เมื่อยุคสมัยเปลี่ยน เทรนด์ด้านการศึกษาก็ย่อมเปลี่ยนตามไปด้วย และจะเป็นอย่างไรเมื่อเด็กยุค 4.0 เริ่มที่จะหันมาให้ความสนใจอาชีพด้านการขายของออนไลน์หรือทำธุรกิจส่วนตัวมากกว่า การเรียนแพทย์ เพราะเรียนยาก ทำงานหนัก และได้รับค่าตอบแทนไม่ดีเท่ากับอาชีพอื่น ๆ
จะเป็นอย่างไร? เมื่อเด็กยุคใหม่ เลือกเรียนแพทย์น้อย
ทางด้าน นางสาววัฒนาพร สุขพรต ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้กล่าวถึง สถานการณ์การศึกษาในปัจจุบันว่าน่าเป็นห่วงอย่างมาก โดยมหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการปิดตัวลงไปเป็นจำนวนมาก
ส่วนประเทศไทยนั้นก็ได้มีการคาดการณ์ว่า ในอนาคตอันใกล้นี้จะต้องมีการปิดหรือยุบมหาวิทยาลัยอย่างแน่นอน เพราะมีการลงทุนที่สูง ในขณะที่ภาคการผลิตบัณฑิตนั้นก็ไม่เข้าเป้า สวนทางกับจำนวนอาจารย์ที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
มหาวิทยาลัยต้องเน้นการวิจัยมากขึ้น…
ส่งผลทำให้มหาวิทยาลัยใหญ่ ๆ หลายแห่งอาจจะต้องเน้นการวิจัยมากกว่าการผลิตบัณฑิตที่ไม่ตอบโจทย์ต่อความต้องการของตลาดแรงงาน ร่วมกับการพัฒนาประเทศไทยไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 ให้ได้ ที่สำคัญก็คือต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอนควบคู่กับการให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติจริง ร่วมกับภาคเอกชนต่าง ๆ เพราะถ้าหากเราผลิตบัณฑิตโดยไม่สนใจภาคเอกชนเลยก็เท่ากับว่า เราผลิตบัณฑิตที่ไม่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน
เด็กรุ่นใหม่เลือกทำงานและเรียนไปด้วยมากกว่า
ซึ่งก็ไม่ได้มีปัจจัยเพียงเท่านี้ที่ทำให้มีเด็ก ๆ สนใจเรียนแพทย์น้อยลง เพราะได้มีการคาดการณ์เอาไว้อีกว่าในอนาคตเด็ก ๆ จะไม่มาเรียนในมหาวิทยาลัยหรือในห้องเรียนเพียงอย่างเดียวแล้ว แต่เลือกที่จะทำงานไปด้วยและเรียนไปด้วย ดังนั้น มหาวิทยาลัยต่าง ๆ จึงได้มีการปรับกระบวนการเรียนการสอนและหันมาร่วมมือกับภาคเอกชนมากยิ่งขึ้น
พร้อมทั้งยังได้มีกระแสข่าวออกมาอีกด้วยว่า แพทย์ เป็นอะไรที่เรียนยากมาก ทำงานหนัก แต่เงินเดือนไม่ได้ดีไปกว่าอาชีพอื่น ๆ สักเท่าไหร่เลย เพราะในทุกวันนี้เด็ก ๆ รุ่นใหม่เริ่มที่จะสนใจเรื่องผลประโยชน์และค่าตอบแทนมากกว่า เช่น การขายของออนไลน์ผ่านหน้าเว็บไซต์หรือทางโซเชียลสามารถทำเงินได้ดีกว่าการเป็นแพทย์ และการทำธุรกิจส่วนตัวก็สามารทำรายได้ต่อเดือนได้ค่อยข้างสูงมากกว่า เป็นต้น
จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่เด็ก ๆ จะเริ่มคิดเปลี่ยนจากการเรียนแพทย์ มาเรียนด้านอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น มหาวิทยาลัยในอนาคตจะต้องเหลือการผลิตบัณฑิตเฉพาะที่ชำนาญเท่านั้น ไม่อย่างงั้นจะไม่สามารถหาผู้เรียนได้ตามจำนวนที่ถูกกำหนดมา
** แต่ทั้งนี้ก็เป็นการคาดการณ์เท่านั้น เราจะต้องรอดูกันต่อไปว่าในอนาคตการเลือกเรียนต่อแพทย์ของเด็ก ๆ รุ่นใหม่ จะน้อยหรือเพิ่มมากขึ้น
สกอ. ชี้เด็กไทยไม่สนใจเรียน ‘แพทย์’ เหตุเงินไม่มากงานเพียบ
Link : seeme.me/ch/goodmorningthailand/MRWlKd
เลือกเรียนแพทย์ ต้องสอบอะไรบ้าง ?
รับตรงผ่าน กสพท เป็นสนามสอบเข้าเรียนต่อคณะแพทยศาสตร์ ยังรวมถึงคณะทันตแพทย์ สัตวแพทย์ และเภสัชศาสตร์ อีกด้วย ใครสามารถสอบเข้าเรียนแพทย์ได้บ้าง มาดูกันเลย…
1. รับทั้งเด็กที่จบสายวิทย์-คณิตฯ และสายศิลป์ ส่วนเด็กซิ่วที่ยังเรียนอยู่ในปี 1 สมัครได้ไม่ต้องลาออก และต้องไม่ศึกษาอยู่ในคณะที่ต้องการสมัครใหม่ด้วย
2. GPAX เกรดเฉลี่ยสะสมระดับ ม.ปลาย
3. ต้องมีคะแนนสอบ 9 วิชาสามัญ ต้องมีวิชาที่ใช้ในการพิจารณาดังนี้
- วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา) : 40%
- คณิตศาสตร์ 1 : 20%
- ภาษาอังกฤษ : 20%
- ภาษาไทย : 10%
- สังคมศึกษา : 10%
4. คะแนนสอบวิชาความถนัดแพทย์ : 30 %
5. ผลคะแนนสอบ O-NET ( วิทย์ คณิต อังกฤษ ไทย สังคม) รวมกันต้องได้ 60 % หรือ 300 คะแนน (ทั้งนี้คะแนน O-NET จะขึ้นอยู่กับแต่ละมหาวิทยาลัยกำหนดค่าคะแนนที่ต้องการ น้อง ๆ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษานั้น ๆ ได้เลยค่ะ) ** ทั้งนี้เกณฑ์ที่ใช้คัดเลือกในแต่ละปี อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้
ข้อมูลจาก : www.nationalhealth.or.th, news.mthai.com
บทความที่น่าสนใจ
- เรียนแพทย์ 6 ปี ต้องเจออะไรบ้าง? ใช้คะแนนอะไรในการสอบเข้า? | มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน
- สาขามีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ สาขาน่าเรียนจาก ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- ว่าที่คุณหมอจะต้องรู้ วิชาความถนัดแพทย์คืออะไร? เตรียมตัวให้พร้อมก่อนสอบ
- 6 ลักษณะนิสัยที่ดี ที่ควรมีของคนอยากเรียนต่อแพทย์
- อัปเดต ค่าเทอม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่างๆ ปีการศึกษา 2562
- ไขข้อสงสัย 6 ข้อแตกต่างของการเป็น จิตแพทย์ – นักจิตวิทยา
- เรียนเภสัชศาสตร์ 6 ปีต้องเจออะไรบ้าง? เลือกเรียนที่ไหนดี? จบแล้วทำงานที่ไหนได้บ้าง?
- พยาบาลศาสตร์ คณะในฝันของใครหลาย ๆ คน ที่อยากจะเข้าศึกษาต่อ | ม.ที่เปิดสอน
- สาธารณสุขศาสตร์ คณะน่าเรียน สำหรับคนที่ชอบงานวิจัย วิเคราะห์ ตรวจสอบ และป้องกัน