การศึกษาต่างประเทศ ข่าวจริง ข่าวปลอม สาขาวิชาน่าเรียน

โรงเรียนมัธยมในอเมริกา เปิดสอนวิชา “รู้เท่าทันข่าวปลอม” หวังให้เด็กแยกแยะได้

Home / วาไรตี้ / โรงเรียนมัธยมในอเมริกา เปิดสอนวิชา “รู้เท่าทันข่าวปลอม” หวังให้เด็กแยกแยะได้

โรงเรียนมัธยม Wakefield High School ในอาร์ลิงตัน รัฐเวอร์จิเนีย ได้เปิดสอนวิชา “รู้เท่าทันข่าวปลอม”  เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับการจำแนกแยกแยะข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่มากมายในโลกอินเทอร์เน็ต ว่าข่าวไหนควรเชื่อถือ ข่าวไหนป็นข่าวลือ ข่าวหลอกลวง โฆษณาชวนเชื่อ หรือเป็นข้อมูลที่บิดเบือน

โรงเรียนมัธยมในอเมริกา เปิดสอนวิชา “รู้เท่าทันข่าวปลอม”

ปัจจุบันทุกคนสามารถรับข่าวสารได้ง่ายและรวดเร็วผ่านอินเทอร์เน็ต หรือจากโซเชียลมีเดียช่องทางต่าง ๆ สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือในบางครั้งข่าวสาร ข้อมูลต่าง ๆ ที่แชร์อยู่บนโลกอินเทอร์เน็ตนั้นมีทั้งข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือน ข่าวหลอกลวง โฆษณาชวนเชื่อ ซึ่งบางครั้งอาจจะสร้างความเดือดร้อน ความเสียหาย ก็เป็นได้

ภาพจาก: voathai

ที่โรงเรียนมัธยม Wakefield High School ในอาร์ลิงตัน รัฐเวอร์จิเนีย เห็นความสำคัญของเรื่องนี้ และอยากให้เด็กนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจจำแนกข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่มากมายบนโลกอินเตอร์เน็ต สามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งใดคือข่าวจริง สิ่งใดคือข้อมูลที่มีอคติ ข่าวปลอม รวมไปจนถึงสิ่งใดคือโฆษณาชวนเชื่อ

ภาพจาก: voathai

ในวิชาสังคมอาจารย์ Patricia Hunt จึงได้สอนวิชา“รู้เท่าทันข่าวปลอม” โดยใช้หลักสูตรออนไลน์ Checkology อาจารย์ได้ยกตัวอย่างเหตุยิงกราดที่โรงเรียนมัธยม ในเมืองพาร์คแลนด์ รัฐฟลอริดา และให้นักเรียนได้ลองคิดวิเคราะห์ จำแนกข้อมูลข่าวสาร และข่าวลือ ที่เกิดขึ้นทั้งหมด

นักเรียนที่ได้เข้าร่วมเรียนวิชานี้ต่างบอกว่า พวกเขาเริ่มระมัดระวังในการติดตามข่าวสาร และสามารถแยกแยะได้ว่าข่าวไหนจริง ข่าวไหนปลอม

ภาพจาก: voathai

สิ่งที่น่าตกใจคือ เด็กๆ ส่วนใหญ่ เชื่อว่าข้อมูลบนโลกออนไลน์คือข้อมูลจริง และพร้อมที่จะแชร์ต่อโดยไม่กลั่นกรอง

ข้อมูลอีกด้านเกี่ยวกับเรื่องนี้ Alan Miller ผู้ก่อตั้งองค์กร News Literacy Project ที่มีหลักสูตรออนไลน์ Checkology เผยว่า วัยรุ่นรับรู้ข่าวสารจากสื่อสังคมออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ และมักเชื่อข้อมูลที่ได้รับจากเพื่อน สิ่งที่น่าตกใจคือ เด็ก ๆ ส่วนใหญ่ เชื่อว่าข้อมูลที่เห็นบนโลกออนไลน์คือข้อมูลจริง และพร้อมที่จะเผยแพร่ต่อโดยไม่กลั่นกรอง

วัยรุ่น ม.ปลายจะมองว่า ข้อมูลข่าวสารบนโลกออนไลน์ จะต้องเลือกข้าง

ขณะที่วัยรุ่นในระดับมัธยมปลายจะมองว่า ข้อมูลข่าวสารที่อยู่บนโลกออนไลน์ จะต้องเลือกข้าง หรือมีนัยสำคัญบางอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่พวกเขาขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ เมื่อได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเหล่านั้นมา

ในสหรัฐฯ และอีก 90 ประเทศทั่วโลก มีนักเรียนหลายพันคนที่ใช้คลาสเรียนออนไลน์ Checkology เพื่อตรวจสอบข่าวสารที่พวกเขาได้เห็น ผู้ที่สนใจสามารถเรียนรู้ผ่านเว็บไซต์ได้นะคะที่ checkology.org

อ่านคำแนะนำเพิ่มเติมเบื้องต้น วิธีการเช็คข่าวว่าเชื่อถือได้หรือไม่ >> วิธีเช็ค ข่าวจริง-ข่าวปลอม | คำแนะนำจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

ที่มาข้อมูลจาก : voathai, นีธิกาญจน์ กำลังวรรณ

บทความแนะนำ