นักศึกษาแลกเปลี่ยน ประวัติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ สาขาใหม่

เจาะหลักสูตรสุดปัง ! การเรียนแบบ Area Studies (อาณาบริเวณศึกษา) เรียนรู้รอบด้าน

Home / วาไรตี้ / เจาะหลักสูตรสุดปัง ! การเรียนแบบ Area Studies (อาณาบริเวณศึกษา) เรียนรู้รอบด้าน

เคยสงสัยหรือไม่ว่า การจะเป็นผู้รอบรู้และเชี่ยวชาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ต้องทำความเข้าใจและเรียนรู้ในสิ่งนั้นมากแค่ไหน การเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับ “ประเทศ” สักประเทศหนึ่ง ก็เป็นอีกหนึ่งความเชี่ยวชาญที่น่าสนใจศึกษาไม่แพ้กัน โดยเฉพาะในปัจจุบันที่โลกเชื่อมโยงถึงกันทั้งหมด ทุกประเทศต่างก็ต้องติดต่อสัมพันธ์กันในทุกมิติ การมีความเข้าใจในประเทศต่างๆ ที่ลึกซึ้ง และรอบด้าน จะเป็นการเพิ่มโอกาสในการติดต่อสัมพันธ์ในด้านต่างๆ ให้เป็นไปอย่างราบรื่น

การเรียนแบบ Area Studies

แล้วการที่จะเรียนรู้ประเทศใดประเทศหนึ่งอย่างลึกซึ้งและรอบด้าน ต้องรู้เรื่องอะไรบ้าง? การเรียนแบบ “Area Studies” หรือที่ในภาษาไทยเรียกว่า “อาณาบริเวณศึกษา” เป็นสิ่งที่จะตอบโจทย์การเป็นผู้เชี่ยวชาญในแต่ละประเทศได้เป็นอย่างดี

ตัวอย่างของการศึกษาแบบ Area Studies มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ขณะนั้นสหรัฐอเมริกาต้องการรู้จักประเทศอื่นๆ ที่ไม่ใช่ตะวันตกให้มากขึ้น จึงมีการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนแบบ Area Studies ด้วยเป้าหมายหลักทางการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ซึ่งศาสตร์ดังกล่าวก็ได้ขยับขยายไปสู่ประเทศอื่นๆ ในเวลาต่อมา เรียกได้ว่าสาขา Area Studies ก็คือการเรียนรู้เพื่อทำความรู้จักประเทศใดประเทศหนึ่งอย่างลึกซึ้งและรอบด้าน หรือการศึกษาแบบสหวิทยาการ พูดง่ายๆ ก็คือศึกษาในทุกๆ ด้าน แต่ละแง่มุมที่จะได้ศึกษาในสาขา Area Studies จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

1.ประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์

การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของประเทศนั้นๆ ทำให้รู้จักภูมิหลังของประเทศว่า เผชิญกับเหตุการณ์อะไรมาบ้าง มีความภาคภูมิใจ หรือความหวาดระแวงในเรื่องอะไร การศึกษาประวัติศาสตร์ทำให้เราเข้าใจปัจจุบันของประเทศนั้นๆ มากขึ้น และทำให้รู้ว่าการปฏิสัมพันธ์กับประเทศนั้นๆ ควรดำเนินไปอย่างไรให้ถูกทาง และไม่ซ้ำรอยความเจ็บปวดที่เคยเกิดขึ้นในอดีต

2.การเมืองการปกครอง

การเมืองการปกครอง

หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า “การเมืองคือเรื่องของผลประโยชน์” ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่อาจปฏิเสธได้ แต่ละประเทศย่อมมีเรื่องของผลประโยชน์แห่งชาติเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมือง หากเราเรียนรู้ และเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของประเทศนั้นๆ รูปแบบทางการเมือง การบริหารและจัดสรรนโยบายต่างๆ ก็จะทำให้รู้ถึงความต้องการที่แท้จริง และประสานผลประโยชน์ระหว่างประเทศได้อย่างราบรื่น

3.เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน

เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน

จากการศึกษาการเมืองการปกครองที่ทำให้เรารู้ถึงผลประโยชน์แห่งชาติแล้ว เมื่อศึกษาลงรายละเอียดต่อไป จะพบว่าผลประโยชน์แห่งชาติส่วนใหญ่เป็นเรื่องของเศรษฐกิจ และการบริหารจัดการทรัพยากรของประเทศ การทำความเข้าใจถึงทรัพยากรที่แต่ละประเทศมีอยู่ และความต้องการทรัพยากร จะนำมาสู่การค้า การลงทุนที่ตอบโจทย์ความต้องการประเทศนั้นๆ อย่างแท้จริง และนำพาเม็ดเงินอันมหาศาลให้กับประเทศได้

4.ภาษาที่สาม

ภาษาที่สาม

การเรียนแบบ Area Studies แน่นอนว่าภาษาเป็นสิ่งที่สำคัญมาก โดยเฉพาะภาษาของประเทศที่ศึกษา เพราะการจะทำความเข้าใจประเทศใดประเทศหนึ่งอย่างลึกซึ้ง ก็ควรที่จะเข้าใจภาษาและวัฒนธรรมของประเทศนั้น ยกตัวอย่างเช่น หากต้องการทำความเข้าใจประเทศจีน แต่ไม่สามารถอ่านภาษาจีนได้ การเรียนรู้จีนก็จะมาจากการอ่านหนังสือภาษาอังกฤษ ซึ่งอาจเป็นการเรียนรู้ที่ถูกมุมมองตะวันตกครอบงำก็เป็นได้

หากสามารถอ่าน เขียนภาษาของประเทศที่ศึกษาได้ ก็จะสามารถทำความเข้าใจแง่มุมต่างๆ จากประเทศนั้นได้โดยตรง

5.การสื่อสารทางวัฒนธรรม

การสื่อสารทางวัฒนธรรม

นอกจากความสามารถทางด้านภาษาที่จะทำให้เข้าใจประเทศนั้นๆ ได้มากขึ้นแล้ว วัฒนธรรมก็เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งในการเข้าถึงประเทศต่างๆ แต่ละประเทศต่างก็มีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองให้ศึกษา แต่สิ่งที่มากไปกว่าการรู้และเข้าใจวัฒนธรรม ก็คือความสามารถในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม เพื่อเชื่อมโยงความแตกต่างหลากหลายเข้าด้วยกัน นำมาซึ่งความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศอย่างรอบด้าน

เข้าใจแง่มุมต่างๆ ของ Area Studies

เมื่อมีความเข้าใจแง่มุมต่างๆ ของ Area Studies แต่ละพื้นที่อย่างรอบด้าน ก็เหมือนเป็นการเปิดโลกทัศน์ให้เรามองเห็นโอกาสใหม่ๆ และสามารถนำเอาความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ในหลากหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นด้านการใช้ภาษา การสื่อสารทางวัฒนธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือการทำธุรกิจข้ามชาติ เป็นต้น

หากถามว่าจบไปทำงานอะไรได้บ้าง?

คำตอบก็คือทำได้หลากหลายอาชีพมากๆ เช่น ผู้ประสานงานด้านธุรกิจ (Business Coordinator) นักการตลาด (Marketer) เจ้าของธุรกิจ (Business Owner) ครู-อาจารย์ (Instructor-Teacher) นักเขียน-นักแปล-ล่าม (Writer-Translator-Interpreter) ผู้สื่อข่าว (Correspondent) นักประชาสัมพันธ์ (PR Specialist) เจ้าหน้าที่ในองค์การระหว่างประเทศ เจ้าหน้าที่ต้อนรับบนเครื่องบิน (Cabin Crew) ฯลฯ

Area Studies กำลังจะเป็นเทรนด์สาขาการเรียนใหม่ที่อนาคตกว้างไกล แน่นอนว่าในมหาวิทยาลัยทั่วโลกมีการเปิดสอนสาขา Area Studies แล้ว และได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

สำหรับในประเทศไทยเองก็มีการเปิดสอนสาขา Area Studies ที่วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Pridi Banomyong International College: PBIC) โดยเปิดสอนด้วยกันทั้งหมด 3 หลักสูตร ได้แก่ จีนศึกษา อินเดียศึกษา และไทยศึกษา โดยมีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากเจ้าของประเทศมาร่วมสอนกันแบบเข้มข้นในทุกมิติ

อีกทั้งเปิดโอกาสให้นักศึกษาทำความเข้าใจ Area Studies อย่างลึกซึ้ง ด้วยการไปศึกษาแลกเปลี่ยนถึงประเทศที่เลือกเรียนในแต่ละหลักสูตร เพื่อเรียนรู้และซึมซับแง่มุมต่างๆ ด้วยตัวเอง

หลักสูตรที่ PBIC Thammasat

นอกจากนี้การเรียนการสอนของหลักสูตรทุกหลักสูตรที่ PBIC Thammasat จะใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก โดยคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงทั้งชาวไทยและต่างประเทศ เพื่อให้นักศึกษาเกิดมุมมองทึ่ลึกซึ้งและหลากหลาย ทั้งนี้ เนื่องจาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรไทยศึกษามาแล้วไม่น้อยกว่า 20 ปี ดังนั้นในแต่ละปี ที่ PBIC Thammasat จึงมีนักศึกษาแลกเปลี่ยนที่เป็นชาวต่างชาติเข้ามาร่วมชั้นเรียน เป็นจำนวนกว่าร้อยคน ซึ่งนอกจากคณาจารย์ที่มีความเป็นนานาชาติสูงแล้ว

บรรยากาศการเรียนการสอนในชั้นเรียน ก็เป็นการเรียนการสอนที่มีเพื่อนร่วมชั้นมาจากทั่วโลกด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุผลนี้ นักศึกษาชาวไทยจะได้รับประโยชน์จากบรรยากาศความเป็นนานาชาติ และมีความเข้มแข็งทางวิชาการ เพราะเพื่อนร่วมชั้นเรียนต่างก็มีความกระตือรือร้นในการเรียนจึงมีส่วนอย่างยิ่ง ที่จะทำให้นักศึกษาสร้างทัศนคติแบบสากลนิยม (Global Mindset) ร่วมกันอย่างลงตัวกับความเป็นไทยนิยมด้วยเช่นกัน

บทความแนะนำ