จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกาศเกณฑ์การคัดเลือกในระบบ admission ประจำปีการศึกษา 2560 ออกมาแล้ว ซึ่งเปิดรับจำนวนทั้งหมด 1,761 คน โดยจำนวนนี้ยังไม่ได้รวมจำนวนผู้สละสิทธิ์จากรอบรับตรง ที่จะมารับเพิ่มในรอบ admission ด้วย มีรายละเอียดดังนี้
ดูไว้เลย!! เกณฑ์การ admission จุฬาฯ
เกณฑ์การรับสมัครคัดเลือกแต่ละคณะ/สาขาวิชา
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม : www.admissions.chula.ac.th
** หมายเหตุ
- GPAX ให้ค่าน้ำหนัก 20% ทุกคณะ/สาวิชา
- O-NET ให้ค่าน้ำหนัก 30% ทุกคณะ/สาขาวิชา โดยกำหนดให้วิชาภาษาไทย วิชาสังคมศึกษา วิชาภาษาอังกฤษ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ ให้ค่าน้ำหนักวิชาละ 6%
- คณะเภสัชศาสตร์ (รหัส 0002-0003) ผู้สมัครต้องมีคะแนนสอบ O-NET วิชา 01-05 แต่ละวิชาไม่น้อยกว่าร้อยละ 30
- คณะสัตวแพทยศาสตร์ (รหัส 0004) ผู้สมัครต้องมีคะแนนสอบ O-NET วิชา 03-05 แต่ละวิชาไม่น้อยกว่าร้อยละ 25
- คณะวิทยาศาสตร์ (รหัส 0010-0026) ผู้สมัครต้องมีคะแนนสอบ O-NET วิชา 01-05 แต่ละวิชาไม่น้อยกว่าร้อยละ 30
- คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (รหัส 0035-0039) ผู้สมัครต้องมีคะแนนสอบ O-NET วิชา 01-05 แต่ละวิชาไม่น้อยกว่าร้อยละ 30
- คณะ/สาขาวิชาที่ไม่ได้ระบุคะแนนรวมต่ำสุด (%) เนื่องจากเป็นคณะ/สาขาวิชาที่เปิดรับนักศึกษาเป็นปีแรก หรือมีการปรับเปลี่ยนชื่อคณะ/สาขาวิชาไปจากเดิม หรือไม่มีผู้สมัคร/ผู้ผ่านการคัดเลือก ในปีการศึกษา 2559 ที่ผ่านมา
- โปรดตรวจสอบข้อมูลอย่างเป็นทางการจากระเบียบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีการศึกษา 2560 ของสมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทยอีกครั้ง
โปรแกรมคำนวณคะแนน (เพื่อช่วยในการตัดสินใจ) : คลิกเลย
————————————-
คำถามที่มักจะพบบ่อย
คำถาม : เปิดรับสมัครโครงการคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาตรี โดยวิธีรับตรง (แบบปกติ) ปีการศึกษา 2560 เมื่อใด
คำตอบ : รับสมัครทางระบบออนไลน์ที่ www.atc.chula.ac.th ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม เวลา 08.00 น. – วันที่ 15 มีนาคม 2560 เวลา 16.00 น.
คำถาม : การทักท้วง หมายความว่าอย่างไร
คำตอบ: ผู้สมัครสงสัยมีข้อผิดพลาดอันเกิดจากศูนย์ทดสอบฯ หรือจากระบบการรับสมัคร หากเป็นความผิดพลาดของผู้สมัคร ศูนย์ทดสอบฯ จะไม่พิจารณา
คำถาม : กรณีที่มารายงานตัวเป็นผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในโครงการรับตรง (แบบพิเศษ) แล้วสามารถสมัครโครงการรับตรง (แบบปกติ)ได้หรือไม่
คำตอบ : ไม่ได้ เพราะจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะนำรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกและยืนยันสิทธิ์ในโครงการรับตรง (แบบพิเศษ) แล้วไปตัดสิทธิ์ในโครงการรับตรง (แบบปกติ)
คำถาม : การอัพโหลดไฟล์รูปภาพและรูปบัตรประจำตัวประชาชนใช้ไฟล์แบบใด
คำตอบ : รูปภาพเป็นไฟล์ JPG โดยมีขนาดกว้าง 475 Pixel สูง 600 Pixel ขนาดไฟล์ประมาณ 100-200 KB และบัตรประจำตัวประชาชนเป็นไฟล์ JPG โดยมีขนาดกว้าง 600 Pixel สูง 388 Pixel ขนาดไฟล์ประมาณ 100-200 KB
คำถาม : ผู้สมัครสามารถชำระเงินค่าสมัครได้ช่องทางใดบ้างและสามารถชำระเงินภายในเวลาใดบ้าง
คำตอบ : ผู้สมัครชำระเงินผ่านทางเคาน์เตอร์ธนาคารเท่านั้น โดยสามารถชำระได้ทั้งหมด 4 ธนาคาร คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารทหารไทย นำใบชำระเงินไปยื่นกับทางเคาน์เตอร์ธนาคาร เพื่อทำการชำระเงินภายใน วันที่ 15 มีนาคม 2560 ตามเวลาทำการธนาคาร
คำถาม : GPAX ระบุเลขทศนิยมกี่ตำแหน่ง
คำตอบ : ทศนิยม 2 ตำแหน่งเท่านั้น เช่น 3.XX
คำถาม : นักเรียนเรียนนอกระบบโรงเรียนไทยมีสิทธิ์สมัครหรือไม่
คำตอบ : สามารถสมัครได้โดยขอเทียบโอนผลการเรียนจากกระทรวงศึกษาธิการดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ http://bet.obec.go.th/
คำถาม : การตรวจสอบสถานะการชำระเงินสามารถตรวจได้เมื่อใด
คำตอบ : หลังจากการชำระเงิน 1- 2 วันทำการ
คำถาม : คุณสมบัติของคณะวิทยาศาสตร์ที่ระบุว่า “เป็นผู้ที่มีผลการเรียนเฉลี่ยวิชาเคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ และคณิตศาสตร์ ในชั้น ม.4-ม.6 (ภาคต้น) รวม 5 ภาคการศึกษา ไม่ต่ำกว่า 3.25 ”หมายความว่าอย่างไร
คำตอบ : ต้องมีผลการเรียน วิชาเคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ และคณิตศาสตร์ รวมกัน ภาคเรียนต้นรวม 5 ภาคการศึกษา ไม่ต่ำกว่า 3.25
คำถาม : ผู้สมัครกรอกข้อมูลในการสมัครผิด ต้องทำอย่างไร
คำตอบ : จะต้องสมัครและชำระเงินใหม่ภายในวันที่ 15 มีนาคม 2560 ตามเวลาทำการธนาคาร
คำถาม : ผู้สมัครกรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชนผิดต้องทำอย่างไร
คำตอบ : จะต้องสมัครและชำระเงินใหม่ภายในวันที่ 15 มีนาคม 2560 ตามเวลาทำการธนาคาร
คำถาม : หากสมัครและชำระเงินหลายครั้งจะมีผล อย่างไร
คำตอบ : ศูนย์ทดสอบฯ จะยึดข้อมูลการชำระเงินครั้งสุดท้ายในการประมวลผลและจะไม่คืนค่าธรรมเนียมการสมัครไม่ว่ากรณีใดๆ
คำถาม : สำหรับผู้สมัครที่ไปศึกษาในโครงการแลกเปลี่ยน ณ ต่างประเทศในช่วงเวลาหนึ่ง มีผลการเรียนไม่ครบตามที่กำหนด ต้องทำอย่างไร
คำตอบ : ให้คำนวณเฉพาะภาคการศึกษาที่ได้ศึกษาในประเทศไทย ทั้งนี้ต้องยื่นเอกสารแสดงการไปศึกษาต่างประเทศ พร้อมหนังสือรับรองจากโรงเรียนในวันสอบสัมภาษณ์ด้วย (ฉบับจริงพร้อมสำเนาและลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง)
คำถาม : การคิดคะแนนโครงการรับตรง (แบบปกติ) มีวิธีคิดอย่างไร
คำตอบ : สูตรการคำนวณคะแนน ฐานคะแนน 30,000 คะแนน มีวิธีคิดดังนี้
- คะแนน GAT/PAT คะแนนเต็ม 300 คะแนน คำนวณโดยคะแนนที่ได้ x นํ้าหนัก (%)
- คะแนน 9 วิชาสามัญ คะแนนเต็ม 100 คะแนน คำนวณโดยคะแนนที่ได้ x 3 x นํ้าหนัก (%) เช่น จฬ008 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม วิชา PAT74 240*40 = 9,600 คะแนน วิชา ภาษาอังกฤษ 85*3*20 = 5,100 คะแนน วิชา คณิตศาสตร์ 1 80*3*20 = 4,800 คะแนน วิชาฟิสิกส์ 70*3*20 = 4,200 คะแนน รวมคะแนนที่ได้ 9,600 + 5,100 + 4,800 + 4,200 = 23,700 คะแนน เป็นต้น
————————————-
สามารถดูขั้นตอนการสมัครเพิ่มเติมได้ที่ : https://admission3.atc.chula.ac.th/Default.aspx