คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะศึกษาศาสตร์ นักกีฬา โควตา

วิทยาศาสตร์การกีฬา VS ศึกษาศาสตร์ สาขาพลศึกษา แตกต่างกันยังไง?

Home / วาไรตี้ / วิทยาศาสตร์การกีฬา VS ศึกษาศาสตร์ สาขาพลศึกษา แตกต่างกันยังไง?

สำหรับน้องๆ นักกีฬาที่ต้องเตรียมจะต้องสอบเข้ามหาวิทยาลัยด้วยการใช้โควตานักกีฬา แน่นอนว่าคณะที่เปิดรับโควตานั้นมีได้มีทุกคณะ และคณะยอดฮิตที่หลายคนนิยมเข้ากันคือ วิทยาศาสตร์การกีฬา กับศึกษาศาสตร์ สาขาพลศึกษา ว่าแต่ 2 คณะนี้ต่างกันยังไง ควรเลือกเรียนคณะไหนดี วันนี้เรามีคำตอบมาฝากกัน – วิทยาศาสตร์การกีฬา VS ศึกษาศาสตร์ สาขาพลศึกษา แตกต่างกันยังไง?

วิทยาศาสตร์การกีฬา VS ศึกษาศาสตร์ สาขาพลศึกษา

นอกจากสองคณะนี้จะมีชื่อคณะที่แตกต่างกัน ยังได้รับวุฒิการศึกษา และใช้เวลาเรียนที่ต่างกัน ถ้าเป็นวิทยาศาสตร์การกีฬาจะใช้เวลาเรียน 4 ปี และจะได้รับวุฒิวิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ.) แต่ศึกษาศาสตร์ สาขาพลศึกษาจะเรียนทั้งหมด 5 ปี ถึงบางที่จะลดเหลือ 4 ปี แล้วก็ตามในปีการศึกษา 2562 ที่จะปรับใช้นี้ วุฒิการศึกษาที่ได้จะเป็น การศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.)

ดังนั้นใบเบิกทางจากการประกอบอาชีพที่ได้จากวุฒิการศึกษาก็แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเจน เราลองมาทำความรู้จักแต่ละคณะกันดีกว่า ว่ามีจุดเด่นยังไง

วิทยาศาสตร์การกีฬา

จะได้เรียนเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพร่างกาย และจิตใจของนักกีฬาให้สามารถเล่นกีฬาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยประยุกต์ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ สรีรวิทยา กายวิภาคศาสตร์ จิตวิทยา สังคมวิทยา ชีวกลศาสตร์ โภชนาการ ศึกษาเกี่ยวกับระบบการทำงานของมนุษย์ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด และถ้าเรียนจบจะสามารถประกอบอาชีพได้ดังต่อไปนี้

  • โค้ชผู้ฝึกสอนกีฬา
  • นักกีฬา
  • นักวิทยาศาสตร์การกีฬา
  • นักเวชศาสตร์การกีฬา
  • นักโภชนาการกีฬา
  • เทรนเนอร์ฟิตเนส
  • นักจิตวิทยาการกีฬา
  • นักข่าวกีฬา
  • อาจารย์มหาวิทยาลัย

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ วิทยาศาสตร์การกีฬา เรียนจบไป ทำอะไรได้บ้าง ? เรียนไปเป็นครูพละ?

ศึกษาศาสตร์ สาขาพลศึกษา

ส่วนคณะนี้คือ คณะที่ตั้งใจสร้างครูสอนวิชาสุขศึกษา และพลศึกษาเป็นหลัก โดยหลักสูตรของแต่ละมหาวิทยาลัยอาจจะต่างกันมีทั้งแบบแยกเป็นครูพลศึกษา และครูสุขศึกษา แต่บางครั้งก็มีแบบรวมทั้งสุขศึกษา และพลศึกษา ซึ่งการเรียนคณะศึกษาศาสตร์ สาขาพลศึกษาจะมีวิชาที่ใกล้เคียงกับวิทยาศาสตร์การกีฬาอยู่เช่น สรีรวิทยา กายวิภาคศาสตร์ โภชนาการ แต่จะมีส่วนที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดในเรื่องของ วิชาเรียนที่เน้นจะเป็นพวกการสอน และวิชาที่เกี่ยวข้องกับการเป็นครูเป็นหลัก 

ดังนั้นคนที่จบสายนี้ก็ค่อนข้างมีข้อจำกัดว่าจะต้องประกอบอาชีพครูเป็นหลัก แต่อาชีพอื่นๆ ก็สามารถทำได้นะ ตามแต่โอกาสที่แต่ละคนจะหาได้เลย ไม่ได้จำกัดแค่ว่าจบมาต้องเป็นครูเท่านั้น

ที่มา : jobsdb.com , swu.ac.th

บทความแนะนำ