หลายคนอาจจะมองว่าการเรียนภาพยนตร์จบออกไปต้องทำหนังเป็นผู้กำกับเพียงอย่างเดียว ในความเป็นจริงสามารถแตกสาขาอาชีพไปได้เยอะกว่านั้น ยกตัวอย่าง อาชีพ Colorist เป็นอาชีพที่กำลังมาแรง และเป็นที่ต้องการของตลาดมาก ๆ แถมมีค่าตอบแทนที่ค่อนข้างสูง เป็นอีกอาชีพที่น่าสนใจมากสำหรับคนที่เรียนสายนี้แต่อยากมองหาอย่างอื่นที่นอกเหนือจากผู้กำกับ เป็นอีกสาขาที่สามารถเรียนไปด้วย รับงานตรงนี้ไปด้วยก็ได้
ยิ่งในปัจจุบันมีวิวัฒนาการที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น มีทั้งเครื่องไม้เครื่องมือ โปรแกรมต่าง ๆ ที่จะมาช่วยซัพพอร์ตให้ทำงานได้ดีและรวดเร็ว เพียงแต่ว่าต้องมีการเรียนรู้ และการใช้งานจริงเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญกันก่อน วันนี้เราจะมาแนะนำน้อง ๆ กันค่ะว่า ถ้าจะเป็น Colorist (ศิลปินแก้สีภาพ) ต้องเรียนอะไร มีขั้นตอนการทำงานอย่างไร และค่าเทอมในการเรียนต้องจ่ายเท่าไรบ้าง?
ถ้าจะเป็น Colorist เรียนอะไร ค่าเทอมเท่าไร ?
ถ้ารู้ตัวเองว่า เป็นคนที่มีใจรักในงานภาพยนตร์ ชอบทำงาน และเรียนรู้ ทั้งด้านศิลปะและเทคโนโลยี ขอแนะนำหนึ่งอาชีพที่น่าสนใจ และอาจจะเหมาะกับคุณ นั่นก็คืออาชีพ Colorist
Colorist คืออะไร ?
คัลเลอร์ลิสต์ (Colorist) คือผู้ปรับแต่งสี (Color Grading) และแก้สีภาพ (Color Correction) ในงานภาพยนตร์ และงานโฆษณา ให้ออกมาตรงตามคอนเซปท์ โดยหน้าที่นี้จะเป็นขั้นตอนเกือบจะสุดท้ายของการทำภาพยนตร์โฆษณา โดยงานภาพยนตร์โฆษณาต่าง ๆ ที่เราได้เห็นกันตามสื่อต่าง ๆ นั้น เป็นอันว่าจะต้องผ่านมือของนัก Colorist ก่อนเสมอ ทั้งนี้ถือเป็นขั้นตอนสำคัญมาก ๆ ขั้นตอนหนึ่งเลย เพราะสีถือเป็นภาษาหนึ่งในการเล่าเรื่องภาพผลงานออกไปให้คนดูรู้สึกร่วมได้ ดังนั้นแล้วจึงต้องมีการปรับสีภาพให้เป็นไปในตามคอนเซปท์ของชิ้นงานที่ต้องการสื่อออกไปนั่นเองค่ะ
ขั้นตอนการทำงานโดยสรุป
เมื่อนักตัดต่อ (Editor) ตัดต่อชิ้นงานเสร็จ ก็จะส่งโปรเจ็คที่ตัดต่อไปทำเสียง จากนั้นจะส่งชิ้นงานไปยัง คนทำสีภาพ (Colorist) เพื่อให้มาทำการแก้ไขและปรับแต่งสีให้ได้เฉดสีของภาพตามเนื้อหาของภาพยนตร์ ปกติคนทำสีภาพจะเริ่มต้นจากการสร้าง “look” ของภาพโดยรวมสำหรับแต่ละฉาก โดยเริ่มจากช็อตกว้าง เมื่อลูกค้าเห็นด้วยกับทิศทาง Mood และ Tone ของภาพ นักทำสีภาพจะทำการปรับสีในช็อตถัดไปให้ต่อเนื่องและเป็นทิศทางเดียวกัน
หลังจากผ่านการทำครั้งแรกแล้วทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะตรวจสอบงานทั้งหมดก่อนที่จะกลับไปปรับแต่งรายละเอียดที่ประณีต ทั้งนี้นักทำสีภาพจะต้องทำงานร่วมกับผู้กำกับภาพยนตร์ โปรดิวเซอร์ และผู้กำกับภาพด้วย ซึ่งพอทำสีและเสียงเสร็จก็จะเอากลับมารวมกันตอนสุดท้ายอีกครั้ง นั่นก็จะถือว่าเป็นการจบงาน
หัวใจหลัก สิ่งที่นัก Colorist ต้องรู้
- ต้องมีความรู้เรื่องศิลปะภาพยนตร์ และเทคโนโลยีการผลิตภาพยนตร์
- สามารถอ่านค่าจาก Vectorscope and Waveform Monitor ได้ เพราะตาเปล่าไม่สามารถมองเห็นค่าสีที่ถูกต้องเป๊ะๆ สีที่ใช้ก็จะได้ไม่ผิดเพี้ยน
- รู้ความหมายของสีต่าง ๆ เพราะทางจิตวิทยานั้นเชื่อว่าสีมีความสัมพันธ์กับร่างกาย จิตใจ อารมณ์ของเราทุกคน ดังนั้นจึงจำเป็นที่ คนทำสีภาพ (Colorist) ก็จะต้องเข้าใจด้วยว่า ความรู้สึกต่าง ๆ ควรจะเลือกใช้สีอะไร เช่น สีส้ม เป็นสีแห่งความเบิกบาน อบอุ่น สดใส เรียกพลังความกระตือรือร้น เป็นต้น
- อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญคือ ต้องรู้และเข้าใจกระบวนการทำเป็นอย่างดี เนื่องจากต้องทำผลงานออกมาในเชิงศิลปะบนเครื่องมือและระบบที่มีราคาสูง
- นอกจากนี้ควรต้องมีความรู้ด้านธุรกิจภาพยนตร์ ธุรกิจสื่อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรู้ที่มาที่ไปและสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างเข้าใจและถูกต้อง
เรียนไปด้วย ทำงานมีรายได้เสริมไปด้วย
งานของ คัลเลอร์ลิสต์ (Colorist) ถือเป็นงานที่มีรายได้ดี จะได้มากระดับไหนขึ้นอยู่กับลักษณะงาน ไล่ไปตั้งแต่งานคลิปวีดิโอ, งาน MV, งานภาพยนตร์ หรืองานภาพยนตร์โฆษณา สำหรับนักศึกษาที่ต้องการหารายได้เสริม และประสบการณ์ สามารถเรียนไปด้วยทำงานไปด้วยได้ แต่ก่อนที่จะได้มาซึ่งรายได้นั้นก็ต้องมีการสั่งสมประสบการณ์กันเสียก่อน เรียนรู้ขั้นตอนการทำงานในตอนเรียน โดยสามารถเริ่มทำไปได้เรื่อย ๆ จากตำแหน่งผู้ช่วยที่เรียกว่า Assistant Colorist หรือ Coloring Assistant ไปเป็น Junior Colorist จนมีผลงานเป็นที่ประจักษ์และเป็นที่ไว้วางใจกับบริษัทอุตสาหกรรมข้างนอก จึงจะได้เป็น Colorist
หรือคนทำสีภาพ ซึ่งในช่วงแรก ๆ อาจจะต้องทำงานหนักบ้าง แต่เมื่อเริ่มมีผลงานออกมาให้เห็น มีประสบการณ์มากขึ้น ความเชี่ยวชาญมากขึ้น พิสูจน์ตัวเองให้เห็นได้ด้วยผลงานแล้ว ก็จะได้รับค่าตอบแทนที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ มีนักศึกษาที่เรียนไปด้วย รับงานตรงนี้ไปด้วย รายได้ต่อชิ้นได้ถึงสองหมื่นเลยก็มี
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ สอนให้เป็น Colorist
สำหรับคนที่สนใจอยากทำอาชีพ คนทำสีภาพ (Colorist) ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพมีการเรียนการสอนในคณะดิจิทัลมีเดียและศิลปะภาพยนตร์ สาขาภาพยนตร์ น้อง ๆ ที่เข้าไปศึกษาที่นี่จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับกลุ่มการผลิตภาพยนตร์ (Film Production) ได้เรียนวิชา การปรับสีในภาพยนตร์ (Color Grading) วิชาปฏิบัติการกระบวนการหลังการผลิต (Post Production Workshop) รวมถึงวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
โดยวิธีการสอน เน้นให้ลงมือปฏิบัติจริงมากกว่าเรียนในห้องเรียน หมายความว่า นักศึกษาทุกคนจะได้เรียนมากกว่าในตำรา ได้ลงมือทำเอง เป็นการเรียนที่ได้ทำงานไปด้วยจริง ๆ สำหรับคนที่จะรับงานทางมหาลัยก็สนับสนุนเป็นอย่างดี มีทั้งคอนเนคชั่นให้นักศึกษา ทั้งจากรุ่นพี่ที่จบออกไปและทำงานอยู่ในสายนี้ จากบริษัทชื่อดังต่าง ๆ ที่ทางมหาลัยเป็นพันธมิตร โดยสิ่งที่นักศึกษาต้องคำนึงคือ แบ่งเวลาให้เหมาะสมสามารถจัดตารางการทำงานข้างนอกและการเรียนให้สมดุลได้
เครื่องมือที่ทันสมัย พร้อมซัพพอร์ตนักศึกษาให้ทำงานเป็นระดับมือโปร
ค่าเทอมเท่าไร?
หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต คณะดิจิทัลมีเดียและศิลปะภาพยนตร์ มีค่าเล่าเรียนโดยประมาณ 361,980 บาท การเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติจริงด้วยห้องปฏิบัติการและอุปกรณ์ทันสมัยมาตรฐานสากล และมีการผนึกความร่วมมือกับหน่วยงานชั้นนำระดับประเทศ เพื่อให้นักศึกษาได้ทำงานร่วมกับบริษัทชั้นนำ อย่าลืมนะคะ ถ้ารู้ตัวเองว่าเป็นคนที่มีใจรักในงานภาพยนตร์ ชอบทำงานและเรียนรู้ทั้งด้านศิลปะและเทคโนโลยี คุณอาจจะเหมาะกับอาชีพนี้ Colorist
รายละเอียดเพิ่มเติม >> https://www.bu.ac.th/th/digital-media