ข่าวจริง ข่าวปลอม มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

วิธีเช็ค ข่าวจริง-ข่าวปลอม | คำแนะนำจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

Home / วาไรตี้ / วิธีเช็ค ข่าวจริง-ข่าวปลอม | คำแนะนำจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

มหาวิทยาลัย Harvard และเว็บไซต์ด้านไอที digitaltrends.com ได้ระบุขั้นตอนในการคัดกรองข่าวจริง-ข่าวปลอม ว่ามีวิธีการสังเกตุอย่างไรได้บ้าง ชาวแคมปัส-สตาร์ ลองอ่านเป็นคำแนะนำ เพราะปัจจุบันข้อมูลในอินเทอร์เน็ตมีมากมายจริง ๆ ก่อนจะเชื่อหรือแชร์ข่าวอะไรลองเช็คให้ดีเสียก่อน ด้วยวิธีต่อไปนี้…

ข่าวจริง-ข่าวปลอม จะรู้ได้อย่างไร?

อย่าอ่านแค่พาดหัวข่าว เพราะบางครั้งพาดหัวข่าวสามารถสร้างความเข้าใจผิดได้ พาดหัวคนละเรื่อง เนื้อหาข่าวจริง ๆ คนละความหมายกับพาดหัวก็มี

ตรวจสอบแหล่งที่มา และความน่าเชื่อถือของข้อมูล เช่น ที่อยู่ของเว็บไซต์ปกติแล้ว จะเป็น .com, .org ถ้าเป็น .com.co หรือมีโลโก้ที่ไม่คุ้นเคย ชื่อสำนักข่าวที่ผิดเพี้ยนไป ให้ระวังไว้ก่อนว่าอาจเป็นเว็บไซต์ปลอม

สามารถตามหาบทความต้นฉบับได้หรือไม่ หมายถึงว่า ข่าวนั้นสามารถค้นหาชื่อผู้เขียนเพื่อยืนยันว่ามีตัวตนจริงได้หรือเปล่า? และเกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่นำเสนอ

แหล่งข่าวที่อยู่ในบทความมีตัวตนจริงมั้ย? เช่น ที่ตั้งสำนักข่าว เป็นต้น หรือเกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่นำเสนอหรือไม่? สามารถหาบทความที่คล้ายกันในเว็บไซต์อื่นหรือไม่

– ใช้หลักการ ค้นหาย้อนกลับ จากการหาภาพหรือข้อมูลที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่นำเสนอ

– ตรวจสอบคุณภาพ ความเป็นกลางของเนื้อหา และเวลาในการนำเสนอ

– ระวังข้อมูลที่มีเนื้อหาตลกเสียดสี กรองก่อนแชร์ข่าวจากอินเทอร์เน็ต เช่น “ทวิตเตอร์”, “เฟซบุ๊ก” เป็นต้น

– สุดท้ายหากไม่แน่ใจจริง ๆ ลองถามผู้เชี่ยวชาญก่อน

ที่มา : voathai, นีธิกาญจน์ กำลังวรรณ

บทความแนะนำ