kmutt คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มจธ สาขาน่าเรียน สาขาวิชามีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์

สาขามีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ อีกหนึ่งสาขาน่าเรียนจาก ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

Home / ข่าวการศึกษา / สาขามีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ อีกหนึ่งสาขาน่าเรียนจาก ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

อย่างที่เรารู้กันดีอยู่แล้วว่าการเรียนเกี่ยวกับร่างกายของมนุษย์นั้นเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อนและมีคำศัพท์แปลกๆ ให้เราได้เรียนรู้กันอยู่ตลอดเวลา แต่จะดีแค่ไหนหากมีสื่อที่ช่วยทำให้การเรียนรู้เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่ง่ายและเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีจึงได้มีการเปิดสาขาวิชามีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ขึ้นมา ซึ่งถูกบรรจุอยู่ในคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี

สาขาวิชามีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์

สำหรับหลักสูตรการเรียนการสอนนี้ จะมุ่งเน้นให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถและมีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ การผลิตสื่อทางการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งเป็นการเน้นการผลิตผลงานสื่อด้านเสียง กราฟิก ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวทั้ง 2D และ 3D

โดยจะสามารถนำมาบูรณาการให้เข้ากับศาสตร์ทางการแพทย์ในการผลิตสื่อการเรียนรู้ การวินิจฉัย การนำเสนอ การประสัมพันธ์และการทำงานวิจัย เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานการดำเนินงานทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขให้มีมาตรฐานเดียวกัน สามารถนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนศาสตร์ด้านมีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ให้กับสังคมได้ ตลอดจนเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษาทุกคนมีคุณธรรม จริยธรรม และรู้จักรับผิดชอบต่อสังคม

“สูตรการเคลื่อนที่” เลือกสูตรไม่เป็น แทนค่าก็ผิด ต้องดู!!

ปี 1 – ปี 4 เรียนอะไรบ้าง?

โดยในปีหนึ่ง จะเป็นการเรียนรู้ในขั้นพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการวาดภาพ พื้นฐานการถ่ายภาพ การสร้างภาพกราฟิก โดยการใช้โปรแกรม Illustrator และ Photoshop ฯลฯ พอขึ้นปีสองมานั้นจะเรีนนลงลึกและยากมากยิ่งขึ้น ทั้งการวาดภาพทางการแพทย์ น้องๆ จะได้ออกไปที่พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์ ศิริราช เรียนรู้วิธีการถ่ายภาพทางการแพทย์แบบ CSI หรือเรียกว่าการถ่ายภาพนิติเวช ถ่ายภาพเวชนิทัศน์ ถ่ายภาพการชันสูตรศพ รวมถึงการทำภาพกราฟิกเพื่อใช้ทำสื่อสิ่งพิมพ์ นิตยสาร และเรียนปั้นโมเดลทางการแพทย์ตั้งแต่พื้นฐาน ปั้นนูนสูง นูนต่ำ ฯลฯ

จากนั้นในปีที่สาม น้องๆ ก็จะได้เรียนเกี่ยวกับโมเดลทางการแพทย์ที่ยากขึ้นและมีความละเอียดเพิ่มมากขึ้น เรียนรู้วิธีการสร้างภาพยนตร์ (ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เกี่ยวกับทางการแพทย์มากนักก็ตาม) แต่น้องๆ ก็ต้องเรียนรู้เพราะจะช่วยให้เราสามารถวางพล็อตเรื่อง วางแผนการนำเสนอเนื้อเรื่อง เพิ่อนำมาใช้ในการประยุกต์ใช้งานในการสร้างสื่อการเรียนรู้ทางการแพทย์ นอกจากนี้เรายังจะได้เรียนรู้วิธีการสร้างแอนิเมชันทั้ง 2D และ 3D อีกด้วย และในส่วนของเนื้อหาทางด้านการแพทย์น้องๆ จะได้เรียนรู้ตั้งแต่ปีหนึ่งจนถึงปีสาม เทอมละ 1 ตัว คือวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา ส่วนในชั้นปีที่สี่ จะเป็นการฝึกงานพร้อมกับการทำโปรเจคก่อนจบการศึกษา

ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรอยู่ที่ประมาณ : 306,000 บาท หรือประมาณ 38, 250 บาทต่อเทอม

คุณสมบัติของผู้สมัคร : ต้องสำเร็จการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (ม.ปลาย) / คณิตศาสตร์-ภาษาอังกฤษ (ม.ปลาย) / ภาษาอังกฤษ-ภาษาต่างประเทศ (ม.ปลาย) / ภาษาอังกฤษ-สังคมศาสตร์ (ม.ปลาย) / ปวช. สาขาที่เกี่ยวข้อง

คะแนนที่ใช้ในการสมัคร : 

1. GPAX 20%

2. O-NET 30%

3. GAT 10%

4. PAT6 (ศิลปศาตร์) 40%

จำได้ภายใน 3 นาที สรุปกรด-เบส คำนวนการผสม แบบโมลเท่า

เรียนจบแล้ว ประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง?

1. นักวิชาการโสตทัศนศึกษาทางการแพทย์ ในสถาบันการศึกษาทางการแพทย์และสาธารณสุขต่างๆ เช่น คณะแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะเทคนิคการแพทย์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ฯลฯ ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ

2. ช่างภาพการแพทย์ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (ระดับโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลต่างๆ) และบางส่วนในสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม

3. หน่วยงานการศึกษาของรัฐและเอกชนที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการผลิตสื่อการเรียนการสอนผ่านเว็บ เช่น โครงการเรียนรู้ออนไลน์แห่ง สวทช. เป็นต้น

4. ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของโรงพยาบาลและหน่วยงานสาธารณสุข

5. นักสร้างหุ่นจำลองทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ ในสถานพยาบาลหรือหน่วยงานทางธุรกิจ

6. ผู้ช่วยสอน / เจ้าหน้าที่ ในสถาบันการศึกษาทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ เช่น มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ฯลฯ

7. ผู้ช่วยนักวิจัยทางด้านคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีมีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์

8. ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์

9. ผู้ผลิตงานคอมพิวเตอร์กราฟิกและมัลติมีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์

10. บริษัทรับจัดงานแสดงสินค้าและนิทรรศการทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์

11. เจ้าของกิจการป้ายและอุปกรณ์พลาสติกทางการแพทย์ เช่น ตู้พลาสติก ฯลฯ

12. เป็นเจ้าของกิจการ เช่น โปรดัคชันเฮาส์ผลิตสื่อทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ ฯลฯ

13. กราฟิกดีไซน์เนอร์ อาร์ตไดเร็คเตอร์ และครีเอทีฟ ในโปรดัคชันเฮาส์และบริษัทโฆษณา

14. นักออกแบบโมเดลสำหรับงานภาพยนตร์และงานโฆษณาทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์

Illustrator Basic : การทำภาพสมมาตรแบบ Real-time โดย ครูเอก

น้องๆ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดทั้งหมดได้ที่ : http://web.kmutt.ac.th

เว็บไซต์คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี  http://www.fiet.kmutt.ac.th

น้องๆ สามารถสมัครเข้าเรียนได้ที่ : http://admission.kmutt.ac.th

บทความที่น่าสนใจ

Written by : Toey