eau มหาวิทยาลัย เรื่องน่ารู้

40 เรื่องน่ารู้ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ที่เราไม่เคยรู้มาก่อน

Home / เรื่องเล่ามหาวิทยาลัย / 40 เรื่องน่ารู้ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ที่เราไม่เคยรู้มาก่อน

มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนอีกหนึ่งแห่งที่มีการเรียนการสอนที่ได้มาตราฐานและมีอุปกรณ์การเรียนที่ทันสมัยมากๆ อีกด้วย ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดย คุณชวน และคุณมานี ชวนิชย์ ซึ่งได้บริจาคทุนและที่ดินเพื่อจัดตั้งมหาวิทยาลัย และได้รับอนุญาตจากทบวงมหาวิทยาลัย ให้เปิดดำเนินการเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2539 นอกจากนี้ที่ยังเป็นมหาวิทยาลัยที่มีบรรยากาศน่าเรียน มีสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติเหมาะแต่การไปเรียนเป็นที่สุด

“อีสเทิร์นเอเชีย” มหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้

1. มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย เป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ก่อตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 16 เมษายน พ.ศ 2539

2. EAU ย่อมาจาก EASTERN ASIA UNIVERSITY

3. ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ ดอกสุพรรณิการ์หรือดอกฝ้ายคำ เป็นต้นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศทางตะวันตก แต่สามารถขยายพันธุ์และเติบโตแข็งแรงได้ในต่างถิ่น มีดอกสีเหลืองทอง กลีบอ่อนนุ่มซ้อนกัน 5 กลีบ และกลุ่มใบเป็น 5 แฉก หมายถึง ความเป็นสากลร่วมกันของสังคมโลก และสัมผัสทั้งห้าที่จะทำให้การศึกษาเจริญรุ่งเรือง

4. สีประจำมหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย คือ น้ำเงิน-ขาว แสดงถึงความเป็นนักปราชญ์ที่ทรงความรู้ และสง่างามด้วยมีปัญญาเป็นเครื่องประดับตน

5. ปรัชญามหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย “บ่อเกิดแห่งปัญญา คือการศึกษาที่ก้าวไกล”

6. มหาวิทยาลัยมีสระน้ำลึกหน้าตึก C ที่เกิดจากการขุดดินมาถมทำตึก

7. คณะที่เปิดทำการเรียนการสอน มีดังนี้

  • สถาบันนวัตกรรมทางการศึกษา
  • สถาบันภาษาและวัฒนธรรมเอเชียตะวันออก
  • คณะบริหารธุรกิจ อินเตอร์
  • คณะบริหารธุรกิจ
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์
  • คณะนิเทศศาสตร์
  • คณะศิลปศาสตร์
  • คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • คณะนิติศาสตร์
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • คณะการบิน
  • คณะเภสัชศาสตร์
  • คณะพยาบาลศาสตร์
  • คณะสาธารณสุขศาสตร์
  • บัณฑิตวิทยาลัย

8. มองจากทางเข้าฝั่งซ้ายจะติดกับศูนย์วิจัยข้าวจังหวัดปทุมธานี ฝั่งขวาติดกับหมู่บ้านสินธานีแกรนด์วิลล์

9. ทางเข้าทั้งสองข้างมีต้นไม้ดูร่มรื่นมากก สวยเลยทีเดียว ถ้าปลูกให้เป็นซู้มจะสวยกว่านี้เยอะ มีดอกไม้เล็กๆ น้อยๆ สวยงามมาก

10. ตึก C จะเป็นแหล่งรวมของเด็กวิศวะ

11. วิชาที่นักศึกษาวิศวะชอบเรียนซ้ำมากที่สุดคือ “แคลคูลัส”

12. มหาวิทยาลัยแห่งนี้ไม่ใช่แค่มหาวิทยาลัยเอกชน แต่เป็นมหาวิทยาลัยที่ให้ทั้งความรู้ ประสบการณ์ ภาษา วัฒนธรรม รุ่นพี่รุ่นน้อง และแสงสว่าง ความภูมิใจในสถาบัน นั่นหมายความว่าทำให้เรารู้ว่า เราไม่จะเป็นต้องจบมหาลัยรัฐ เราก็เป็นคนดี เป็นบุคคลชั้นนำ และตำแหน่งหน้าที่การงานที่ดีได้

13. หอสมุดกลางจะเป็นแหล่งมั่วสุม (ทางการเรียน) เมื่อใกล้เวลาสอบ ดังนั้นช่วงสอบทั้งห้องจะเต็มไปด้วยคนหัวฟู

14. หอสมุดกลาง มีห้องอินเทอร์เน็ต ห้องทีวี และมี DVD ภาพยนตร์ให้ยืม และโรงหนังสุดไฮเทค ไม่แปลกที่จะเห็นคนนอนหลับคาหอสมุด ก็แอร์เย็นเเถมโซฟานุ่มขนาดนั้น ไม่หลับได้ไง?!

15. ตึก M มีห้องประชุมที่ดัดเเปลงคล้ายโรงภาพยนตร์ เคยใช้เป็นห้องรับปริญาและใช้เป็นห้องแสดงละคร

16. เคยถามว่าทำไม? ทุกตึกในมหาวิทยาลัยต้องเป็นรูตรงกลางเหมือนโดนัท คำตอบคือ เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกและประหยัดพลังงานด้วย

17. ภายในตึก A มองเผินๆ นึกว่าห้าง ภายในสร้างเหมือนห้างสรรพสินค้ามาก ยกเว้นชั้น 3 ที่ออกแบบให้เหมือนเครื่องบิน เพราะเป็นที่เรียนของเหล่านักศึกษาการบินนั่นเอง

18. ข้างตึก A มีร้านถ่ายเอกสารที่แกรับถ่าย เข้าเล่มทุกอย่าง และทุกสำนักพิมพ์ โดยเฉพาะ Text book เล่มโตๆ นี่ถ้ามีการตรวจลิขสิทธ์เจ้แกโดนคนแรก 555+

19. ที่นี่ไม่มีตึกคณะ แต่ละตึกถูกจองและยึดอาณานิคมโดยคณะต่างๆ โดยนับจากจำนวนห้องปฏิบัติการในตึกนั้นๆ เช่น ตึก M ถูกเรียกว่าตึกพยาบาล ตึก C คนคิดว่าเป็นตึกวิศวกรรมศาสตร์ ทั้งๆ ที่มีสำนักงานของหลายคณะรวมอยู่ด้วยกัน เป็นต้น

20. ใครว่า 7-Eleven เปิดตลอด 24 ชั่วโมงแต่ 7 เว่นที่หอนาฬิกาปิด 3 ทุ่มน้า บางทีก็ 2 ทุ่มกว่าๆ มีที่นี่ ที่เดียวเท่านั้น!

21. ที่นี่ไม่ได้เปิดหอสมุด 24 ชั่วโมง ให้นักศึกษามาอ่านหนังสือและติวข้อสอบเหมือนมหาวิทยาลัยรัฐบาลบางที่ แต่หอพักคือทั้งหมดที่ว่ามา

22. หอพักนักศึกษาที่นี่ไม่มีเครื่องทำน้ำอุ่น แต่ได้อาบน้ำโครตอุ่นทุกวัน ก็เขาเอาถังน้ำแสตนเลสไว้ดาดฝ้าของหอขนาดนั้น เคยมีคนเปิดน้ำลองลวกมาม่าดู ปรากฏว่าสุกพร้อมรับประทานได้ 555+

23. คณะนิติศาสตร์และคณะรัฐประศาสนศาสตร์ เป็นคณะที่มีนักศึกษาจากภาคใต้มากกว่าภาคอื่น และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มีนักศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากกว่าภาคอื่น

24. วันรับปริญา มหาวิทยาลัยจะถูกเนรมิตให้เป็นสวนดอกไม้และซุ้มนานาชนิด ถูกดัดแปลงให้เข้ากับคอนเซปของแต่ละคณะ และจะมีผู้ปกครอง ครอบครัวของนักศึกษาเข้ามาถ่ายรูปกันอย่างมากมาย

25. นักศึกษาต่อเนื่อง หลักสูตร 3 ปี จะเรียน Section เดียวกันกับนักศึกษาภาคปกติ แต่มักจบพร้อมกับน้องหลักสูตร 4 ปี

26. วิชาปฏิบัตการเคมี คือวิชาที่ได้ใส่ชุดเหมือนเเพทย์ (ชุดกราว)

27. วิชาภาษาอังกฤษ น่าจะเป็นวิชาที่ได้เรียนปนกันทุกคณะ และแทนที่คณะอินเตอร์จะเรียนหนักสุด เขากลับเรียนง่ายสุด (แค่เป็นอังกฤษทุกวิชา ไม่มีไทยสักตัว)

28. ตึก C ช่วงเช้าต้องรอลิฟต์นาน เพราะคนเยอะมาก บางทีขึ้นบันไดดีกว่า ยิ่งช่วงสอบนะเยอะมากๆ

29. การลงทะเบียนเรียนที่นี่ไม่ต้องเเย่งกัน เพราะไม่มีวิชาไหนเต็มเลย

30. การเรียนซัมเมอร์ที่นี่ทำให้ได้เปรียบคนอื่น เพราะหายไปหลายหน่วยกิจเลย ตารางวันเปิดเทอมจะว่างมาก

31. นักศึกษาที่ออกค่ายวิทย์อาสา ส่วนมากเป็นคนที่ผ่านการรับน้อง และต้องหาทุนทรัพย์จากแหล่งต่างๆ ช่วยกัน

32. ที่นี่มีคณะบริหารธุรกิจ ภาคภาษาอังกฤษ หรือเรียกสั้นๆ ว่า “เด็กอินเตอร์” จะถูกมองว่าไฮโซกว่าคณะอื่น แต่จริงๆ ก็มาจากต่างจังหวัดทั้งนั้น น้อยคนที่เป็นเด็กกทม.

33. ละครของคณะนิเทศศาสตร์ต้องซื้อบัตรเข้าชม แต่ส่วนมากคนไม่ค่อยซื้อบัตร เพราะมีคนนั้นคนนี้เอามาให้อยู่เรื่อย

34. วันบายศรีสู่ขวัญของน้องๆ เฟรชชี่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นวันที่พี่ว๊ากพูดกับน้องๆเพราะมากเป็นวันแรกหลังจากที่ว๊ากมาเป็นเดือน

35. ทุกคนที่มาเรียนที่นี่หลายๆ สาเหตุแตกต่างกัน แต่หากได้สัมผัสที่นี่จะรักและหวงแหนภูมิใจในสถาบันแห่งนี้

36. อาคารเรียนที่นี่สวย ออกแบบได้ดี มีต้นไม้พอประมาณ นี่ถ้าปลูกต้นอินทผาลัม คนคงคิดว่าเป็นมหาวิทยาลัยโดฮาร์ หรือไม่ก็มหาวิทยาลัยดูไบแน่นอน

37. สะพานข้างสระน้ำ เก๋มาก ดูดีๆ โรเมนติกทีเดียว เเต่ดันไม่มีร่มไม้อะไรเลย เอ๊ะ!! หรือไม่ได้ทำให้คนนั่ง แต่ทำเพื่อนถ่ายรูป อิอิ

38. นักศึกษาที่เข้าเรียนสาย ส่วนมากจะไม่เข้าเรียนวิชานั้นเลย รอเรียนวิชาต่อไป เข้าไปก็โดนเพื่อนเเซว แถมอาจารย์บางท่านเล็ง…เกรดอีกด้วย (… คิดเอง)

39. เวลามาสอบ ใครลืมบัตรนักศึกษาโคตรซวยอ่ะ น้องๆ อย่าลืมบัตรนะ บัตรมันคือชีวิตในการสอบเลยของเด็ก EAU เลยนะ เพราะยังสามารถเอาไปดูหนัง ฟังเพลง เข้าห้องสมุดได้อีกด้วย

40. เด็กมหาวิทยาลัยนี้ทุกชั้นปี ทุกคณะต้องเรียนอิ้ง 5 ตัว เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ได้แก่ pep Eng 1-4 เยอะโคตร จะไม่จบเพราะ Eng นี่แหละ แต่สุดท้ายก็จบมาได้

—————————————

ข้อมูลจาก : ไร้สาระนุกรม (อัพเดทเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2559)