อีกหนึ่งเรื่องที่สร้างความสับสนให้กับใครหลาย ๆ คนได้ คือ การเขียนภาษาไทย ซึ่งเวลาเขียนก็มักจะลังเลกันว่าจะใช้คำไหนดีอยู่หลายครั้ง และการเขียนที่คนสับสนอยู่บ่อย ๆ ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องหลักการใช้คำบุพบทอย่างแน่นอนค่ะ เพราะคำบุพบท 1 คำ ล้วนใช้เชื่อมความหมายได้เยอะมาก ซึ่งสามารถใช้เชื่อมได้ทั้งคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา หรือใช้กับคำวิเศษณ์ให้เกิดความหมายในการสื่อสาร แต่ถ้าน้อง ๆ หยิบคำเหล่านี้มาใช้อย่างผิด ๆ ความหมายที่เราต้องการจะสื่อสาร ก็จะสื่อสารไม่รู้เรื่องไปกันใหญ่
แด่ แต่ แก่ ต่อ สรุปใช้อย่างไรกันแน่
โดยเฉพาะคำว่า แด่ แต่ แก่ ต่อ ที่หลายคนใช้กันแบบผิด ๆ บ่อยมาก วันนี้เลยหยิบหลักการใช้ที่ถูกต้องมาแบ่งปันกันค่ะ
มาดูหลักการใช้ที่ถูกต้องกัน
คำว่า แด่
เป็นคำบุพบทที่ใช้แทนความหมายถึงผู้รับ โดยจะใช้ในกรณีที่ผู้รับเป็นบุคคลที่เคารพ และมีสถานะสูงกว่า เช่น ฉันมอบดอกไม้แด่คุณครู, เธอตั้งใจเขียนการด์แด่พ่อ และแม่ เป็นต้น
คำว่า แต่
เป็นคำบุพบทที่ใช้เชื่อมคำนาม เพื่อใช้บอกเวลา เช่น เขามาโรงเรียนแต่เช้าเลย, ฝนตกตั้งแต่เช้าจนถึงเย็นแล้ว
คำว่า แก่
เป็นคำบุพบทที่ใช้แทนความหมายถึงผู้รับ โดยจะใช้ในกรณีที่ผู้รับเป็นบุคคลที่มีอายุน้อยกว่า หรือมีสถานะน้อยกว่าผู้พูด เช่น ฉันซื้อขนมมาแจกให้แก่เด็ก ๆ , ครูให้รางวัลแก่เด็กนักเรียนเป็นประจำ
คำว่า ต่อ
เป็นคำบุพบทที่ใช้เชื่อมคำนามเข้าด้วยกัน เพื่อแสดงความหมายของการมอบสิ่งของให้ต่อหน้า หรืออยู่ในบริบทของการประจันหน้า เช่น ทุกคนควรซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ของตนเอง, เด็กนักเรียนแสดงความเคารพต่อหน้าครูใหญ่
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ? สำหรับหลักการใช้คำบุพบทแบบจำง่ายที่เอามาฝากกัน ยิ่งฝึกใช้บ่อย ๆ รับรองเลยว่าใช้ถูกต้องขึ้นอย่างแน่นอน สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่อยากติวหลักภาษาไทยเพิ่มกันต่อ แนะนำคอร์สติวดี ๆ ที่มาพร้อม แนวข้อสอบปีก่อนเอาไว้ฝึกทำกันอีกด้วยนะ มาเรียนออนไลน์ได้ที่นี่ TUTOR ME