thailand.com

บทความที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง