cu ความเชื่อ จุฬาฯ เรื่องน่ารู้

เรื่องน่ารู้ รอบรั้ว CU – จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ตอนที่ 2)

Home / เรื่องเล่ามหาวิทยาลัย / เรื่องน่ารู้ รอบรั้ว CU – จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ตอนที่ 2)

มาอ่านกันต่อเลยจ้า กับ เรื่องน่ารู้ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งในตอนที่ 2 นี้ เราจะพาน้องๆ ไปรู้จักกับเพลงบูมของคณะต่างๆ รวมถึงเรื่องน่ารู้อื่นๆ เช่น กิจกรรม ประเพณี และความเชื่อต่างๆ ที่ถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น จะมีเรื่องราวเป็นอย่างไร อย่ารอช้า!! อ่านกันเลย

เรื่องน่ารู้ รอบรั้ว CU – จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เรื่องน่ารู้รอบรั้วจุฬาฯ (ทั้งในมหาลัย และนอกมหาลัย)

62. จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยแรกที่ใช้คำว่า “นิสิต-นิสิตา”

63. พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ทรงเข้าศึกษาในคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ในปีการศึกษา 2548

64. หนุ่มๆ ที่สาวคณะต่างๆ หมายปองมักจะอยู่ฝั่งในเมือง เช่น สถาปัตยกรรมศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ หรือ แม้กระทั่งหนุ่มๆ สิงห์ดำ (รัฐศาสตร์) สาวๆ ก็ไม่แพ้กัน สาวสวยที่ขึ้นชื่อในจุฬาฯ ก็ต้องยกให้อักษรศาสตร์ รัฐศาสตร์ บัญชี…ทั้ง สวย รวย เก่ง…อืม! ครบสูตรเลย

65. เด็ก self จัด ในจุฬาฯ ต้องยกให้นิเทศฯ ศิลปกรรมฯ (สินกำ) แรงมากๆ ขอบอกสาวสวยก็ต้องอักษรฯ บัญชี สาวหรู ไฮโซต้องรัฐศาสตร์ สาวเปรี้ยวต้องเด็กนิเทศฯ สาวห้าวคือสาววิศวะ สาวดุต้องสาวครุ สาวเคร่งคือสาวนิติ

66. สมัยก่อน รู้หรือไม่ว่า นิสิตชายคณะรัฐศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ไม่ถูกกัน ถึงขนาดยกพวกตีกันในวันไหว้ครูในปีพ.ศ.2504 รัฐศาสตร์เสียเปรียบตรงกำลังคนน้อยกว่า 4 ต่อ 1 จนร้อนไปถึงจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐศาสตร์ในสมัยนั้นต้องออกมาไกล่เกลี่ยด้วยตัวเอง มีคนว่ากันว่า “วิศวะชนะด้านยุทธวิธี แต่รัฐศาสตร์ชนะด้านยุทธศาสตร์”

67. นิสิตชายคณะอักษรศาสตร์ เรียกว่า Arts Men ซึ่งมีคิดว่าเป็น 1 ใน 10 ของนิสิตหญิง

68. เด็กอักษรชอบเด็กสถาปัตย์ แต่เด็กสถาปัตย์จะชอบกันเอง

69. นิสิตครุศาสตร์ สาขาวิชาศิลปศึกษา เรียกตนเองว่า “ครุอาร์ต” ซึ่งมีอาคารเรียนเป็นของตนเอง คือ อาคาร 8

70. จุฬาฯ มีคณะพยาบาลศาสตร์ แต่ไม่เปิดหลักสูตรปริญญาตรี เพราะโรงพยาบาลจุฬาฯ รองรับนักศึกษาพยาบาลจากสภากาชาดไทยแล้ว

71. หลักสูตรปริญญาตรีล่าสุดของจุฬาฯ คือ ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตร โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาวิจัยทรัพยากรการเกษตร  เรียกนิสิตหลักสูตรนี้ว่า “OCARE” ซึ่งได้ไปศึกษาที่จุฬาฯ ศูนย์สระบุรีด้วย
72. คนภายนอกชอบมองว่าเด็กจุฬาฯ เป็นพวกเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ แต่จริงๆ ควรมองเด็กจุฬาฯ จากภายใน และความสามารถมากกว่า

73. คู่รักคู่แค้นของเด็กจุฬาฯ คือ เด็กธรรมศาสตร์ งานบอลแต่ละครั้ง ต้องประชันกันให้เหนือกว่ากัน ซึ่งค่าใช้จ่ายจากงานบอล แต่ละครั้งสามารถซื้อบ้านหรูๆ ได้มากกว่า 5 หลัง

74. เพลงที่จุฬาฯ กับธรรมศาสตร์มีเหมือนกัน คือ “เดินจุฬาฯ-เดินมธ.” (แต่เนื้อเพลงไม่เหมือนกัน ชื่อเพลงเหมือนกัน) เพลงเดินจุฬาฯ เป็นเพลงปลุกใจให้ฮึกเหิม ในการต่อสู้ที่ดีที่สุด อ้าว…เดิน เดิน เถอะรา นิสิตมหาจุฬาลงกรณ์

ประเพณีและกิจกรรมต่างๆ

75. พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกที่เกิดขึ้นในไทย เกิดขึ้นที่จุฬาฯ โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์พระราชทานให้แก่นิสิตคณะแพทยศาสตร์เป็นที่แรก

76. พระยาอุปกิตศิลปสาร เป็นอาจารย์สอนคณะอักษรศาสตร์ และได้สร้างกฎไว้ว่า ก่อนที่ท่านจะเข้ามาสอนหลังจากสอนเสร็จ-พบกันในเวลาอื่นๆ ให้นิสิตทุกคนไหว้ท่าน เพื่อเป็นการเคารพผู้เป็นอาจารย์ที่ให้วิชาแก่ตน และแสดงความนอบน้อมต่อผู้อาวุโสกว่า ซึ่งเป็นคณะแรกที่สอนแบบนี้

77. จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยเดียวในไทยที่เวลามีเสด็จฯ ต้องมีการตั้งซองรับเสด็จ นิสิตหญิง-ชาย นั่งพับเพียบกับพื้นถนน และก้มกราบบนพื้นเวลามีรถยนต์พระที่นั่งผ่าน

78. จุฬาฯ ยึดธรรมเนียมปฏิบัติไว้ว่าก่อนที่จะเข้ามาศึกษาชั้นปีที่ 1 ต้องมีพิธีการถวายสัตย์ปฏิญาณตน และพอตอนเรียนจบปริญญาตรีก็ต้องมีพิธีการถวายบังคมลา นิสิตปี 1 ที่ได้มาถวายสัตย์จะรู้สึกว่าเริ่มต้นชีวิตนิสิตใหม่อย่างสมบูรณ์ และภาคภูมิใจในจุฬาฯ และสถาบันกษัตริย์

79. วันที่ 23 ต.ค. ของทุกปี นิสิต คณาจารย์ และบุคลากรจุฬาฯ จะไปทำพิธีเคารพสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้า (เหมือนอยู่ในรั้วในวังกลายๆ เลย ศักดิ์สิทธิ์มาก และพิธีการนี้จะออกข่าวทางสื่อโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ทุกปี)

80. คำว่า “SOTUS” ต้นกำเนิดจากนิสิตจุฬาฯ ประมาณปี 2462 รุ่นนั้นสรรหาคำที่มีความหมายลึกซึ้ง มาประกอบกันเป็นคำว่า SOTUS แต่เด็กจุฬาฯ จะไม่อ่านว่า SOTUS จะเรียกว่า “คำขวัญทั้ง 5” และ S ที่ขึ้นต้น คือ Spirit ไม่ใช่ Seniority เหมือนสถาบันอื่นที่นำเอาไปใช้กัน

81. เมื่อถึงกิจกรรมรับน้องใหม่ทุกปี นิสิตรุ่นพี่จะนำใบหรือกิ่งจามจุรีเล็กๆ มาผูกริบบิ้นสีชมพูคล้องคอให้นิสิตใหม่เพื่อเป็นการต้อนรับเข้าสู่จุฬาฯ อาณาจักรแห่งจามจุรีสีชมพู

82. การรับน้องใหม่ของจุฬาฯ ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในปลายเดือนพฤษภาคม เรียกว่า “รับน้องก้าวใหม่” น้องใหม่ทั้งหลายจะได้จัดสรรเข้าบ้าน ซึ่งชื่อบ้านรับน้องก็จะมีหลากหลาย แต่กว่าครึ่งจะแปลได้สองแง่สองง่าม กิจกรรมที่ทำกันก็จะเน้นการเต้น กิน เต้น และก็เต้น ไม่มีว้าก ไม่มีโหด พี่ๆ เอาใจน้องๆ ราวกับพระเจ้า มีพี่บ้าน มีน้องบ้าน

83. งานรับน้องก้าวใหม่ เคยมีบ้านที่มีชื่อเป็นคำผวน เช่น บ้านเพชรกันยา แต่ต่อมาอาจารย์เริ่มผวนคำเป็น เลยไม่มีชื่อบ้านแบบนี้ให้เห็นอีก

84. เวลาแข่งกีฬาเฟรชชี่ หรืออะไรก็ตามที่ต้องใช้มีตัวเล่นเป็นผู้ชาย เช่น ฟุตบอล คณะอักษรศาสตร์ต้องระดมพล Arts Men ทั้งสี่ชั้นปีเลยทีเดียว

85. คณะที่จองรางวัลชนะเลิศการประกวดแสตนด์เชียร์กีฬาน้องใหม่ ปัจจุบันไม่ครุศาสตร์ก็สหเวชศาสตร์ อักษรศาสตร์ก็แรงใช่ย่อย

86. ส่วนคณะที่จองรางวัลชนะเลิศการประกวดผู้นำเชียร์กีฬาน้องใหม่ ไม่นิเทศศาสตร์ก็อักษรศาสตร์ ส่วนเด็กบัญชีสวยๆ แบบนั้น เค้าไม่ส่งประกวดทุกปี

87. คณะที่ทุกคนใฝ่ฝันเมื่อเห็นการแสดงเชียร์โต้ คือ ศิลปกรรมศาสตร์ และเพลงยอดฮิตติดหู คือ เพลงน้องนางลูบไข่ และเพลงโอ้ทะเล (บัลเลย์)

88. หอใน จะเรียกว่า “ซีมะโด่ง” จะมีกิจกรรมรับน้องเป็นของตัวเอง ว่ากันว่าช่วงเดือนมิถุนาทั้งเดือน แถวๆ มาบุญครอง จะได้ยินเสียงโวยวาย เสียงเพลง ตอนดึกๆ และเช้าตรู่

89. คืนวันคริสต์มาส และวันวาเลนไทน์ ที่หอในจะมีการตะโกนบอกรักกันข้ามหอ อิอิ (จริงๆ มันเป็นช่วงสอบแหละ เครียดๆ กันเลยหาเรื่องตะโกน) แต่เป็นเรื่องน่าแปลกที่มีนิสิตหอชkยไม่น้อยที่ตะโกนบอกรักนิสิตหอชายอีกฟาก แทนที่จะไปอยู่ฟากหอหญิง

90. ประเพณีการโต้วาทีน้องใหม่ของชมรมวาทศิลป์ เรียกสั้นๆ ว่า “โต้ชี่” อาจารย์แม่มาเป็นกรรมการการโต้วาทีของน้องใหม่ของจุฬาฯ ติดกันมา 25 ปีแล้ว

91. นิสิตใหม่คณะวิศวกรรมศาสตร์เวลาเข้ากิจกรรมของมหาวิทยาลัยต้องตั้งซองจับมือไปเดินไปทั้งคณะ ระวังจะสปาร์คกันเองนะ

92. โทษทัณฑ์ที่หนักที่สุดในคณะรัฐศาสตร์สมัยก่อนที่รุ่นพี่ใช้ลงโทษน้องคือ “การโยนนํ้า” ซึ่งบรรยากาศของคณะในสมัยก่อนก็เอื้ออำนวย โดยบริเวณหน้าคณะฝั่งอังรีดูนังต์ จะมีคลองอรชร และมีสะพานข้ามมีชื่อว่า สะพานวรพัฒน์พิบูลย์ นอกจากนี้หน้าตึก 3 ยังมีบ่อนํ้าขนาดใหญ่ของสภากาชาด และเมื่อน้องๆ กระทำความผิดกฎที่รุ่นพี่บัญญัติไว้ ก็จะถูกชำระโทษโดยการจับโยนลงนํ้า ซึ่งปัจจุบันทั้ง 2 แห่งถูกถมเพื่อสร้างตึก การโยนนํ้าจึงสิ้นสุดไปโดยปริยาย

93. คนนอกจะมองคณะอักษรศาสตร์ ว่าเป็นคณะหรูหราไฮโซ แต่เชื่อหรือไม่ ชาวอักษรแทบจะไม่จัดงานใดๆ ที่โรงแรมเลย ไม่มีการสิ้นเปลืองด้านนี้ ไม่ว่าจะเป็นเฟรชชี่ไนท์ บายเนียร์ ฯลฯ สถานที่ประจำ คือ ใต้อาคารหรือสนามบริเวณคณะ

94. คณะวิทยาศาสตร์ มีการประกวดดนตรีอะคูสติก ชื่อว่า Under Tab (ส่วนใหญ่อ่านกันว่า “อันเดอร์แท๊บ”) จริงๆ แล้วที่มา คือ สมัยก่อนจัดงานใต้ตึกแถบ ซึ่งชื่อตึกหนึ่งของคณะวิทยาศาสตร์

95. คณะแพทยศาสตร์มี sing’n contest ด้วย แรกๆ มีแบคเป็น GMM ด้วยนะ

CU Lifestyle

96. Boom ของจุฬาฯ มี Boom 2 แบบด้วยกัน คือ

  • แบบที่ 1 Boom Ba La Ka…Bow Bow Bow…Chik Ka La Ka …Chow Chow Chow…Boom Ba La Ka Bow…Chik Ka La Ka Chow…Who are we ?…CHULALONGKORN…Can you see Laaa… (ซึ่งเป็นบูมที่ใช้ในอดีต)
  • แบบที่ 2 Baka…Bowbow…Cheerka…Chowchow…Babow…Cheerchow…Who are we ?… CHULALONGKORN…Can you see Laaa… ซึ่งเป็นบูมที่ใช้ในปัจจุบัน

97. บูม Baka เป็นบูมที่ไม่เคยมีใครให้เหตุผลได้ว่า ทำไมต้อง baka ทำไมต้อง bow bow….

98. รู้หรือไม่ เวลาบูม Baka ปกติแล้วเค้าไม่กอดคอกันบูมนะ

99. คณะรัฐศาสตร์ หรือชาวสิงห์ดำ เป็นคณะเดียวในจุฬาฯ ที่ไม่ใช้ คำว่า “Boom” แต่พวกเขาใช้คำว่า “ประกาศนาม” แทนกันจ้า

100. Boom ของคณะวิศวกรรมศาสตร์นั้น ที่เกือบจะเป็นแฝดกับ Boom ของจุฬาฯ เลย ตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า เป็นเพราะเมื่อนานมากหลายสิบปีที่แล้วมีนิสิตชายวิศวะ คิด Boom Baka ได้ เลยเอามาใช้กับวิศวะ (Who are we? – Intania) แต่เขาเป็นแฟนกับนิสิตหญิงที่เป็นประธานเชียร์ของจุฬาฯ เลยเอา Boom Baka มาใช้ของจุฬาฯ (Who are we? – Chulalongkorn)

101. เพลงหนึ่งที่บอกเล่าการใช้ชีวิตในจุฬาฯ คือ เพลงจามจุรีศรีจุฬาฯ…ตอนช่วงสุดท้ายของเพลงถือเสมือนการเตือน เรื่องการเรียนที่ฟังแล้วซึ้งจริงๆ

102. แทบจะไม่มีนิสิตจุฬาฯ คนใดที่จำเลขประจำตัวนิสิตไม่ได้ และการลืมบัตรประจำตัวนิสิตในวันหนึ่งๆ เหมือนกับว่าเราแทบจะหมดสิทธิ์ทำอะไรหลายๆ อย่างไปเลย (แอบเห็นเด็กจุฬาฯ หลายคนแล้วนะที่พอจะเข้า BTS MRT แต่สอดบัตรผิด ใช้บัตรนิสิตสอดเข้าไป ต่อไปคงต้องขอทางกรมขนส่งให้เด็กจุฬาฯ ใช้บัตรนิสิตแทนบัตรรถไฟฟ้าแล้วล่ะมั้ง!!)

103. สถานที่ ที่เหมาะแก่การไปนั่งสวีทกัน คือ หอกลาง (อาคารมหาธีรราชานุสรณ์ : หอสมุดกลาง) ด้วยวิวที่ดูเป็นเมืองนอกมาก มีวิวเป็นตึกหอพักหญิงสีน้ำตาล ยิ่งดูยิ่งโรแมนติก

104. ที่จุฬาฯ สามารถใช้พาหนะได้หลายอย่าง และที่สะดวกมากๆ คือ BTS MRT รถป็อป รถยนต์ เฮลิคอปเตอร์ (สภากาชาด) แต่อันนี้คงไม่สะดวกมั้ง และเรือ (ที่สะพานหัวช้าง)

105. รถโดยสารภายในจุฬาฯ เรียกกันติดปากว่า “รถป๊อป” ซึ่งมีที่มาจาก “รถ ปอ.พ.” หรือรถปรับอากาศพิเศษ ซึ่ง 30% ของนิสิตจุฬาฯ มารู้เอาตอนอยู่ปี 3 ว่า “รถป๊อป” มาจากคำว่า “ปอ.พ.”

106. ปัจจุบันรถป๊อปกลายสภาพเป็นรถไฟฟ้าแล้วนะ สีชมพูแหววเหมือนเดิม รถกระชากแรงมาก ควรจับราวให้ดี อาจารย์ท่านหนึ่งของวิชา REC CAMP เคยบอกไว้ว่าเวลาขับรถต้องระวังข้างหลังดีๆ เพราะรถไฟฟ้าขับมาเงียบมาก เกือบชน

107. รถป๊อปในอดีตมี 4 สาย แต่สาย 3 ถูกยกเลิกไป เพราะเด็กจุฬาฯ ฝั่งคณะแพทยศาสตร์ไม่ค่อยนั่ง

108. ก่อนมีรถป๊อป ไม่เคยมีการใช้มอเตอร์ไซค์ หรือจักรยาน ซึ่งปัจจุบันนิสิตจุฬาฯ ก็เลือกที่จะเดินมากกว่าขึ้นรถป๊อป เพราะรอนานเป็นชาติกว่าจะผ่านมา

109. การเดินสยามถือว่าเป็นการเดินช่วยย่อยได้ดี ไม่ต้องซื้ออะไรหรอก…เพราะมันแพง

110. นิสิตบางคนทึกทักเอาเองว่า DotA คือกีฬาประจำมหาวิทยาลัยลัย (จะสู้เด็กเกษตรฯได้เหรอ)

ความเชื่อของเหล่าเด็กจุฬาฯ

111. นิสิตและเด็ก ม.6 ที่จะแอดมิชชั่นมักจะไปไหว้พระบรมรูป 2 รัชกาลตอนวันเริ่มสัปดาห์สอบหรือจะประกาศผลสอบ ถ้าเป็นวันอังคารเอากุหลาบชมพูไปถวาย วันอื่นธูป 9 ดอก “ขอพรได้แต่ห้ามบน” คอนเฟิร์มว่าขลังจริง แต่ห้ามขอหวยนะ

112. ห้ามมองเต่าตรงบ่อน้ำที่อยู่แถวโรงอาหารตึกจุล ไม่งั้นจะแอดไม่ติด (เจอทุกวันที่ข้ามไปฝั่งนู้นเลยแหละ)

113. ลานเกียร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ หากใครสะดุดลานเกียร์จะมีแฟนเป็นเด็กวิศวะ (สาวบัญชีบางกลุ่มชอบไปเดินสะดุด) ส่วนคณะอักษรศาสตร์ มีความเชื่อว่า หากสาวคนไหนสะดุดพรมแดง (ตึกเทวาลัย) จะได้แฟนเป็น Arts Men

114. คณะวิศวกรรมศาสตร์ ห้ามนิสิตชั้นปีที่ 1 ใช้ลิฟต์ตรงติดกับห้องทะเบียน ให้เดินขึ้นบันไดเท่านั้น

115. อย่าถ่ายรูปคู่กับพญานาคตรงหัวบันไดที่คณะอักษรศาสตร์ (ยกเว้นพี่บัณฑิต) และอย่าขึ้นไปบนสี่เสาเทวาลัยเชียว เพราะมีเรื่องเล่าว่าจะทำให้เรียนไม่จบ

116. อาคาร 4 เดิมของคณะอักษรศาสตร์มีเรื่องผีเยอะ ส่งผลให้ต้องทุบทิ้งไปแล้ว แต่เป็นโครงการสร้างอาคารใหม่ชื่อว่า “มหาจักรีสิรินธร” แทนต่างหาก ซึ่งตอนนี้สร้างเสร็จแล้ว

117. ตึกขาว (ชีววิทยา 1) คณะวิทยาศาสตร์ ถ้านิสิตชั้นปีที่ 1 เดินขึ้นบันไดกลางตึกขาวเชื่อว่าจะซิ่วหรือไม่ก็รีไทร์ แต่ความจริงแล้วเมื่อก่อน เดิมตึกขาวเป็นตึกปฏิบัติการวิทยาศาสตร์แห่งแรกในประเทศไทย ผู้ที่เป็นอาจารย์สมัยนั้น ไม่ใช่คนสามัญธรรมดาแต่เป็นพระบรมวงศานุวงษ์ เด็กปี 1 ไม่รู้ถ้าขึ้นตรงนั้นจะเป็นห้องพักอาจารย์ทำให้เป็นการรบกวนอาจารย์ +ไม่ได้ทำความเคารพอาจารย์ที่เป็นพระบรมวงศานุวงษ์ด้วย อีกทั้งตรงนั้นด้านล่างยังเป็นที่เก็บอาจารย์ใหญ่สำหรับนิสิตแพทย์ในสมัยนั้นด้วย

118. คณะวิทยาศาสตร์ ตอนสอบฟิสิกส์ หรือแคลคูลัส ให้เอาขนมปังไปเลี้ยงปลาหน้าตึกฟิสิกส์ แล้วจะดี และจะมีคนเลี้ยงข้าวด้วย

119. คณะรัฐศาสตร์ ถ้าเข้าตึก 1 หน้าคณะ ห้ามเดินเข้าประตูกลาง ไม่งั้นจะเรียนไม่จบ

120. คณะครุศาสตร์ ห้ามนิสิตชั้นปีที่ 1 เดินบันไดกลาง เพราะว่ากันว่าจะเรียนไม่จบ

121. สมัยยังใช้การตึก 2 คณะนิเทศศาสตร์ ได้เต็มที่นั้น มีเรื่องเล่าว่า หลังสามทุ่มไปถ้าเดินลงบันไดเวียนจะลงมาเจอชั้นสามประมาณสี่ครั้ง (บรื๋อออ) แล้วตึกนิเทศก็โดนทุบอีกเช่นกัน

122. เขาว่ากันว่าถ้าคู่รักมาลอยกระทงที่จุฬาฯ แล้วจะมีอันเลิกรากัน (จึงนิยมไปลอยที่โรงเรียนเตรียมฯ แทน) แต่ถ้าเป็นเพื่อนกันมาลอยด้วยกันก็จะเป็นแฟนกัน

123. คณะสหเวชศาสตร์ ตกบันไดคณะแล้วจะโชคดี แต่มันตกง่ายมากอะฃ

ข้อมูลจาก : http://quezie.exteen.com/ , http://lib.edu.chula.ac.th/ และ http://th.uncyclopedia.info/wiki/