การจัดอันดับ นักเรียน ประเทศสิงคโปร์ ม.ปลาย ระบบการศึกษา

สิงคโปร์ ขึ้นแท่นอันดับ 1 ม.ปลายดีที่สุดในโลก – เวียดนามแซงขึ้น ไทยอันดับร่วง

Home / ข่าวการศึกษา / สิงคโปร์ ขึ้นแท่นอันดับ 1 ม.ปลายดีที่สุดในโลก – เวียดนามแซงขึ้น ไทยอันดับร่วง

ม.ปลายดีที่สุดในโลก – เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ที่ผ่านมา นายภาวิช ทองโรจน์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD) ได้ทำการเปิดเผยข้อมูลจากรายงาน Universal Basic Skills What Countries Stand To Gain

สิงคโปร์ อันดับ 1 ม.ปลายดีที่สุดในโลก

ซึ่งได้มีการวิเคราะห์และจัดอันดับระบบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายใน 76 ประเทศทั่วโลก และพบว่ามี 20 ประเทศอันดับแรก ที่สามารถจัดระบบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายดีที่สุดในโลก ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

20 อันดับ ประเทศที่มีระบบการศึกษา ม.ปลาย ดีที่สุด

อันดับ 1 ประเทศสิงคโปร์
อันดับ 2 เกาะฮ่องกง
อันดับ 3 ประเทศเกาหลี
อันดับ 4 ประเทศญี่ปุ่น
อันดับ 5 ประเทศไต้หวัน
อันดับ 6 ประเทศฟินแลนด์
อันดับ 7 ประเทศเอสโตเนีย
อันดับ 8 ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
อันดับ 9 ประเทศเนเธอร์แลนด์
อันดับ 10 ประเทศแคนาดา

อันดับ 11 ประเทศโปแลนด์
อันดับ 12 ประเทศเวียดนาม
อันดับ 13 ประเทศเยอรมนี
อันดับ 14 ประเทศออสเตรเลีย
อันดับ 15 ประเทศไอร์แลนด์
อันดับ 16 ประเทศเบลเยียม
อันดับ 17 ประเทศนิวซีแลนด์
อันดับ 18 ประเทศสโลวีเนีย
อันดับ 19 ประเทศออสเตรีย
อันดับ 20 ประเทศอังกฤษ

ม.ปลายดีที่สุดในโลก

ม.ปลายดีที่สุดในโลก

โดยประเทศที่น่าจับมองมากที่สุดในปีนี้ก็คือ ประเทศเวียดนาม ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 12 ในขณะที่ประเทศไทย ตกไปอยู่ในอันดับที่ 47 ดีกว่าประเทศมาเลเซียอยู่ไม่มากนัก และเชื่อว่าอีกไม่นาน ประเทศมาเลเซียจะสามารถพัฒนาระบบการศึกษาขึ้นมาได้เทียบเท่ากับประเทศไทย เพราะในขณะนี้ประเทศมาเลเซียได้อยู่ระหว่างการเร่งปฏิรูปการศึกษาให้มีมาตรฐานมากยิ่งขึ้น เพื่อให้การศึกษาเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศในอนาคต

ทั้งนี้ นายภาวิช ยังได้กล่าวต่ออีกว่า ผลการจัดอันดับดังกล่าวเป็นการนำข้อมูลการทดสอบ ทั้งโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (Programme for International Student Assessment หรือ PISA) และการสอบภายในประเทศ เช่น การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET มาวิเคราะห์และนำมาจัดอันดับ เป็นต้น ซึ่งผลที่ออกมาไม่เป็นที่น่าแปลกใจมากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับการจัดอันดับการจัดการศึกษาในระดับนานาชาติของหน่วยงานอื่น ก็พบว่าไทยอยู่ในอันดับรั้งท้ายเท่ากับว่าการพัฒนาของเราหยุดนิ่งขณะที่ประเทศอื่นๆ กำลังเดินไปข้างหน้า ดังนั้นจะทำให้ส่งผลต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ ทั่วโลกจะมองข้ามประเทศไทย

โดยปัจจุบันจะเห็นได้ว่าภาคอุตสาหกรรมหลักหลายประเภท ที่เคยมีฐานการผลิตในประเทศไทย เริ่มย้ายฐานการผลิตไปในประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น ดังนั้น จึงควรหันกลับมาเร่งพัฒนาการจัดการศึกษาอย่างจริงจัง โดยเฉพาะนโยบายการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ของพล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่ค่อนข้างน่าเป็นห่วง ไม่ว่ารัฐบาลจะบอกว่า ประชาชนเห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าว แต่ถ้าไปสอบครูในพื้นที่ จะพบว่าส่วนใหญ่ยังไม่มีความพร้อม เพราะยังเน้นจัดการเรียนการสอนตามเนื้อหาวิชาเป็นหลักอยู่

“โดยหลักการแล้ว เราเห็นด้วยว่า เด็กไทยทุกวันนี้เรียนมากเกินไป แต่การลดเวลาเรียนต้องทำอย่างเป็นระบบ แบบค่อยเป็นค่อยไป เพราะหลักสูตรปัจจุบันจัดการเรียนการสอนโดยเน้นเนื้อหาสาระเป็นหลัก ดังนั้น การปรับลำดับแรกจึงควรสร้างหลักสูตรใหม่ ที่ลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหา และจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาที่เรียน

โดยบางวิชาที่เคยเรียนในห้องเรียน ก็สามารถนำมาจัดกิจกรรมนอกห้องเรียนได้ เช่น การทดลองทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น โดยที่ผ่านมาผมได้จัดทำหลักสูตรใหม่ ที่ลดเวลาเรียนลงเหลือ 660 ชั่วโมงต่อปี รวมถึงมีตัวอย่างกิจกรรมที่สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาเรียน เสนอให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อนำมาปรับใช้แล้ว แต่คิดว่า ขณะนี้ สพฐ. เองคงยังไม่กล้านำหลักสูตรที่ผมเสนอไปมาดำเนินการ” นายภาวิชกล่าว

ที่มา : มติชนออนไลน์ , http://www.oecd.org

บทความแนะนำ