นักศึกษาแพทย์ อ่านหนังสือสอบ

เทคนิคอ่านหนังสือสอบ ของนักศึกษาแพทย์ | อ่าน 15 ชม. ก่อนสอบ แบบไม่ง่วงไม่หลับ

Home / วาไรตี้ / เทคนิคอ่านหนังสือสอบ ของนักศึกษาแพทย์ | อ่าน 15 ชม. ก่อนสอบ แบบไม่ง่วงไม่หลับ

น้องๆ เพื่อนๆ คนไหนที่มักจะมีปัญหาในการอ่านหนังสือสอบ เช่น เพิ่งจะเริ่มอ่านได้ 2 บรรทัดตาก็จะปิดซะละ นอนอ่านบทเตียงจะแทบจะหัวคว่ำให้ได้ เป็นแบบนี้คงไม่ได้การ วันนี้เราเลยหยิบ เทคนิคอ่านหนังสือสอบ ไม่ง่วงไม่หลับ ฉบับนักศึกษาแพทย์! มาฝากเพื่อนๆ กันค่ะ เผื่อใครลองนำไปใช้อาจจะได้ผลก็ได้นะ >,<

เทคนิคอ่านหนังสือสอบ นักศึกษาแพทย์

เทคนิคอ่านหนังสือสอบ ไม่ง่วงไม่หลับ ฉบับนักศึกษาแพทย์! นี้แนะนำให้ใช้กับการอ่านหนังสือแบบ เหลืออีก 1 คืนก่อนสอบจิงๆ แล้วอ่านไม่ทันแล้ว จะดีกว่า ก่อนที่จะเป็น side effect คือ หน้าจะแก่ก่อนวัยนะคะ ไม่แนะนำให้ใช้บ่อยๆ แก้โดยกรึ้บแบรนด์สักเล็กน้อย ให้มันพอมีแร่ธาตุ โซเดียม โพแทสเซียม รูบิเดียม ซิเซียม ฟรานเซียม ในร่างกายบ้าง โอ๊ะโอว .. มาเริ่มกนัเลย

สิ่งที่ต้องเตรียม

กาแฟกาเฟอีนสูง พาราเซตามอล ยาลดกรด กลูโคสอะไรก็ได้สักขวด(ให้น้ำตาลสมองบ้าง)

เริ่มที่ 18.00 น. อีก 15 ชั่วโมงก่อนสอบ (กรณีสอบ 9 โมง)

– นอนก่อนตอนหัวค่ำสัก ครึ่ง-1 ชั่วโมง

19.00น.

– คราวนี้ก็ไป เซเว่น เลือกตู้ที่มี คาเฟอีน สูงๆหน่อย

– แนะนำให้ไม่ต่ำกว่า 70 mg/100 ml อันนี้ก็แล้วแต่ threshold ของแต่ละคนอะน้า

– เอามาเก็บไว้ก่อนอย่าเพิ่งกิน

– ตอนนี้รีบอ่านหนังสือเลย พอชักกรุ้มกริ่มๆ ก็ไปอาบน้ำสะ

21.00น.

– ต้องสระผมด้วยนะ เอาให้เปียก อย่าเช็ด เด๋วแห้งแล้วหลับ หวีได้นะ แต่หวีตอนเปียกจะทำให้ผมร่วงง่ายด้วยน้า

เทคนิคตอนอ่าน

– ตอนอ่าน ห้าม! สงสัย สงสัยแล้วเดี๋ยวยาว มันเขียนยังไงจำไปยังงั้นเลย

– ข้อสอบเขียนจำหัวข้อสะหน่อย ข้อสอบช้อยท์จำแต่ตัวหน้าพอ

– พอสักก่อนเที่ยงคืนมันจะเบลอๆละ ให้ไปเอากาแฟมากรึ้บสักครึ่งนึงแต่ต้องเอาให้ถึง therapeutic dose นะ

– มันจะง่วงอยู่สักครึ่งชั่วโมง พอหลังจากนั้นจะเริ่มคึกๆ

อ่านหนังสือสอบนักศึกษาแพท

00.00 น.

– ถ้าคึกกินไปจนอ่านหนังสือไม่ได้ ก็ไปเดิน/วิ่งรอบหอสักเล็กน้อย

– พอกลับมาจะเริ่มหิว ห้ามกินเด็ดขาด ยิ่งกินยิ่งง่วง

– ให้มันหิวๆ แบบเนี่ยะจะพออ่านได้สักชั่วโมงกว่าๆ ก็ไปกินกาแฟต่อให้หมด

2.00 น.

– ช่วงนี้กาแฟจะทำงานได้เต็มที่ ประกอบกับ ชีทที่อ่านไปยังไม่ถึงครึ่งนึงก็ยิ่ง alert ใหญ่ (ประมาณตี4ละนะ)

04.00-06.00

– ตี 4-6 นี้อันตรายมาก มันจะหลอกให้เราเข้าใจว่า นี่เพิ่งหัวค่ำ อยู่ พอฟ้าสว่างปุ๊บ เราจะเกิดอาการ shock จากภาวะแพ้แสงทันที (ยังไม่อยากให้เช้าเล้ย) ประกอบกับอาการท้องอืดเล็กน้อย แนะนำให้ กิน อลั่มมิ้นท์ ลดกรด

07.00 น.

– พอ 7 โมงเช้า หัวจะหนักๆ ละ ไม่ไหวจิงๆก็นอนสัก ครึ่งชั่วโมง แต่ต้ออ่านให้จบก่อนนะ ถึงนอนตายตาหลับ

– 7 โมงครึ่งตื่นมาด้วยอาหารช๊อคสุดขีด ใจสั่น (จากกาแฟ) ก็อาบน้ำให้มันตื่นเต็มตาซะหน่อย

– ช่วงนี้จะเริ่มปวดหัวละ ให้กินไทลินอล สัก 1 เม็ด
– นั่งอ่านต่อเก็บประเด็น

08.00 น.

ก็ไปห้องสอบละ

12.00 น.

สอบเสร็จ sympathetic (ระบบประสาทซิมพาธีติก) หมดฤทธิ์ละ จะตามมาด้วยอาการ shock กับที่ตัวเองทำไป

notice : sympathetic (ระบบประสาทซิมพาธีติก)

คือ ควบคุมการทำงานของเนื้อเยื่อ/อวัยวะภายในร่างกายทั้งหมด ที่สำคัญ คือหัวใจ การหายใจ กระเพาะอาหารและลำไส้ ต่อมเหงื่อ และการหลั่งฮอร์โมนของต่อมหมวกไต โดยเฉพาะเมื่อมีอารมณ์ปลุกเร้าต่างๆ เช่น กลัว ตกใจ โดยจะกระตุ้นให้ต่อมหมวกไตสร้างสารแอดรีนาลิน (Adrenalin) ที่จะกระตุ้นการทำงานของหัวใจ และของหลอดเลือด รวมทั้งเพิ่มการใช้พลังงานจากน้ำตาลของร่างกาย บางคนจึงเรียกว่า เป็นระบบประสาทแห่งการต่อสู้ (Fight-or-fight response)

จะสังเกตว่า ภาษาข้างบนที่อ่านๆมามันจะมึนๆหน่อยนะ สมองมันล้าไม่ไหวละ เอริ้ก ไปทำแล็บต่อละ จบดื้อๆ

ขอขอบคุณเทคนิคดีดีในการอ่านหนังสือจาก พี่กุ๋ย นักศึกษาแพทย์ มหาวิทยาลัย บูรพา