admissions TCAS การสอบเข้ามหาวิทยาลัย นักศึกษาใหม่ รับสมัคร แอดมมิชชัน

สอบเข้ามหาวิทยาลัย เจาะลึกระบบคัดเลือกนักศึกษาใหม่ TCAS ปี 61 ต้องสอบอะไรบ้าง?

Home / ข่าวการศึกษา / สอบเข้ามหาวิทยาลัย เจาะลึกระบบคัดเลือกนักศึกษาใหม่ TCAS ปี 61 ต้องสอบอะไรบ้าง?

ทำไมถึงมาเป็น ระบบ “TCAS” เพราะที่ผ่านมานั้น มหาวิทยาลัยต่างก็พบปัญหาในการรู้ยอดนักเรียนที่แท้จริง ในการสมัครสอบเข้าศึกษาต่อในแต่ปี ถึงแม้นักเรียนจะทำการยืนยันสิทธิ์และชำระเงินเข้าเรียนต่อแล้วก็ตาม แต่ก็ยังสามารถไปสอบที่มหาวิทยาลัยอื่นๆ ได้ ทำให้บางมหาวิทยาลัยมียอดนักศึกษาที่เข้าเรียนไม่เต็มจำนวนที่ได้กำหนดเอาไว้ นอกจากนี้ยังรวมถึงนักเรียนที่โดนกั๊กสิทธิ์กั๊กที่เรียนอีกด้วย เพราะมีนักเรียนบางคนที่สอบติดในหลายๆ มหาวิทยาลัย แล้วทำการยืนยันสิทธิ์กั๊กที่เรียนเอาไว้ และรวมถึงปัญหาในการวิ่งรอกสอบของนักเรียนชั้น ม.6 อีกด้วย

ระบบคัดเลือกนักศึกษาใหม่ TCAS คืออะไร?

ถึงแม้ว่าที่ผ่านมา ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) จะพยายามแก้ไขปัญหาแล้วก็ตาม ทั้งมีการใช้ระบบเคลียริงเฮาส์และการสอบวิชาสามัญ แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้สำเร็จ เพราะตัวแปรสำคัญที่สุดในเรื่องนี้ ก็คือ มหาวิทยาลัย ที่ยังไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร เพราะยังมีหลายสถานบันการศึกษาที่ไม่ได้เข้าร่วมระบบเคลียริงเฮาส์ หรือถึงแม้ว่าจะเข้าร่วมก็ตาม แต่ก็ยังเข้าร่วมไม่ทุกโครงการอยู่ดี ทำให้ต้องมีการจัดระเบียบการคัดเลือกนักศึกษาใหม่ขึ้นมา นั่นก็คือ “การรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง Thai University Central Admission System (TCAS)”  ปีการศึกษา 2561

หลักการของระบบ TCAS มีรายละเอียดดังนี้

1. นักเรียนควรที่จะอยู่ในห้องเรียนจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

2. นักเรียนแต่ละคนมีเพียง 1 สิทธิ์เท่านั้น ในการตอบรับเข้าศึกษาต่อในสาขาวิชาที่เลือก โดยสามารถสละสิทธิ์ได้ในระยะเวลาที่กำหนด

3. สถาบันอุดมศึกษาในเครือข่าย ทปอ. ทุกแห่งจะต้องเข้าร่วมระบบเครียริงเฮาส์ เพื่อเป็นการบริหาร 1 สิทธิ์ของนักเรียน ให้มีความเท่าเทียมกัน

ซึ่งทั้ง 3 หลักการนี้ เป็นวิธีการแก้ไขปัญหาที่จะถูกนำมาใช่จริงในปีการศึกษา 2561 (ถึงแม้ว่าบางข้อจะเริ่มใช้มาบ้างแล้วก็ตาม) โดยในข้อที่ 1 ทาง ทปอ. ต้องการให้นักเรียนอยู่ในห้องเรียนตลอดปีการศึกษาของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ไม่ต้องสอบตลอดปีเหมือนกับในปีที่ผ่านๆ มา โดยการสอบของปีการศึกษา 2561 นั้น จะถูกจัดสอบหลังที่เด็กๆ เรียนจบ ม.6 เท่านั้น ไม่มีการสอบระหว่างภาคเรียน เพื่อให้น้องๆ มีสมาธิในการเรียนในชั้นเรียนอย่างเต็มที่ ไม่ต้องไปกังวลที่จะต้องวิ่งรอกสอบหลายๆ ที่ เพราะนอกจากจะทำให้เสียสมาธิในการเรียนแล้ว ยังเปลืองเงินและเหนื่อยอีกด้วย

ส่วนในข้อที่ 2 และ 3 ก็คือการแก้ไขปัญหาในการกั๊กที่เรียนและการรับนักศึกษาของมหาวิทยาลัย เพราะทุกมหาวิทยาลัยในเครือข่าย ทปอ. จะต้องเข้าร่วมระบบเคลียริงเฮาส์ทั้งหมด ทำให้นักเรียนที่สอบติดในแต่ละรอบ ต้องตัดสินใจว่าจะยืนยันสิทธิ์เลยหรือไม่ ถ้าทำการยืนยันสิทธิ์ในการเข้าศึกษาต่อ จะไม่มีสิทธิ์ในสมัครสอบในรอบต่อไปอีกแล้ว การทำเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการช่วยให้เด็กๆ ไม่สามารถกั๊กที่เรียนเอาไว้ได้และมหาวิทยาลัยยังได้ทราบจำนวนจริงที่รับในแต่ละรอบอีกด้วย

การสอบเข้ามหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561 เราต้องสอบอะไรบ้าง?

ซึ่งในช่วงแรกที่เราได้ทราบถึงระบบใหม่ที่ใช้ในการคัดเลือกนี้ ก็จะได้ยินว่าข้อสอบที่ใช้ในปี 61 จะต้องเป็นข้อสอบแบบใหม่ด้วย (สอบครั้งเดียวแล้วรู้เลยว่าเราติดหรือไม่ติด) แต่จากการแถลงข่าวของทาง ทปอ. เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมานั้นก็คือ ก็ได้ยอมรับว่าไม่สามารถบูรณาข้อสอบใหม่ได้ทัน และคาดว่าจะสำเร็จทันในปีการศึกษา 2562 ดังนั้นจึงทำให้ในปีการศึกษา 2561 ยังคงใช้ข้อสอบแบบเดิมอยู่ คือ GAT/PAT, O-NET, วิชาสามัญ และข้อสอบวิชาเฉพาะต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยมีการจัดสอบเอง แต่จะมีการเปลี่ยนแปลงในบางเรื่อง ได้แก่ การสอบทั้งหมด จะถูกจัดสอบหลังจบ ม.6 เท่านั้น ในช่วงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ – 12 เมษายน 2561 โดยแต่ละข้อสอบจะถูกจัดสอบในวัน/เวลา ดังต่อไปนี้

1. GAT/PAT สอบในวันที่ 24-27 กุมภาพันธ์ 2561

2. O-NET สอบในวันที่ 3-4 มีนาคม 2561

3. วิชาสามัญ สอบในวันที่ 17-18 มีนาคม 2561

4. วิชาเฉพาะ (ที่ไม่ซ้ำซ้อนกับการจัดสอบของ สทศ. เช่น กสพท. เป็นต้น) จัดสอบโดย กลุ่ม/มหาวิทยาลัย จัดสอบระหว่าง 24 กุมภาพันธุ์-12 เมษายน 2561 โดย กสพท. จัดสอบวันที่ 10 มีนาคม 2561

กำหนดการรับสมัครในปีการศึกษา 2561

กำหนดการรับสมัครในปีการศึกษา 2561

รอบที่ 1 รับด้วยแฟ้มสะสมผลงาน (portfolio)

การรับในรอบนี้จะไม่มีการสอบข้อเขียน แต่จะคัดเลือกโดยการพิจารณาจากผลงาน การสอบสัมภาษณ์และแฟ้มสะสมงาน (portfolio) สำหรับนักเรียนทั่วไป นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ นักเรียนโควตา และนักเรียนเครือข่าย ให้นักเรียนยื่นสมัครโดยตรงกับสถาบันอุดมศึกษา โครงการที่เปิดรับ เช่น โควตานักกีฬา โควตานักดนตรี โครงการช้างเผือก โครงการวิชาการ โครงการเรียนดี โควตาเด็กดีมีคุณธรรม เป็นต้น โดยคณะอินเตอร์ที่ใช้คะแนนสอบ ielts, toefl จะอยู่ในรอบนี้ด้วย

รอบที่ 2 การรับแบบโควตา ที่มีการสอบข้อเขียนหรือสอบปฏิบัติ

รอบที่ 2 การรับแบบโควตา ที่มีการสอบข้อเขียนหรือสอบปฏิบัติ

สำหรับการรับในรอบที่ 2 นี้ จะเป็นการกำหนดให้นักเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่ หรือภาคโควตาโรงเรียนในเครือข่าย และโครงการความสามารถพิเศษต่างๆ โดยที่มหาวิทยาลัยจะเป็นคนกำหนดคุณสมบัติและรับเอง ทางมหาวิทยาลัยจะเลือกใช้ข้อสอบกลางจาก สทศ. หรือกำหนดเองก็ได้

รอบที่ 3 การรับตรงร่วมกัน

รอบที่ 3 การรับตรงร่วมกัน

เป็นการรับสมัครรอบที่ใหญ่ที่สุด เพราะเป็นการรับตรงทั่วประเทศ โดย ทปอ. จะเป็นเจ้าภาพในการรับสมัคร ส่วนเกณฑ์การพิจารณาและการคัดเลือกจะเป็นทางมหาวิทยาลัยที่เป็นผู้ตัดสิน ซึ่งนักเรียนสามารถเลือกได้ 4 สาขาวิชา (โดยไม่มีลำดับ) หมายความว่า นักเรียนที่มีคะแนนผ่านไม่ว่าจะผ่านหมดทั้ง 4 สาขาวิชาหรือผ่านบางสาขาวิชาก็ตาม ก็สามารถเลือกเรียนได้ว่าเราจะเข้าศึกษาต่อที่สถาบันไหน ซึ่งจะต้องทำการยืนยันสิทธิ์ผ่านระบบเครียริงเฮาส์ คะแนนที่ใช้มาจากการจัดสอบของ สทศ. ได้แก่ GAT/PAT และ/หรือ วิชาสามัญ 9 วิชา, ผลคะแนนสอบ O-NET หรือ วิชาเฉพาะ ที่ทางมหาวิทยาลัยได้จัดสอบ (แต่ต้องเป็นวิชาที่ไม่ซ้ำซ้อนกับข้อสอบกลาง หรือวิธีการเดียวกับข้อสอบกลาง) และการจัดสอบของ กสพท. จะอยู่ในรอบนี้ด้วย โดยจะนับเป็น 1 รหัส ใน 4 รหัส ที่ใช้ในการเลือก 4 สาขาวิชานั่นเอง

รอบที่ 4 รับแบบ Admissions สำหรับนักเรียนทั่วไป
ตัวอย่าง องค์ประกอบ Admissions ปี 60

รอบที่ 4 รับแบบ Admissions สำหรับนักเรียนทั่วไป

โดย ทปอ. จะเป็นหน่วยกลางในการรับสมัครและคัดเลือก ใช้สัดส่วนตามแอดมิชชันเดิม นักเรียนสามารถเลือกสมัครได้ 4 สาขาวิชา (แบบเรียงลำดับ) โดยในปีนี้อาจจะมีกลุ่มแพทย์เข้ามาในระบบแอดมิชชันด้วย

รอบที่ 5 รับตรงแบบอิสระ

รอบที่ 5 รับตรงแบบอิสระ

เป็รการรับตรงโดยสถาบันอุดมศึกษา ที่สามารถกำหนดวิธีการรับคัดเลือกเองได้ (ถ้ามีที่นั่งเหลือ สามารถประกาศรับได้เลย) โดยการสอบในครั้งนี้ห้ามนักเรียนที่สอบข้อสอบที่เคยสอบมาแล้ว แต่ถ้าสถาบันอุดมศึกษาออกเกณฑ์การคัดเลือกมาเป็นวิชาที่นักเรียนยังไม่เคยสอบ ก็อาจร้องขอให้ทางมหาวิทยาลัยจัดสอบได้ เช่น นายบี ตอนรับตรงรอบที่ 3 ไม่ได้สอบวิชา PAT4 เพราะไม่คิดที่จะสมัคร แต่พอมาถึงในรอบที่ 5 คิดอยากที่จะสมัครเรียนต่อในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ก็สามารถทำการแจ้งกับทางมหาวิทยาลัยให้เปิดรับสอบได้

ปล. การรับสมัครคัดเลือกทั้ง 5 รอบ ทาง ทปอ. ได้บอกว่า ไม่ได้จำกัดเด็กซิ่วใดๆ ทั้งสิ้น แต่ทั้งนี้นักศึกษาก็ต้องเช็คให้ดีเสียก่อนว่า สถาบันการศึกษานั้นที่เราต้องการสมัครสอบในแต่ละรอบเข้ารับเด็กซิ่วด้วยหรือไม่

เว็บไซต์ เช็คยอดรับแต่ละรอบ/วิชาที่ใช้/กำหนดวันรับสมัคร

TCAS ป่วน (ข่าวเมื่อ 31 พ.ค. 61)

Link : https://seeme.me/ch/thedaynewsupdate/9xOPxk

เทคนิค GAT

ครูพี่โบว์ @TutorMe

บทความที่เกี่ยวข้อง

ที่มา : blog.eduzones.com