Food Science วิทยาศาสตร์อาหาร

รู้จัก Food Science เรียนเกี่ยวกับอะไร ? จบมาทำงานอะไรได้บ้าง

Home / วาไรตี้ / รู้จัก Food Science เรียนเกี่ยวกับอะไร ? จบมาทำงานอะไรได้บ้าง

ใครที่ชอบทำอาหาร เลยตั้งใจมาเรียน Food Science แนะนำให้ทำความเข้าใจใหม่ก่อน เพราะ Food Science ไม่ได้เรียนทำอาหารนะ แต่เรียนเรื่องกระบวนการผลิตอาหาร ไม่ได้เข้าครัวแน่นอน แต่ได้เข้าห้องแลปแทน วันนี้เราก็เลยมีข้อมูลเกี่ยวกับ Food Science เรียนเกี่ยวกับอะไร จบมาทำงานอะไรได้บ้าง

Food Science เรียนเกี่ยวกับอะไร

Food Science หรือวิทยาศาสตร์อาหาร เป็นสาขาวิชาที่เปิดสอนอยู่ในมหาวิทยาลัย ตามคณะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเช่น คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ , คณะอุตสาหกรรมเกษตร ม.เกษตร และ ม.เชียงใหม่ , คณะเทคโนโลยี ม.ขอนแก่น เป็นต้น หรือบางแห่งก็เปิดเป็น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร (Food Science and Technology) โดยเฉพาะ ซึ่งสาขาวิชา หรือคณะ Food Science นั้นจะเน้นเรียนการแปรรูป และการผลิตอาหารในเชิงอุตสาหกรรม ไม่ได้เรียนทำอาหาร

Food Science เรียนเกี่ยวกับอะไร

Food Science เรียนยากไหม

ความยากง่าย คงต้องเจอกันทุกคณะ ลองมาดูวิชาหลักที่ต้องเรียนกันดีกว่า ถ้าเป็นคนที่ถนัดวิชาชีวะ หรือเคมี ก็คงจะเรียน Food Science ได้แน่นอน สาขาวิชานี้มีวิชาเรียนที่เป็นการคำนวณน้อยมาก ส่วนมากจะเป็นวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ที่เด็กสายวิทย์จะต้องเรียนช่วงปี 1 อยู่แล้วอย่าง เคมี ฟิสิกส์ ชีวะ คณิตศาสตร์ แคลคูลัส แต่พอขึ้นปี 2 ก็จะเป็นวิชาเรียนเฉพาะสาขา เจาะลึกเรื่องวิทยาศาสตร์ของอาหารโดยเฉพาะ เช่น

  • โครงสร้างทางเคมีของอาหารแต่ละชนิด และปฏิกิริยาต่างๆที่เกิดขึ้น ว่าส่งผลให้อาหารเปลี่ยนแปลงไปยังไงบ้าง
  • เชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่ในอาหาร เชื้อเหล่านั้นทำให้อาหารดีหรือเสียได้ยังไง
  • มาตรฐานการผลิต และกฏหมายอาหาร
  • วิธีการจัดการให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

นี่เป็นแค่ตัวอย่างวิชาเรียนบางส่วนเท่านั้น และแน่นอนว่าจนจบปีสี่ในตารางเรียนก็ยังไม่มีวิชาปรุงอาหาร ดังนั้นใครที่กังวลว่าทำอาหารไม่เป็นจะเรียน ได้ไหม ก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะถึงทำอาหารเป็น ก็เรียน Food Science ได้

เรียนจบแล้ว ทำงานอะไร

หลังจากเรียนจบแล้วงานที่เลือกทำได้ก็มีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น

นักวิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์ (R&D) คิดสูตรอาหารใหม่ๆ และต้องออกแบบตั้งแต่วัตถุดิบ ขั้นตอนการแปรรูป ภาชนะบรรจุที่ใช้ โดยทุกอย่างต้องตรวจสอบด้วยว่าถูกต้องตามกฏหมายอาหาร และหลังจากนั้นต้องทำการทดสอบชิม เพื่อให้มั่นใจว่าอาหารของเราจะขายได้แน่นอน

– นักวิทยาศาสตร์อาหาร ที่คุมงานฝ่ายผลิต ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร ซึ่งก็มีหน้าที่ควบคุมการผลิตให้ได้ประสิทธิภาพ ตามแผนที่ R&D ได้คิดเอาไว้

ควบคุม/ประกันคุณภาพ (QC/QA) ของอาหารที่ผลิต ซึ่งหน้าที่นี้จะตรวจสอบทุกขั้นตอนของการผลิตเลย

ตรวจโรงงาน/ฝ่ายระบบคุณภาพ (QS) หน้าที่นี้คือการไปตรวจโรงงาน ที่ผลิตอาหารอีกที่ว่า โรงงานนั้นมีมาตรฐานในการผลิตหรือไม่ ซึ่งระบบมาตรฐานในการผลิตก็มีหลายระบบ เช่น GMP, HACCP, BRC, ISO, Halal

ทำงานกับฝ่ายจัดซื้อ เพื่อหาวัตถุดิบมาใช้ในการผลิตอาหาร

นักขายวัตถุดิบให้กับโรงงานผลิตอาหาร หรือขายอาหารให้แก่ร้านค้าต่างๆ

ที่มา : www.chulatutor.com , letterplanet.com

บทความแนะนำ