การจัดอันดับ การทำงาน คณะน่าเรียน นักศึกษาจบใหม่ อาชีพทำเงิน แนะแนวการศึกษา

9 สาขาวิชามาแรง ที่เรียนจบแล้วไม่ตกงาน – นายจ้างต้องการมากในปัจจุบัน

Home / ข่าวการศึกษา / 9 สาขาวิชามาแรง ที่เรียนจบแล้วไม่ตกงาน – นายจ้างต้องการมากในปัจจุบัน

ยิ่งยุคสมัยเปลี่ยนไป การที่เราจะเลือกเรียนอะไรต่อในระดับอุดมศึกษา นอกจากจะเลือกในสิ่งที่ตนเองชอบ ตนเองถนัดแล้ว อีกหนึ่งอย่างที่เราควรจะต้องดูด้วยนั่นก็คือ เรียนจบมาแล้วมีงานรองรับ ไม่ตกงาน เพราะว่าในยุคสมัยนี้มีนักศึกษาหลายคนทที่เรียนจบมาแล้วกลับหางานทำไม่ได้ หรือบางคนก็ได้งานไม่ตรงสายที่ตนเรียนมา – บทความ 9 สาขาวิชามาแรง ที่ เรียนจบแล้วไม่ตกงาน

9 สาขาวิชามาแรง เรียนจบแล้วไม่ตกงาน

นายจ้างต้องการมากในปัจจุบัน

ดังนั้นการที่เราจะเรียนต่ออะไรนั้นก็ต้องมีการวางแผนมองอนาคตข้างหน้าไว้ด้วยเช่นกัน และนี่คือ 9 สาขาวิชาที่เรียนจบมาแล้วมีงานรองรับ ไม่ตกงานแน่นอน พร้อมทั้งนี้ แคมปัส-สตาร์ ยังรวบรวมมหาวิทยาลัยที่เปิดการเรียนการสอนในสาขาวิชาเหล่านี้มาบอกกันอีกด้วย

1. วิศวกรรมซอฟต์แวร์

ในยุคโลกาภิวิฒน์ สำหรับอาชีพนักวิศกรซอฟต์แวร์และนักพัฒนา หรือสาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์กำลังเป็นสาขาที่มาแรงแซงทางโค้งหลายๆ คณะเลยทีเดียว หากเราได้เรียนจบทางด้านนี้มาโดยตรงรับรองได้เลยว่างานรุ่งพุ่งกระฉูดแน่นอน เพราะด้วยทุกวันนี้ซอฟต์แวร์มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้วิศกรซอฟต์แวร์เป็นที่ต้องการมากขึ้น เพราะต้องมากคอยควบคุมและดำเนินการผลิตนวัตกรรมต่างๆ

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน ได้แก่

  • คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
  • คณะสถิติประยุกต์ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ม.ราชภัฏเพชรบุรี
  • คณะเทคโนโลยีการอุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ม.ราชภัฏลำปาง
  • คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ม.ราชภัฏศรีสะเกษ
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์และความรู้ ม.เกษตรศาสตร์ บางเขน
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ม.ธรรมศาสตร์ ศูนยรังสิต
  • คณะวิทยาการสารสนเทศ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ม.บูรพา
  • คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ม.พะเยา
  • สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ม.แม่ฟ้าหลวง
  • สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ม.ลัยลักษณ์
  • วิทยาลัยนานาชาติ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ม.กรุงเทพ
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ม.นอร์ท-เชียงใหม่
  • คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ม.พายัพ

. . . . .

2. วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์

เป็นอีกหนึ่งสาขาวิชาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่ไม่ว่าเป็นประเทศไทยหรือประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ต่างก็ต้องการบุคลากรทางด้านนี้ ซึ่งเป็นสาขาที่แยกย่อยออกมาจากวิศกรรมไฟฟ้า ทำหน้าที่เกี่ยวกับการออกแบบ ควบคุม ทดสอบ เกี่ยวกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งผลิต ซ่อม และยังรวมถึงต้องทำการติดตั้งได้อีกด้วย

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน ได้แก่

  • คณะวิศกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • คณะวิศกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิคส์และโทรคมนาคม ม.เทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
  • คณะวิศกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิคส์และโทรคมนาคม ม.เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • คณะวิศกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ม.สยาม
  • คณะวิศกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

9 สาขาวิชามาแรง ที่เรียนจบออกมาแล้วไม่ตกงานแน่นอน

3. วิศวกรรมเครื่องกล

การปฏิวัติอุตสาหกรรม เป็นจุดเปลี่ยนแปลงที่นำเครื่องจักรมาทำงานแทนคนมากยิ่งขึ้น ทำให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกต้องการการพัฒนาอุปกรณ์การทำงานอย่างเครื่องจักรให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น จึงทำให้วิศวกรเครื่องกลเป็นที่ต้องการของตลาดทำงานและตามโรงงาน บริษัทต่างๆ เป็นจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว และเมื่อเทียบกับบุคลากรที่มีอยู่นั้น ในสาขานี้ก็ยังเป็นอาชีพที่ขาดแคลนอีกมากทีเดียว

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน ได้แก่

  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ม.รังสิต
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ม.มหาสารคาม
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ม.เกษตรศาสตร์
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ม.เทคโนโลยีสุรนารี
  • คณะวิศกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ม.เทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
  • คณะวิศกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ม.ธรรมศาสตร์
  • คณะวิศกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ม.เทคโนโลยีมหานคร
  • คณะวิศกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ม.ขอนแก่น
  • คณะวิศกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ม.ศรีนครินทรวิโรฒ

. . . . .

4. พยาบาลศาสตร์

เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่กำลังขาดแคลนบุคลากรในการทำงานเป็นจำนวนมากทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก ที่สำคัญอาชีพนี้มีค่าตอบแทนที่ค่อนข้างสูงมากเลยทีเดียว ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีในทุกวันนี้จะมีความก้าวหน้าและเข้ามามีบทบาทในการช่วยมนุษย์ทำงานมากยิ่งขึ้น แต่งานในบางส่วนเครื่องจักรหรือหุ่นยนต์ก็ไม่สามารถที่จะทำได้ เพราะด้วยในบางประเทศต้องการพยาบาลเพื่อไปเฝ้าไข้ผู้ป่วย หรือไปเยี่ยมเยียนผู้ป่วยตามบ้านด้วยนั่นเอง

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน ได้แก่

  • คณะพยาบาลศาสตร์ ม.ขอนแก่น
  • คณะพยาบาลศาสตร์ ม.เชียงใหม่
  • สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ ม.เทคโนโลยีสุรนารี
  • คณะพยาบาลศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
  • วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครพนม ม.นครพนม
  • คณะพยาบาลศาสตร์ ม.นราธิวาสราชนครินทร์
  • คณะพยาบาลศาสตร์ ม.นเรศวร
  • คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ ม.นวมินทราธิราช
  • คณะพยาบาลศาสตร์ ม.บูรพา
  • คณะพยาบาลศาสตร์ ม.พะเยา
  • คณะพยาบาลศาสตร์ ม.มหาสารคาม
  • คณะพยาบาลศาสตร์ ม.มหิดล
  • โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล
  • คณะพยาบาลศาสตร์ ม.สวนดุสิต
  • คณะพยาบาลศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ

. . . . .

5. แพทยศาสตร์

สำหรับทางการแพทย์ พบได้น้อยมากสำหรับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะแขนงใดแขนงหนึ่ง (ปกติแพทย์ก็มีรายได้ค่อนข้างสูงมากอยู่แล้ว) แต่หากได้เป็นแพทย์เฉพาะทาง ก็ย่อมมีรายได้ที่สูงเพิ่มขึ้นไปอีก หลายๆ คนอาจจะสงสัยว่าทำไมในแต่ละปีถึงได้ผลิตแพทย์ออกมาค่อนข้างน้อย เนื่องจากแพทย์เฉพาะทางเป็นอาชีพที่ต้องใช้เวลาในการเรียนค่อนข้างนานหลายปีกว่าแพทย์ทั่วไป ทำให้ผลิตแพทย์ออกมาได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการในปัจจุบัน

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน ได้แก่

  • คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล
  • คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
  • คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล
  • คณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์
  • คณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น พ.ศ. 2515
  • วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า สถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยมหิดล
  • คณะแพทยศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ
  • วิทยาลัยแพทยศาสตร์ ม.รังสิต
  • คณะแพทยศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
  • คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ม.นวมินทราธิราช
  • สำนักวิชาแพทยศาสตร์ ม.เทคโนโลยีสุรนารี
  • คณะแพทยศาสตร์ ม.นเรศวร
  • คณะแพทยศาสตร์ ม.บูรพา
  • วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข ม.อุบลราชธานี

. . . . .

6. วิศวกรรรมโยธา

อีกหนึ่งอาชีพที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ในการสนับสนุนกิจกการ ไม่ว่าจะเป็นทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน รวมไปถึงอุตสาหกรรมใหญ่ๆ จากทั่วโลก หลายๆ คนอาจมองว่ามันเกี่ยวข้องกันอย่างไร? ให้เราลองนึกในเชิงลึกดูว่า หากเราผลิตสินค้าแล้วกำลังจะส่งออกไปขายในสถานที่ต้องๆ แต่กลัยไม่มีเส้นทางให้รถของเราวิ่งส่งสินค้า แล้วอย่างงี้เราจะส่งสินค้าเข้าสู่ตลาดได้อย่างไร

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน ได้แก่

  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา ม.ศรีปทุม
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา ม.เกษตรศาสตร์ (บางเขน, กำแพงแสน, ศรีราชา,สกลนคร)
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา ม.เชียงใหม่
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา ม.ขอนแก่น
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา ม.ธรรมศาสตร์
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา ม.นเรศวร
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา ม.บูรพา
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา ม.มหิดล
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา ม.ศรีนครินทรวิโรฒ
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา ม.สงขลานครินทร์
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา ม.อุบลราชธานี

9 สาขาวิชามาแรง ที่เรียนจบออกมาแล้วไม่ตกงานแน่นอน

7. วิศวกรรมไฟฟ้า

สำหรับวิศวกรไฟฟ้านั้น จัดได้เลยว่าเป็นอีกหนึ่งสาขาของวิศวกรรมศาสตร์ ที่มีสาขาย่อยที่กว้างมากที่สุด โดยจะมีหลักสูตรและเน้นเนื้อหาเกี่ยวกับทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ ไฟฟ้าและคลื่น อีกทั้งกำลังเป็นที่ต้องการเป็นอย่างมากสำหรับตลาดอุตสาหกรรม

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน ได้แก่

  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า ม.เอเชียอาคเนย์
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า ม.ราชภัฏธนบุรี
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า ม.วลัยลักษณ์
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า ม.ธุรกิจบัณฑิตย์
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

. . . . .

8. เทคโนโลยีสารสนเทศ

ปัจจุบันการดำเนินงานในธุรกิจหรือองค์กรต่าง ๆ จะต้องอาศัยระบบไอทีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้จะทุ่มงบประมาณมากมายเพื่อที่จะวางระบบด้านไอทีเป็นอย่างดี แต่สำหรับในอาชีพนักวิเคราะห์ข้อมูลหรืองานด้านไอทีก็ยังขาดแคลนบุคลากรที่จะมาช่วยในการนำเสนอข้อมูลและการวิเคราะห์สถิติ ดังนั้นหากใครเรียนจบในด้านนี้มาก็ไม่ต้องกลัวตกงานเลย

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน ได้แก่

  • คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.เกษตรศาสตร์
  • คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.ขอนแก่น
  • คณะวิทยาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.ทักษิณ
  • คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.เทคโนสุรนารี
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.ธรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร
  • คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.นเรศวร
  • คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ม.มหิดล
  • คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.แม่โจ้

. . . . .

9. การบัญชี

สำหรับอาชีพนักบัญชี ไม่ว่าจะเป็นยุคไหนสมัยไหน ก็มีบทบาทสำคัญและเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานเป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าในปัจจุบันเทคโนโลยีต่างๆ จะมีบทบาทในการช่วยจัดเก็บหรือจดบันทึกให้ได้ก็ตาม แต่นั่นก็เป็นเพียงตัวช่วยอำนวยความสะดวกเท่านั้น เพราะจริง ๆ แล้วยังไงก็ต้องอาศัยนักบัญชี เพื่อเข้ามาจัดการในส่วนนี้อยู่ดี

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน ได้แก่

  • คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ม.ธรรมศาสตร์
  • คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาบัญชี ม.เกษตรศาสตร์
  • คณะการบัญชีและการจัดการ ม.มหาสารคาม
  • คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาบัญชี ม.เชียงใหม่
  • คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการบัญชี ม.รามคำแหง

ที่มา : moneyhub.in.th

บทความที่น่าสนใจ