สำหรับใครที่สนใจในสาขาวิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์และรังสีว่าจริงๆ แล้วเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์แพทย์ เพ่งวาณิชย์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมาแนะนำให้ความเข้าใจกับหลักสูตรนี้ให้มากยิ่งขึ้น และแนวทางของอาชีพสายนี้ที่กำลังมาแรงมากขึ้นต่อไปในปี 2019
วิศวกรรมนิวเคลียร์และรังสี เรียนเกี่ยวกับอะไร
สาขาวิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์และรังสี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คุณสมบัติเด่นสำคัญสำหรับหนุ่มสาววิศวกรรุ่นใหม่
“ผมคิดว่าเรื่องของความรู้พื้นฐานทั้งฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ ถ้าทุกคนขยัน ทุกคนก็สามารถเรียนได้ อีกอย่างคงเป็นเรื่องของความชอบ ถ้าเราชอบทำงานด้านวิศวกร และสนใจด้านนิวเคลียร์และรังสีเป็นพิเศษ ตรงนี้ก็เป็นทางที่เหมาะกับนิสิตที่เข้ามาเรียนทุกคน แต่สิ่งที่สำคัญมากๆ สำหรับคนที่จะทำงานทางด้านนี้ผมว่าน่าจะเป็นความชอบในการแก้ปัญหา เวลาเห็นปัญหาแล้วเราอยากที่จะลองคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาหรือเปล่า ถือเป็นคุณสมบัติของวิศวะทุกสาขาเลยก็ว่าได้
เรื่องของตรรกะหรือ LOGIC ก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญสำหรับการทำงานวิศวกรทุกด้าน ซึ่งเป็นทักษะที่ไม่สามารถสอนกันโดยตรงได้ ต้องอาศัยการเรียนรู้และปรับตัวทำความเข้าใจด้วยตัวเอง”
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์แพทย์ เพ่งวาณิชย์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การต่อยอดในสายอาชีพ
“เมื่อก่อนคนอาจจะยังไม่รู้ว่าวิศวกรนิวเคลียร์และรังสีจะไปอยู่ที่ไหนบ้าง งานบางงานที่วิศวกรนิวเคลียร์และรังสีถนัด แต่เขาอาจไม่รู้ว่าอันนี้เป็นงานที่เราเชี่ยวชาญ เพราะเมื่อพูดถึงเรื่องนิวเคลียร์และรังสี ทุกคนจะคิดถึงเรื่องระเบิดหรืออุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซึ่งเป็นในแง่ลบส่วนใหญ่ แต่ศาสตร์ด้านนิวเคลียร์และรังสีถูกใช้มานานแล้วทั้งในและต่างประเทศ และไม่ได้เน้นไปที่ด้านพลังงานหรือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อย่างเดียว แต่รวมถึงการสร้างและการใช้อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับนิวเคลียร์และรังสีในด้านอื่นๆ ด้วย เช่น ในด้านอุตสาหกรรมเราสามารถเอารังสีไปช่วยในตรวจวัดสินค้าโดยไม่ทำลายหรือปรับปรุงวัสดุได้ ในด้านความมั่นคงก็มีการใช้รังสีสำหรับตรวจวัดคลังสินค้า ตรวจจับสารเสพติด
หรือพวกเครื่องเอ็กซเรย์ตามสนามบินที่เราเห็น หรือในด้านการแพทย์ก็มีการนำรังสีไปใช้ในการวินิจฉัยโรคและรักษามะเร็ง ซึ่งมันเป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ และเป็นสิ่งที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันของเราของเราอยู่แล้ว แต่คนทั่วไปอาจไม่รู้ว่านี่คือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ด้านนิวเคลียร์และรังสี”
สำหรับน้องๆ ที่สนใจในสายวิศวกรรมนิวเคลียร์
“สำหรับน้องๆ ที่สนใจในภาควิชาของเรา เราจะมีรหัสรับตรงแยกออกมา คือ จฬ007 จะเปิดในรอบที่ 3 และ 4 นี้ ทุกปีเราจะรับในระดับปริญญาตรีแค่ 20 คน ถ้าคิดว่ารู้ว่าวิศวกรรมนิวเคลียร์เรียนอะไรแล้วสนใจก็สมัครเข้ามาเลย หรือจะลองมางาน OPEN HOUSE หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ FB : NuclearChulaEngineering ก็ได้
แล้วตอนนี้ทางภาควิชาก็กำลังจะขยายในเรื่องเทคโนโลยีเครื่องเร่งอนุภาค โดยมีความร่วมมือกับประเทศจีน ที่ผ่านมานิสิตปริญญาโทและเอกของเราที่จบไปส่วนหนึ่งก็ทำงานในบริษัททางด้านเครื่องเร่งอนุภาคกันเยอะ เพราะเขาชอบวิศวกรจากภาควิชาของเรา ที่มีความรู้พื้นฐานทั้งในส่วนของไฟฟ้า เครื่องกล และรังสี ซึ่งการเรียนสามตัวนี้รวมกันจะเป็นพื้นฐานสำหรับคนที่เรียนนิวเคลียร์ ที่จะนำความรู้ทั้งหมดไปใช้ในเรื่องอื่นๆ ได้อีกด้วย”
เกี่ยวกับ วิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Facebook : Nuclear Engineering, Chulalongkorn University , www.ne.eng.chula.ac.th
ติดตามคอลัมน์อื่นๆ ได้ที่นิตยสาร Campus Star No.68 : www.facebook.com/campusstar