มาดูผลงานจากนิทรรศการงานแสดงผลงาน “ArtLab : Communication Design Thesis Exhibition 2016”ิ โดยนักศึกษาชั้นปี 4 หลักสูตรออกแบบนิเทศศิลป์ สาขาวิชาจิตรกรรมและศิลปกรรม วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดลกันดีกว่าว่า จะสร้างสรรค์ และได้รับแรงบันดาลใจมาจากที่ไหนกันบ้าง
มีดีต้องโชว์ ArtLab ของน้องๆมหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงาน : Upon A Doi / อัพออน อะ ดอย
เจ้าของผลงาน : เฮจิ อัน (HaeJi An)
แรงบันดาลใจในการสร้างผลงาน :
ถึงแม้ว่าเมืองไทยจะมีอาหารสถานที่ท่องเที่ยว และประเพณีที่หลากหลาย แต่น่าเสียดายที่วัยรุ่นสมัยใหม่กลับมีแนวโน้มที่จะเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศมากกว่าที่จะท่องเที่ยวในประเทศไทยซึ่งทำให้พวกเขาเหล่านั้นพลาดโอกาสที่จะเห็นทัศนียภาพความงดงามภายในประเทศ จุดประสงค์ของโปรเจคนี้คือการสร้างแคมเปญการท่องเที่ยวที่จะส่งเสริมให้คนไทยมีความต้องการที่จะเดินทางในประเทศไทยมุ่งเน้นไปเที่ยวบนดอย (ภูเขา) โดยมีการออกแบบเว็บไซต์ แอพพลิเคชั่นโทรศัพท์ (mockup) สื่อสิ่งพิมพ์เช่นชุดแผนที่ โปสการ์ด และแม่เหล็กตู้เย็น มาอยู่ในผลงาน ซึ่งได้รับอิทธิพลจาก 12 ชาวเขาเผ่าที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดอยในประเทศไทย
จุดเด่นของผลงานนี้:
จุดเด่นอยู่ที่การออกแบบลวดลายและไอคอน ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากชนเผ่าบนดอย ทำให้โปรเจคนี้ออกมาโดดเด่นทุกองค์ประกอบ ทั้งภาพ รูปแบบของเว็บไซต์และโทรศัพท์ถูกแบบออกมาให้ดูเรียบง่ายและทันสมัยเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้คนในยุคนี้
ความยากของผลงาน และผลการตอบรับที่ได้:
การทำโปรเจคนี้มี2อุปสรรคใหญ่ๆที่เจอคือ 1.ข้อมูลในอินเทอร์เน็ตมีน้อยมากๆ ทำให้ยากต่อการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องดอยต่างๆ 2.วิธีที่จะทำให้วัยรุ่นหันมาสนใจที่จะไปขึ้นดอย เราจึงทำแบบสอบถามออนไลน์ขึ้นมาเพื่อศึกษาความสนใจของคนรุ่นใหม่ ในยุคนี้และได้ไปขึ้นดอยต่างๆในประเทศไทยด้วยตัวเองเพื่อหาข้อมูลและเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวของแต่ละชนเผ่า ซึ่งผลตอบรับที่ได้จากนิทรรศการที่ได้นำผลงานไปแสดงที่สยามเซ็นเตอร์ช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาถือว่าดีมากๆ วัยรุ่นจำนวนมากได้ให้ความสนใจในโปรเจคนี้แม้กระทั่งผู้สูงอายุก็ได้ให้ความสนใจไม่น้อยเช่นกัน การขึ้นดอยเป็นสิ่งที่ค่อนข้างลำบาก ทั้งข้อมูลเกี่ยวกับดอยที่คนไม่ค่อยทราบ การเดินทางที่ยากลำบาก แต่ว่าโปรเจคนี้จะทำให้การขึ้นดอยเป็นสิ่งที่ง่ายขึ้น ผู้ใช้แอพฯสามารถแชร์ข้อมูลรูปภาพวิดีโอผ่านทางเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นบนมือถือเพื่อเป็นประโยชน์ให้กับคนอื่นๆ ผู้ที่มาที่บูธนิทรรศการต่างก็ให้กำลังใจและอยากให้ทำโปรเจคนี้ให้สำเร็จเพื่อที่จะได้ดาวน์โหลดใช้งานและเป็นส่วนหนึ่งของดอยคอมมูนิตี้นี้
ผลงาน : Why So Laos? / วาย โซ ลาว
เจ้าของผลงาน : เอิร์ก-ณัฐชลี โตรื่น
แรงบันดาลใจในการสร้างผลงาน :
เริ่มแรกเลยเอิร์กพยายามหาหัวข้อที่สามารถใช้การดีไซน์มาแก้ไขปัญหาสังคมต่างๆได้ เลยList ปัญหาต่างๆในสังคมไทยทำให้พบกว่าการแบ่งแยกเชื้อชาติถือเป็นหัวข้อที่สังเกตุได้ว่าเป็นอะไรที่คนไทยไม่ได้ให้ความสำคัญกับมันมากนักและเป็นเช่นนี้มาเป็นเวลานานคนไทยยังมีทัศนคติเชิงลบต่อประเทศเพื่อนบ้านหลายๆครั้งก็มักจะพูดถึงประเทศเพื่อนบ้านในเชิงหยอกล้อ ดูถูกเสียดสีโดยที่เราไม่ได้คิดอะไรกับสิ่งที่พูดหรือแสดงออกไปทั้งที่จริงแล้วมันสามารถส่งผลกระทบในหลายๆปัญหาได้ จึงหยิบเรื่องนี้ขึ้นมาเน้นไปที่ประเทศลาว เนื่องจากคำว่า ‘ลาว’ ถูกใช้เป็นคำพูดติดปากขำๆ ในหมู่วัยรุ่นไทย รวมไปถึงผู้ใหญ่บางกลุ่มด้วยจุดประสงค์หลักอาจจะไม่ได้ต้องการให้คนไทยห้ามพูดห้ามมีความรู้สึกไม่ดีต่อประเทศ หรือเชื้อชาตินั้นๆเลย แต่โปรเจตนี้จะเป็นเพียงแค่การจุดประเด็นเริ่มให้คนตระหนักถึงปัญหานี้มากกว่า จุดเด่นของผลงานนี้:
จุดเด่นอยู่ในเรื่องของการปรับเปลี่ยนมุมมองของคำว่า ‘ลาว’ และ ‘ประเทศลาว’ ไปในเชิงบวกกับ Concept ที่ว่า ‘Why so Laos? จากคำว่า ลาวจังว่ะ เป็น Why so cool!’ พวกกราฟฟิคต่างๆจึงเป็นมุมมองใหม่ๆ ที่คนไทยไม่เคยเห็น อย่างเช่น การใช้สีรวมถึงไอคอนที่แสดงถึงวัฒนธรรมความเป็นลาว ตัว Typeface ต่างๆที่เป็นเอกลักษณ์และคนลาวที่ได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นต่อคนไทยในเรื่องนี้ เอิร์กมองว่าโปรเจคนี้เป็นการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้กับประเทศลาวเลยก็ว่าได้เป็นการนำสิ่งดีๆที่โดนอคติบังตามานำเสนอและส่งต่อให้คนไทยได้เห็นว่าโลกมันเปลี่ยนไปแล้ว เราไม่ควรจะยึดติดกับสิ่งเดิมๆ ความยากของผลงาน และผลการตอบรับที่ได้:
สิ่งที่ยากที่สุดคือจุดเริ่มต้นTopic นี้เป็นเรื่อง Sensitive ทั้งต่อคนไทยและคนลาว เลยต้องระวัง Tone ในการนำเสนอทำยังไงให้ไม่เหมือนเป็นการต่อว่าคนไทย ทำยังไงให้เขาเชื่อเราให้เขาเห็นว่ามันเป็นปัญหาเหมือนที่เราคิด ก่อนจะทำเรื่องนี้เราได้ทำการ Survey มา มีคนจำนวนมากที่มองว่ามันเป็นเรื่องไร้สาระเป็นอะไรที่ห้ามไม่ได้ มันติดปากไปแล้วจะเสียเวลาไปแก้ปัญหาเรื่องนี้ทำไม เราก็ท้อตอนนี้มีคนพูดแบบนั้นเลยยิ่งต้อง Research ว่าคนพวกนี้เขาคิดยังไงอีก แล้วเราจะหาเหตุผลเหตุการณ์ที่ทำให้เขาเชื่อว่ามันเป็นปัญหาจริงๆได้อย่างไรเราไม่อยากทำให้คนที่มาดูงานรู้สึกสงสารประเทศเพื่อนบ้าน คนประเทศลาวแต่แค่อยากให้เขารู้สึกดีขึ้น และเปิดมุมมองใหม่ๆให้กับคนพวกนั้นสุดท้ายด้วยความเชื่อในหัวข้อนี้ และข้อมูลต่างๆที่ Research มามันมีน้ำหนักมากพอ มันทำให้โปรเจคนี้สำเร็จขึ้นมาสำหรับตอนนี้ก็สามารถติดตาม Why So Laos? ได้ที่www.whysolaos.com
ผลงาน : เพื่อนตาย
เจ้าของผลงาน : แจน-เกื้อขวัญ ลิมโปดม
แรงบันดาลใจในการสร้างผลงาน :
ถ้าพูดถึงปัญหาในปัจจุบัน ยังไงความตายก็เป็นหนึ่งปัญหาที่ใกล้ตัวเรามาก แต่ในสังคมไทย เราไม่ค่อยพูดถึงความตายกันมากนัก เราต่างมองความตายเป็นเรื่องน่ากลัวและอัปมงคล แต่ถึงยังไงก็ตาม ความตายก็เป็นเรื่องที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในชีวิตนี้ยังไงความตายก็ต้องมาหาเราอยู่ดีไม่ช้าก็เร็ว เราเลยอยากเปิดโอกาสให้คนได้มาทําความรู้จักความตายกันก่อน ได้มีเวลาคิดถึงความตายกันแต่เนินๆ เลยอยากทําหนังสือที่อ่านง่าย สนุก และใช้งานได้จริง โดยใช้คอนเซ็ปของการมองความตายเป็นเหมือน ‘เพื่อนแท้’ คนหนึ่ง
จุดเด่นของผลงานนี้:
จุดเด่นของงานนี้ตั้งใจจะใช้ภาพประกอบที่สดใส เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมายที่เป็นวัยรุ่น ใช้สีสันที่ดูสะดุดตา เช่นสีเหลืองกับดํา ซึ่งเป็นสีที่ได้รับแรงบรรดาลใจมาจากความมืดและแสงสว่าง บวกกับสีเทาอ่อน ที่มาจากเถ้ากระดูก เนื้อหาหลักๆจะถูกแบ่งออกเป็นสามบทใหญ่ๆ โดยคลอบคลุมตั้งแต่เรื่องทําการทําความรู้จัก วิธีคิดถึงความตาย ไปจนถึงการจัดงานศพ โดยใช้ภาพประกอบเป็นสื่อหลักที่จะช่วยให้ผู้อ่านสนใจ และเข้าใจได้ง่ายขึ้น
ความยากของผลงาน และผลการตอบรับที่ได้ :
อุปสรรค หรือปัญหาหลักในการทํางานนี้คือ การนําเรื่องที่เข้าใจยาก ซับซ้อน และละเอียดอ่อนมาเเปรมาสรุปให้คนเข้าใจได้ บางคนพอพูดถึงความตายก็เบนหน้าหนี มีท่าทีหวาดกลัว และยิ่งวัยรุ่นอย่างพวกเราเเล้ว การคิดเรื่องความตายคงเป็นเรื่องยาก การจัดงานศพแบบไหนอะไรยังไงก็คงจะจับต้นชนปลายไม่ถูก นอกเหนือจากอุปสรรคด้านเนื้อหาแล้วเวลาก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสําคัญในการทํางานให้ออกมาให้ได้อย่างที่ตั้งใจไว้แต่พอสำเร็จออกมาแล้วถือว่าได้รับผลการตอบรับส่วนใหญ่ที่ดีกว่าที่คาดไว้มาก นอกจากกลุ่มเป้าหมายหลักที่เป็นวัยรุ่น ยังมีทั้งเด็กประถม มัธยม และผู้ใหญ่ ที่ให้ความสนใจ และมองว่ามันเป็นเรื่องที่ตัวเองก็ไม่เคยได้มีโอกาสคิดถึงหรือวางแผนอะไรไว้เหมือนกัน มีแค่คนกลุ่มน้อยที่ยังคิดว่า ความตายเป็นเรื่องที่น่ากลัวเอามากๆ และยังไม่พร้อมจะคิดถึงอยู่ดี ซึ่งขั้นต่อไปในการต่อยอดงานนี้ คงจะเป็นการทําเล่มต่อ เพิ่มเนื้อหาที่ละเอียด หรือลึกขึ้น อาจจะทําเป็นเพจหรืออัพโหลดเป็น E-Book ออนไลน์ ให้คนได้เข้าถึงหรือมาอ่านกั นได้ เราอยากให้งานที่เราทําเป็นประโยชน์กับคนอื่นไม่มากก็น้อย