อย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า เมื่อโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา และเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์มากยิ่งขึ้น ทั้งด้านการทำงาน การเรียน และการติดต่อสื่อสาร ดังนั้นย่อมส่งผลต่อความต้องการแรงงานในตลาดแรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ตามไปด้วยในอนาคต
10 กลุ่มอาชีพ ที่ตลาดแรงงานต้องการ ปี 2020
โดย นายอดิทัต วะสีนนท์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ได้เปิดเผยข้อมูลว่า เกี่ยวกับการศึกษาโครงการเตรียมศักยภาพแรงงานในภาคอุตสาหกรรม เพื่อรองรับอุตสาหกรรม 4.0 พบว่า ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีความต้องการแรงงานตั้งแต่ปี 2562 – 2567 มีปริมาณจำนวนรวมทั้งสิ้นกว่า 2.24 ล้านคน
ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น ปี 2563 มีความต้องการแรงงานจำนวน 351,957 ราย และตั้งแต่ช่วงปี 2563-2567 มีความต้องการแรงงาน 1.75 ล้านคน และนี่ก็คือ 10 อุตสาหกรรมที่มีความต้องการของจำนวนแรงงาน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
มีความต้องการแรงงานรวมทั้งสิ้น 241,243 ราย โดยสามารถแบ่งออกเป็น
- ระดับการศึกษาต่ำกว่าชั้น ม.6 จำนวน 61,469 ราย
- เรียนจบด้านวิชาชีพ จำนวน 29,576 ราย
- ระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี) จำนวน 150,198 ราย
2. อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่
มีความต้องการแรงงานรวมทั้งสิ้น 235,711 ราย โดยสามารถแบ่งออกเป็น
- ระดับการศึกษาต่ำกว่าชั้น ม.6 จำนวน 63,404 ราย
- เรียนจบด้านวิชาชีพ จำนวน 115,498 ราย
- ระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี) จำนวน 56,807 ราย
3. อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป
มีความต้องการแรงงานรวมทั้งสิ้น 236,394 ราย โดยสามารถแบ่งออกเป็น
- ระดับการศึกษาต่ำกว่าชั้น ม.6 จำนวน 97,867 ราย
- เรียนจบด้านวิชาชีพ จำนวน 69,736 ราย
- ระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี) จำนวน 68,791 ราย
4. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
มีความต้องการแรงงานรวมทั้งสิ้น 228,442 ราย โดยสามารถแบ่งออกเป็น
- ระดับการศึกษาต่ำกว่าชั้น ม.6 จำนวน 18,275 ราย
- เรียนจบด้านวิชาชีพ จำนวน 125,643 ราย
- ระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี) จำนวน 84,524 ราย
5. อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
มีความต้องการแรงงานรวมทั้งสิ้น 228,239 ราย โดยสามารถแบ่งออกเป็น
- ระดับการศึกษาต่ำกว่าชั้น ม.6 จำนวน 209,752 ราย
- เรียนจบด้านวิชาชีพ จำนวน 8,673 ราย
- ระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี) จำนวน 9,814 ราย
6. อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร
มีความต้องการแรงงานรวมทั้งสิ้น 221,446 ราย โดยสามารถแบ่งออกเป็น
- ระดับการศึกษาต่ำกว่าชั้น ม.6 จำนวน 17,715 ราย
- เรียนจบด้านวิชาชีพ จำนวน 66,434 ราย
- ระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี) จำนวน 137,297 ราย
7. อุตสาหกรรมดิจิทัล
มีความต้องการแรงงานรวมทั้งสิ้น 217,368 ราย โดยสามารถแบ่งออกเป็น
- ระดับการศึกษาต่ำกว่าชั้น ม.6 จำนวน 17,389 ราย
- เรียนจบด้านวิชาชีพ จำนวน 54,342 ราย
- ระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี) จำนวน 145,637 ราย
8. อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ
มีความต้องการแรงงานรวมทั้งสิ้น 215,751 ราย โดยสามารถแบ่งออกเป็น
- ระดับการศึกษาต่ำกว่าชั้น ม.6 จำนวน 51,996 ราย
- เรียนจบด้านวิชาชีพ จำนวน 73,787 ราย
- ระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี) จำนวน 89,968 ราย
9. อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์
มีความต้องการแรงงานรวมทั้งสิ้น 213,486 ราย โดยสามารถแบ่งออกเป็น
- ระดับการศึกษาต่ำกว่าชั้น ม.6 จำนวน 17,079 ราย
- เรียนจบด้านวิชาชีพ จำนวน 117,418 ราย
- ระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี) จำนวน 78,990 ราย
10. อุตสาหกรรมหุ่นยนต์
มีความต้องการแรงงานรวมทั้งสิ้น 211,501 ราย โดยสามารถแบ่งออกเป็น
- เรียนจบด้านวิชาชีพ จำนวน 74,025 ราย
- ระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี) จำนวน 137,475 ราย
อ้างอิงข้อมูลจาก : https://prachatai.com, www.admissionpremium.com, https://mgronline.com