มธ.ศูนย์ลำปาง วิทยาการคอมพิวเตอร์ สายวิทย์-คณิต สายศิลป์-คำนวณ

เจาะลึก วิทย์คอมฯ มธ. – รีวิวบรรยากาศภายใน มธ.ศูนย์ลำปาง แบบครบรส

Home / วาไรตี้ / เจาะลึก วิทย์คอมฯ มธ. – รีวิวบรรยากาศภายใน มธ.ศูนย์ลำปาง แบบครบรส

“เชียงใหม่” และภาคเหนือตอนบนถือเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพสูง ในการลงทุนธุรกิจในประเทศไทย และเป็นอันดับหนึ่งในภาคเหนือ ด้วยจุดแข็งด้านโลเคชันภูมิศาสตร์เศรษฐกิจที่ดี การท่องเที่ยว และอื่น ๆ ที่หลายภาคส่วนผลักดันเป็น “Startup District” เมืองแห่งสตาร์ทอัพคอมมูนิตี้ ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล การเกษตร วัฒนธรรม ในพื้นที่เชียงใหม่ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และจุดประกายไอเดีย สู่การพัฒนาธุรกิจและนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ อีกทั้งดึงดูดให้คนรุ่นใหม่ในพื้นที่ ปักหลักลงทุนธุรกิจและร่วมพัฒนาบ้านเกิด โดยที่ล่าสุด มีสตาร์ทอัพ (Startup) หน้าใหม่ ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล การท่องเที่ยว งานคราฟต์ สุขภาพ รวมถึงบริษัทชั้นนำเลือกขยายสาขาใหม่ในเชียงใหม่ จำนวนมาก – บทความ  เจาะลึก วิทย์คอมฯ มธ. อยากเรียน “วิทย์คอมฯ” ต้อง “วิทย์คอมฯ มธ.”

เจาะลึก วิทย์คอมฯ มธ.

รีวิวบรรยากาศภายในศูนย์ลำปาง แบบครบรส

และเมื่อพูดถึงหลักสูตรที่ช่วยต่อยอด Startup สายดิจิทัลข้างต้น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (SCI-TU) คณะที่มีหลักสูตรวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ แห่งแรกของไทย ที่ธรรมศาสตร์ปั้นเป็นหลักสูตรบุกเบิกของศูนย์รังสิต ซึ่งเรียกกระแสตอบรับด้วยคะแนนรับเข้าสูงสุดของวิชาสายวิทย์ ตั้งแต่เปิดรับนักศึกษารุ่นแรก ในปี 2529 โดยหลักสูตรดังกล่าว เน้นการประยุกต์ใช้ Know How ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล สู่การเขียนโปรแกรม พัฒนาแอปฯ และนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังสามารถผลิต CEO ผู้ประกอบการธุรกิจ ป้อนวงการไอทีทั้งในไทยและต่างประเทศจำนวนมาก

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง

โดยปี พ.ศ. 2559 SCI-TU ได้ขยายหลักสูตรไปเปิดเต็มตัวที่ ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง เพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ ที่สามารถต่อยอดความรู้ สู่นวัตกรรมดิจิทัลเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตในพื้นที่ภาคเหนือ เพื่อสร้างกำลังคนคุณภาพด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ อันสอดคล้องกับปณิธานของ คุณบุญชู ตรีทอง อดีตรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ผู้มีคุณูปการอันยิ่งใหญ่ต่อชาวธรรมศาสตร์ ในการพัฒนาการศึกษาภาคเหนือ นอกเหนือจากท่านบริจาคที่ดินสำหรับสร้างมหาวิทยาลัย บริจาคทุนทรัพย์ในการสร้างห้องสมุดดิจิทัล และอาคารเรียนหลังใหม่เพื่อการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ท่านยังมอบทุนการศึกษาเต็มจำนวนแก่ นักศึกษา SCI-TU ที่ลำปางทุกคน เพื่อเป็นกำลังใจให้น้อง ๆ ในการศึกษาเล่าเรียน และพัฒนาศักยภาพตนเอง สู่ผู้ขับเคลื่อนประเทศไทยให้เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีดิจิทัล

วิทย์คอมฯ ธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง เปิดสอนในสาขาวิชา “เทคโนโลยีการเรียนรู้” ที่เน้นการเรียนรู้ปัจจัยมนุษย์ในการผลิตเทคโนโลยีระบบอัจฉริยะ น้อง ๆ จึงมีทักษะพิเศษในการผสมผสานความรู้ด้านวิทย์คอมฯ เข้ากับสาขาวิชาต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย ภายใต้ความช่วยเหลือของอาจารย์และรุ่นพี่ต่างสาขา เช่น จับคู่รุ่นพี่สาขาฟิสิกส์ช่วยประดิษฐ์ตัวหุ่นยนต์ ขอความช่วยเหลืออาจารย์คณิตศาสตร์ ช่วยยืนยันโมเดลหรือสมการที่เตรียมออกแบบ อาจารย์สาขาเคมี ช่วยคิดเซนเซอร์หรือแปลผลสารที่พบในเซนเซอร์วัดสภาพอากาศ หรือกระทั่งอาจารย์สาขาไบโอเทค วิเคราะห์พันธุ์ไม้ผ่านการใช้บินโดรนเก็บข้อมูลภาพถ่ายผืนป่า

และพิเศษกว่านั้นคือ นักศึกษาวิทย์คอมฯ ที่นี่ มีโอกาสสร้างทางเดินสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ได้ด้วย เนื่องจาก คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง มีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญทั้งในด้าน กฎหมายสำหรับระบบทางปัญญาประดิษฐ์ กฎหมายเกี่ยวกับการพิสูจน์ตัวตนและการเงินดิจิทัล โดยด้านหน้าธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง เป็นที่ตั้งของ ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 5 ซึ่งเป็นสถานฝึกตำรวจผู้เชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยและการสืบสวนสอบสวน ดังนั้น นักศึกษาสามารถศึกษาเทคโนโลยีความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ และผสานต่อยอดไปที่กระบวนการพิสูจน์หลักฐานทางดิจิทัล ย้อนรอยการอำพรางข้อมูล ลำดับบล็อกเชนในการเงินดิจิทัลได้ในอนาคต

วันนี้ ไอซ์ – ชานนท์ จันเป็ง นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (วิชาเอกเทคโนโลยีการเรียนรู้) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (SCI-TU) ศูนย์ลำปาง กล่าวว่า ไอซ์เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนห้างฉัตรวิทยา เป็นคนลำปางแต้ ๆ เลยขออาสาเป็น “เจ้าบ้าน” พาน้อง ๆ สัมผัสประสบการณ์การเรียนการสอนในหลักสูตร วิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่ มธ. ศูนย์ลำปาง แบบทุกซอกทุกมุม พร้อมรีวิวบรรยากาศภายในศูนย์ลำปาง แบบครบรส ! ซึ่งจะพบกับความสนุกแค่ไหนนั้น ติดตามได้จากรายละเอียดดังต่อไปนี้ได้เลยครับ

เกี่ยวกับหลักสูตรวิทย์คอมฯ

เริ่มที่หลักสูตรวิทย์คอมฯ ของที่นี่ จะเปิดสอนใน วิชาเอก “เทคโนโลยีการเรียนรู้” เท่านั้น โดยที่น้อง ๆ จะได้เรียนเกี่ยวกับ #วิทยาการคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย ไอเดียเชิงนวัตกรรม รวมถึงการประยุกต์ใช้ความรู้และเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาด ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับสากล โดยมีรายวิชาสนุก ๆ ที่น้อง ๆ จะได้เรียน เช่น การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน การออกแบบและพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดีย สถิติและการวิจัยเพื่อเทคโนโลยีการเรียนรู้ และสำหรับน้องหลายคนที่ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “หนูไม่ชอบเรียนฟิสิกส์ เคมี ชีวะ” ที่นี่ตอบโจทย์น้อง ๆ อย่างมาก เพราะไม่ต้องเรียนใน 3 วิชานี้เลย แถมยังเลือกฝึกงานกับบริษัทชั้นนำได้อีกด้วย เท่านั้นยังไม่พอ น้อง ๆ จะมีโอกาสได้รับทุนการศึกษาเต็มจำนวนจนจบหลักสูตรกันไปเลย !

ซึ่งไอซ์เอง ก็เป็นคนหนึ่งที่ได้รับความรู้และประสบการณ์มากมาย เพราะที่ วิทย์คอม มธ. ลำปาง เราไม่ได้เรียนอย่างเดียว แต่ยังมีเวทีประกวด ที่ช่วยให้เราได้ Skill ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น และช่วยให้เราค้นพบตัวเองได้เร็วขึ้น เช่นเดียวกับน้อง ๆ หลายคน อย่าง พี่โอม ปี 3 พัฒนาระบบควบคุมเตียงในโรงพยาบาลอัจฉริยะ และได้ไปนำเสนอผลงานถึงประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ตอนเรียนปี 2 พี่บอส พี่วี และพี่โก้ ปี 3 ฟอร์มทีมพัฒนา “บีโก้ ปลอกคอสุนัขอัจฉริยะเพื่อสร้างเครือข่ายสุนัขผู้พิทักษ์” ที่คว้าเงินรางวัลรวม 15,000 บาท จากการประกวดซอฟต์แวร์ระดับประเทศ NSC’2020 ในเขตภาคเหนือ ด้วยการจับเทคโนโลยี IoT ผสานการสร้าง AI บนขอบเครือข่ายมาสร้างปลอกคออัจฉริยะ งานนี้มีทีมพี่ไอซ์และพี่ ๆ อีก 3 ทีมได้รางวัลรอบแรกกันด้วย

นอกจากนี้ ยังมี พี่ไอซ์ พี่ปิ่น พี่มาร์ช ปี 4 ที่ได้ร่วมกันสร้างสรรค์ “ระบบท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอัจฉริยะ เพื่อชุมชนลำปาง” ด้วยทุนพัฒนา 30,000 บาท พี่อ้วน ปี 3 รวมทีม กับพี่นัฐ นักฟิสิกส์ นำเทคนิค AI และ IoT มาประดิษฐ์ Weather Station เครื่องจ่ายน้ำในแปลงเกษตรด้วยโมเดลเฉพาะพืช ตามความต้องการของนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญพืชไร่ โดยเครื่องจ่ายน้ำนี้ติดตั้งใช้งานจริงในศูนย์วิจัยพืชไร่ จ. ขอนแก่น และกำลังเดินเครื่องผลิตโมเดลใหม่เป็นเฟสต่อไป พี่พีท ว่าที่บัณฑิตรุ่นแรก พัฒนาโมเดลทำนายลักษณะสภาพอากาศและตีพิมพ์ผลงานในที่ประชุมวิชาการที่ประเทศญี่ปุ่น เร็ว ๆ นี้

กิจกรรมระหว่างเรียน

นอกจากกิจกรรมระหว่างเรียนสนุก ๆ ที่ให้น้อง ๆ ได้เก็บเกี่ยวทักษะ วิชาความรู้ และประสบการณ์ติดตัวจำนวนมากแล้ว หลักสูตรนี้จบได้ใน 3 ปีครึ่ง และเมื่อจบแล้วก็มี #อาชีพรองรับมากมาย ไม่ว่าจะเป็น นักพัฒนาเว็บไซต์แอปฯ/ โปรแกรม/ ซอฟต์แวร์ นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงานสารสนเทศ นักวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ดูแลระบบเครือข่ายและเครื่องแม่ข่าย รวมถึงอาจารย์ในกลุ่มวิชาวิทยาการคำนวณ

ทุนการศึกษาตลอดหลักสูตร

นอกจากนี้ ยังมี #ทุนการศึกษาตลอดหลักสูตร อย่าง “ทุนคุณบุญชู ตรีทอง” ทุนเต็มจำนวนเมื่อแรกเข้า สำหรับหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิชาเอกเทคโนโลยีการเรียนรู้ มธ. ศูนย์ลำปาง และไม่ว่าน้อง ๆ จะเข้ามาในรอบไหน ก็มีสิทธิ์ได้รับทุนเหมือนกัน ขอแค่คุณสมบัติครบตรงตามเงื่อนไข โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • ต้องเป็นนักศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปางเท่านั้น โดยน้อง ๆ ที่สมัครเข้ามาเรียนผ่านระบบ TCAS รอบ 1-4 มีสิทธิ์ได้รับทุนการศึกษาแรกเข้าเหมือนกัน
  • ได้รับทุนการศึกษาตั้งแต่แรกเข้า สำหรับปี 1 เทอม 1 จำนวน 22,300 บาท แต่ในกรณีที่น้อง ๆ มีเกรดเฉลี่ยสะสมในปี 1 เทอม 1 ต่ำกว่า 1.5 จะหมดสิทธิ์รับทุนในเทอมต่อไป
  • ต้องรักษาเกรดเฉลี่ยสะสม เมื่อจบปี 1 หากน้องๆ สามารถรักษาเกรดเฉลี่ยสะสมให้ไม่ต่ำกว่า 2.00 ทุกภาคเรียน กำหนด และลงทะเบียนไม่น้อยกว่าแผนการศึกษาของหลักสูตร น้องๆ จะได้รับทุนการศึกษาสมทบ ดังนี้ *ทั้งนี้ผู้ให้ทุนขอสงวนสิทธิการปรับเกณฑ์รับทุนตามความที่เห็นสมควร
    • มีเกรดเฉลี่ยสะสม 2.50 แต่ไม่ถึง 3.00 รับทุนการศึกษาสมทบ 5,000 บาท/ปี
    • มีเกรดเฉลี่ยสะสม 3.00 แต่ไม่ถึง 3.50 รับทุนการศึกษาสมทบ 10,000 บาท/ปี
    • มีเกรดเฉลี่ยสะสม 3.50 ขึ้นไป รับทุนการศึกษาสมทบปีละ 20,000 บาท/ปี
  • ต้องลงทะเบียนเรียนต่อเนื่อง น้อง ๆ ที่ได้รับทุนจะต้องลงทะเบียนเรียนอย่างต่อเนื่องในทุกภาคการศึกษา และต้องสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีภายในระยะเวลาปกติตามที่หลักสูตรกำหนด รวมถึงห้ามลาพักการศึกษา เว้นแต่มีเหตุผลที่สมควร

บรรยากาศภายใน มธ. ศูนย์ลำปาง

นอกเหนือไปจาก หลักสูตร และทุนการศึกษาที่ให้เปล่า สำหรับนักศึกษาที่สามารถรักษามาตรฐาน GPA ได้แล้ว บรรยากาศและสังคมภายใน มธ. ศูนย์ลำปาง ยังเอื้อต่อการเรียนรู้ของนักศึกษาอีกด้วย เนื่องจากถูกโอบล้อมไปด้วยบรรยากาศของความเขียวขจีขนาดใหญ่

  • ห้องสมุดคุณบุญชู ตรีทอง อาคารนวัตกรรมบริการ แหล่งเรียนรู้ขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ 4,316 ตารางเมตร ที่เปิดให้บริการชั้น 2-3 พร้อมแบ่งพื้นที่ออกเป็นโซนต่าง ๆ ทั้ง โซนสืบค้น โซนอ่านหนังสือ โซนยืม-คืนหนังสืออัตโนมัติ และโซนเงียบ เพื่อให้นักศึกษาสามารถเลือกใช้ได้ตามความต้องการ
  • หอพักใหม่เอี่ยมที่สะดวกและทันสมัย
  • รวมไปถึงสังคมเหลือง-แดง ทั้งอาจารย์ และรุ่นพี่ ที่พร้อมช่วยเหลือและแลกเปลี่ยนความรู้ตลอด 4 ปีการศึกษา อีกด้วย

สำหรับน้อง ๆ TCAS63 ทั้งสายวิทย์-คณิต หรือสายศิลป์-คำนวณ ที่สนใจสาขาวิชา “วิทยาการคอมพิวเตอร์” และอยากมาเป็นครอบครัวเดียวกับเราที่ คณะวิทยาศาสตร์ฯ มธ. ศูนย์ลำปาง สามารถตรวจสอบคุณสมบัติและสมัครออนไลน์ใน TCAS รอบ 4 (รับกลางร่วมกัน) ได้ที่ www.mytcas.com ระหว่างวันที่ 7-20 พฤษภาคม 2563

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คณะวิทยาศาสตร์ฯ มธ. ศูนย์ลำปาง โทร. 054 237 999 ต่อ 5625 หรือ 092 668 5625 (ในวันและเวลาราชการ) เฟซบุ๊กแฟนเพจ  FB sciencetulp หรือติดตามความเคลื่อนไหวของคณะได้ที่ FB ScienceThammasat และ https://sci.tu.ac.th

#วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี #ธรรมศาสตร์ #วิดยามธ #ComputerScience #วิทยาการคอมพิวเตอร์ #ศูนย์ลำปาง #ทุนบุญชู #SCITU #TCAS63 #DEK63

แนะนำ