สวัสดีค่ะ ชาวแคมปัส-สตาร์ ในบทความนี้เรามีข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติของนักศึกษาที่เรียนจบแล้วจะได้รับปริญญาเกียรตินิยม ในที่นี่เราขอนำข้อมูลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาให้ได้อ่านกันก่อนนะคะ สำหรับชาวแคมปัสฯ ที่เข้าศึกษาที่นี่และมีเป้าหมายอยากได้เกียรตินิยม ลองอ่านข้อมูลต่อไปนี้เพื่อเป็นแนวทางกันได้เลย
เกียรตินิยม ที่จุฬาฯ ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร?
มาตราตามความในมาตรา 21 (2) และมาตรา 62 แห่งประราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2521 สภามหาวิทยาลัยในการประชุมครั้งที่ 719 เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2552 มีมติให้ออกข้อบังคับไว้ดังนี้
ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า ”ข้อบังคับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยว่าด้วยการให้ปริญญาเกียรตินิยม พ.ศ. 2552”
ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ใช้บังคับตั้งแต่ปีการศึกษา 2553 เป็นต้นไป
ข้อ 3 ในข้อบังคับนี้ คณะ/นิสิต
“คณะ” ให้ความหมายรวมถึงส่วนงานที่มีการจัดการศึกษาในระดับชั้นปริญญาตรี
“นิสิต” หมายความว่า นิสิตที่ศึกษาในระดับชั้นปริญญาตรี
ข้อ 4 นิสิตที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีซึ่งจะได้รับปริญญาเกียรตินิยมต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) มีระยะการศึกษาไม่เกิน 4 ปีการศึกษาหรือเทียบเท่า สำหรับหลักสูตร 4 ปี
(2) มีระยะการศึกษาไม่เกิน 5 ปีการศึกษาหรือเทียบเท่า สำหรับหลักสูตร 5 ปี
(3) มีระยะการศึกษาไม่เกิน 6 ปีการศึกษาหรือเทียบเท่า สำหรับหลักสูตร 6 ปี
(4) มีระยะการศึกษาไม่เกิน 3 ปีการศึกษาหรือเทียบเท่า สำหรับหลักสูตรปริญญาที่สองหรือภาคบัณฑิตซึ่งมีกำหนดเวลาการศึกษา 3 ปี
การนับระยะเวลาการศึกษาตามวรรคหนึ่งมิให้นับภาคการศึกษาที่ได้รับอนุมัติให้ลาพักการศึกษาหรือภาคการศึกษาที่ได้รับอนุมัติ ให้ไปศึกษา ณ ต่างประเทศ ด้วยทุนแลกเปลี่ยนนิสิตนักศึกษาระหว่างประเทศ หรือทุนอื่นใดอันเป็นประโยชน์โดยตรงต่อการศึกษาระดับอุดมศึกษาของนิสิต ทั้งนี้ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารคณะ
ข้อ 5 นิสิตผู้ที่สมควรได้รับปริญญาเกียรตินิยมอันดับสอง
– จะต้องสอบได้จำนวนหน่วยกิตครบตามหลักสูตร และได้แต้มเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 3.25 ขึ้นไป และไม่มีรายวิชาใดได้สัญญลักษณ์ F หรือ U
ข้อ 6 นิสิตผู้ที่สมควรได้รับปริญญาเกียรตินิมยมอันดับหนึ่ง
– จะต้องสอบได้จำนวนหน่วยกิตครบตามหลักสูตร และได้แต้มเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 3.60 ขึ้นไป และไม่มีรายวิชาใดได้สัญญลักษณ์ F หรือ U
ข้อ 7 คณะอาจกำหนดคุณสมบัติของนิสิตผู้ที่สมควรได้รับปริญญาเกียรตินิยมเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ใน ข้อ 4 ข้อ 5 และข้อ 6 ได้ โดยได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมคณบดีและจัดทำเป็นประกาศมหาวิทยาลัย
ข้อ 8 ให้คณะกรรมการบริหารคณะหรือคณะกรรมการบริหารสำนักวิชาที่นิสิตสังกัด เป็นผู้พิจารณาเสนอชื่อนิสิตผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อบังคับนี้ ต่อสภามหาวิทยาลัย เพื่ออนุมัติปริญญาเกียรตินิยม
ข้อ 9 ให้อธิการบดีเป็นผู้รักษาการตามข้อบังคับนี้
บทเฉพาะกาล
ข้อ 10 การให้ปริญญาเกียรตินิยมแก่นิสิตที่เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยก่อนวันที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับมหาวิทยาลัยว่าด้วยการให้ปริญญาเกียรตินิยมซึ่งใช้บังคับอยู่ ณ วันที่นิสิตเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย
ประกาศ ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2552 จรัส สุวรรณเวลา (ศาสตราจารย์ นายแพทย์จรัส สุวรรณเวลา นายกสภามหาวิทยาลัย)
อ้างอิงจาก: reg.chula.ac.th
บทความแนะนำ
- แนะนำ คณะสวย บรรยากาศดี น่าเรียน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- เรื่องน่ารู้ ก่อนเข้าเรียนสาขาการบริหารธุรกิจ จุฬาฯ VS มศว
- วิธีการเดินทางไป จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (มีแผนที่ให้ด้วย) – CU
- สาวศิลปกรรม ผู้หลงรักการร้องเพลง อิ้งค์ วรันธร จุฬาฯ คฑากร รุ่น 70
- เทคนิคการเรียนสัตวแพทย์ ของคุณหมอนิสิต “เน๋ง-อะตอม” รั้วจุฬาฯ
- อิ้งค์ วรันธร นางเอก Snap คว้าเกียรตินิยมอันดับ 2 จุฬาฯ
- ปันปัน – เต็มฟ้า ลูกสาวแหวน ฐิติมา คว้าเกียรตินิยม จุฬาฯ