9 วิชาสามัญ gat-pat TCAS วิชาเคมี สารละลาย โอเน็ต

สารละลาย คืออะไร? | วิชาเคมี มีความสำคัญอย่างไร ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย

Home / ข่าวการศึกษา / สารละลาย คืออะไร? | วิชาเคมี มีความสำคัญอย่างไร ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย

เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคน อาจจะกำลังงงเกี่ยวกับคำว่า สารละลาย (solution) กันอยู่แน่นอน ถึงแม้ว่าสารละลายจะเป็นส่วนหนึ่งของวิชาเคมี ที่น้อง ๆ จะต้องเจอกันอยู่แล้วในการเรียนระดับชั้นต่าง ๆ และในบทความนี้ แคมปัส-สตาร์ ก็มีเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสารละลายมาฝากน้อง ๆ กันด้วย ว่ามันคืออะไร มีความสำคัญอย่างไรในวิชาเคมี แต่ละดับชั้นจะต้องเรียนเรื่องอะไรบ้าง และมีความสำคัญอย่างไรในการสอบเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย

วิชาเคมี มีความสำคัญอย่างไร ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย

โดยในทางเคมี สารละลาย (solution) คือสารผสมที่เป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งมีสสารหนึ่งชนิดหรือมากกว่าหนึ่งตัวเป็นตัวละลาย ละลายอยู่ในสารอีกชนิดหนึ่งซึ่งเป็นตัวทำละลาย ทั้งนี้ไม่ใช่เพียงแค่ของแข็งเท่านั้นที่สามารถละลายในของเหลวได้ เหมือนกับเกลือหรือน้ำตาลที่ละลายในน้ำ หรือแม้แต่ทองคำที่ละลายในปรอทแล้วเกิดเป็นอะมัลกัม นอกจากนี้ก๊าซก็สามารถละลายในของเหลวได้เหมือนกัน เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ หรือออกซิเจน ก็ละลายในน้ำได้

โดยที่ สารละลายอุดมคติ (ideal solution) คือ ปฏิกิริยาระหว่างโมเลกุลของตัวทำละลายที่มีการกระทำซึ่งกันและกัน มีค่าเท่ากับปฏิกิริยาระหว่างตัวทำละลายกับตัวถูกละลาย คุณสมบัติของสารละลายในอุดมคติสามารถคำนวณได้โดยผลรวมเชิงเส้นของคุณสมบัติส่วนประกอบของตัวมันเอง

ส่วน ตัวทำละลาย (solvent) เป็นสารในสารละลายที่มีปริมาณมากกว่าตัวถูกละลาย ถ้าทั้งตัวถูกละลายและตัวทำละลายมีปริมาณเท่ากัน เช่น สารละลายมีเอทานอล 50% และ น้ำ 50% เป็นต้น ความสำคัญของตัวทำละลายและตัวถูกละลายมีความสำคัญน้อยลง แต่ทั่วไปแล้วสารที่มีปริมาณมากกว่าจะถูกกำหนดให้เป็นตัวทำละลาย

EP.2 ออกชัวร์100% กับ 8 เนื้อหาที่ต้องรู้! พิชิต 9 วิชาและ PAT2

Link : seeme.me/ch/chemkrunas/9wJ7Ok?pl=DBVZ7D

วิชาเคมี ม.4-ม.6 ต้องเรียนเรื่องอะไรบ้าง?

เรื่องที่ 1 อะตอมและตารางธาตุ ประกอบด้วยเรื่อง ธาตุในตารางธาตุ, มวลอะตอม, มวลโมเลกุล และโมล

เรื่องที่ 2 สารและสมบัติของสาร ประกอบด้วยเรื่อง สสาร, สถานะของสาร, การแยกสาร, โครงสร้างอะตอม, สเปกตรัม และการจัดเรียงอิเล็กตรอน

เรื่องที่ 3 พันธะเคมี ประกอบด้วยเรื่อง พันธะโลหะและสมบัติ, พันธะไอออนิก และพันธะโควาเลนต์

เรื่องที่ 4 สมบัติของธาตุและสารประกอบ ประกอบด้วยเรื่อง สมบัติของธาตุตามตารางธาตุและตามหมู่, ธาตุทรานซิชัน, เลขออกซิเดชัน, สมบัติต่าง ๆ ของสารประกอบ และธาตุกัมมันตรังสี

เรื่องที่ 5 ปริมาณสัมพันธ์ในปฏิกิริยาเคมี แบ่งออกเป็น ปริมาณสัมพันธ์ 1 และ 2 ได้แก่

– ปริมาณสัมพันธ์ 1 ประกอบด้วยเรื่อง ไอโซโทป, ระบบ, กฎทรงมวล, กฎสัดส่วนคงที่ และการหาขนาดโมเลกุลโดยประมาณ
– ปริมาณสารสัมพันธ์ 2 ประกอบด้วยเรื่อง สูตรโมเลกุล, สมบัติคอลิเกทีฟ, ความเข้มข้นของสารละลาย, ปริมาตรของก๊าซในปฏิกิริยาเคมี และปริมาณสารในสมการเคมี

เรื่องที่ 6 ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ประกอบด้วยเรื่อง ของแข็ง ของเหลว ก๊าซ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสมบัติของแข็ง ของเหลว ก๊าซ

เรื่องที่ 7 อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ประกอบด้วยเรื่อง ทฤษฎีการชน, ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราพลังงานกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี และกฏอัตรา

วิชาเคมี มีความสำคัญอย่างไร ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย

เรื่องที่ 8 สมดุลเคมี ประกอบด้วยเรื่อง การเปลี่ยนแปลงผันกลับ, ภาวะสมดุล, ค่าคงที่สมดุล และปัจจัยที่มีผลในการรบกวนสมดุล

เรื่องที่ 9 กรด-เบส ประกอบด้วยเรื่อง ทฤษฏีกรด-เบส, คู่กรด คู่เบส, การแตกตัว, pH และ pOH ของสารละลาย, ปฎิกิริยาระหว่างกรดและเบส, อินดิเคเตอร์ และการไตเตรต

เรื่องที่ 10 ไฟฟ้าเคมี ประกอบด้วยเรื่อง การถ่ายโอนอิเล็กตรอนระหว่างธาตุ, ปฎิกิริยารีดอกซ์, การดุลสมการ, เซลล์ไฟฟ้าเคมี, ศักย์ไฟฟ้าของเซลล์ และการผุกร่อนของโลหะและการป้องกัน

เรื่องที่ 11 ธาตุและสารประกอบในอุตสาหกรรม (เคมี) ประกอบด้วย สินแร่และการถลุงแร่, แร่รัตนชาติ, การผลิตเกลือ และการใช้ประโยชน์จากเกลือแกงในอุตสาหกรรม

เรื่องที่ 12 เคมีอินทรีย์ ประกอบด้วยเรื่อง พันธะของคาร์บอน, หมู่ฟังก์ชัน, สารประกอบไฮโดรคาร์บอน, สารประกอบอินทรีย์ที่มีธาตุออกซิเจนเป็นองค์ประกอบ, สารประกอบอินทรียืที่มีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ และสารประกอบอินทรีย์ที่มีธาตุออกซิเจนและไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ

เรื่องที่ 13 เชื้อเพลิงซากดึกดําบรรพ์และผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วยเรื่อง ปิโตรเลียม, น้ำมันเชื้อเพลิง, พอลิเมอร์, พลาสติก, เส้นใย และยาง

เรื่องที่ 14 สารชีวโมเลกุล ประกอบด้วยเรื่อง โปรตีน, คาร์โบไฮเดรต, ลิพิด และกรดนิวคลิกอิก

วิชาเคมี สำคัญอย่างไร? ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย

สำหรับน้อง ๆ ที่กำลังจะเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย นอกจากนี้เราจะต้องเตรียมตัวในการสอบวิชาภาษาไทย อังกฤษ สังคมศึกษาฯ และคณิตศาสตร์แล้วนั้น อีกหนึ่งวิชาในหมวดวิชาวิทยาศาสตร์ที่เราจะพลาดไม่ได้เลยก็คือ วิชาเคมี นั่นเอง (วิชาในหมวดวิชาวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย วิชาเคมี ชีววิทยา และฟิสิกส์) เพราะว่าเป็นคะแนนอีกหนึ่งส่วนสำคัญที่มีผลต่อการสมัครเข้ามหาวิทยาลัยผ่านระบบ TCAS ในแต่ละรอบ

** ทั้งนี้ ผลคะแนนวิชาที่ใช้ในแต่ละรอบของการสมัคร TCAS มีความแตกต่างกันออกไป ตามคณะ/สาขาวิชา ของแต่ละมหาวิทยาลัยได้กำหนดขึ้นมา น้อง ๆ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ของคณะ/มหาวิทยาลัย ที่น้อง ๆ ต้องสมัครเข้าได้เลยค่ะ

จำได้ภายใน 3 นาที สรุปกรด-เบส คำนวนการผสม แบบโมลเท่า

Link : seeme.me/ch/chemkrunas/kPxROk?pl=DBVZ7D

เนื้อหาที่ใช้สอบ O-NET ม.6 ได้แก่

– สารและสมบัติของสาร

รายละเอียดเพิ่มเติม : คลิกที่นี่

เนื้อหาที่ใช้สอบ GAT/PAT (PAT2) ได้แก่

– สารและสมบัติของสาร

รายละเอียดเพิ่มเติม : คลิกที่นี่

เนื้อหาที่ใช้สอบ วิชาสามัญ 9 วิชา ได้แก่

– อะตอมและตารางธาตุ
– พันธะเคมี
– สมบัติของธาตุและสารประกอบ
– ปริมาณสัมพันธ์ในปฏิกิริยาเคมี
– ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส
– อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
– สมดุลเคมี
– กรด-เบส
– ไฟฟ้าเคมี
– ธาตุและสารประกอบในอุตสาหกรรม
– เคมีอินทรีย์
– เชื้อเพลิงซากดึกดําบรรพ์และผลิตภัณฑ์
– สารชีวโมเลกุล

รายละเอียดเพิ่มเติม : คลิกที่นี่

อ้างอิงข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีbrightupcenter.com

บทความที่น่าสนใจ