เพราะหัวใจของการขับเคลื่อน “ธุรกิจสตาร์ทอัพ” ให้สามารถเติบโตและไปต่อได้นั้นคือ “วิทยาศาสตร์ และ ธุรกิจ” เพราะความรู้เฉพาะทาง หลักคิดที่เป็นเหตุและผล ความคิดสร้างสรรค์ และความรู้ด้านมาร์เก็ตติ้ง มีส่วนสำคัญในการหลอมรวมเป็นความรู้ที่สดใหม่ ผลักดันธุรกิจให้ฉายแววและแตกต่างจากธุรกิจอื่น อ่านบทความ.. เรียนวิทย์ฯ ก็เป็นเจ้าของธุรกิจได้ SCI+BUSINESS สกิลครบเครื่องของเด็กรุ่นใหม่
เรียนวิทย์ฯ ก็เป็นเจ้าของธุรกิจได้
วิทยาศาสตร์ กับ ธุรกิจ สกิลครบเครื่องของเด็กรุ่นใหม่ โมเดล นิวนอร์มอล ของการเรียนที่ วิทยาศาสตร์ฯ มธ.
แต่ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่จบสาขาเฉพาะทาง แต่มีแนวคิดประกอบธุรกิจหรือตั้งเป้าเติบโตในสายงานสตาร์ทอัพ มีความจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติม ผ่านการเรียนคอร์สออนไลน์ หรือรับชมแบบ LIVE Stream (รับชมแบบถ่ายทอดสด) จากหลากหลายแห่ง เพื่อเติมเต็มทักษะด้านดังกล่าว ให้เกิดเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพที่สร้างรายได้ในอนาคต
ซึ่งปัญหาการเทคคอร์ส (Take Course) เพื่อ Up Skill และ Re Skill จำนวนมากในหลายสถาบัน อาจส่งผลต่อการจัดสรรเวลาได้ แต่ที่ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือ SCI-TU สถาบันการศึกษาด้านวิทย์-เทคโนโลยี ที่มีความพร้อมในการปลุกปั้นคุณให้ก้าวข้ามข้อจำกัด และฉีกกรอบภาพจำของการเรียนวิทย์ที่ต้องทำงานในห้องแล็บ สู่การเป็น “เจ้าของธุรกิจสตาร์ทอัพ” ภายใต้แนวคิด “SCI+BUSINESS” ด้วยการขมวดรวมความรู้ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้ากับความรู้ด้านธุรกิจได้อย่างลงตัว ในเวลา 4 ปีการศึกษา !
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐธนนท์ หงส์วริทธิ์ธร คณบดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. (SCI-TU) เล่าว่า ด้วยเป้าหมายของการผลิต SCI+BUSINESS ในทุกสาขา ให้เข้มข้นด้วยองค์ความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผ่านการเรียนรู้ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ พร้อมทั้งหล่อหลอมให้เกิดแนวคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative Thinking) ที่สามารถผสานความรู้ต่างสาขา
อย่าง “หลักสูตรบริหารธุรกิจ” ภายใต้ความร่วมมือกับวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานภายนอก จนนำไปสู่สตาร์ทอัพสายวิทย์ และผลิตบัณฑิตวิทย์ ที่มีความสามารถด้านการปรับตัวได้อย่างคล่องแคล่ว แม้โลกการทำงาน การทำธุรกิจจะเปลี่ยนแปลง หรือกระทั่งเกิดการดิสรัปในอนาคต สะท้อนผ่านผลสำเร็จของ คณาจารย์นักวิจัย นักศึกษาปัจจุบัน รวมถึงศิษย์เก่า “นักวิทย์คิดประกอบการ” ที่สามารถผลิดอกออกผลความรู้ สู่ “ไอเดียนวัตกรรม” “ธุรกิจสตาร์ทอัพ” หรือ “นวัตกรรมเชิงพาณิชย์” ได้อย่างโดดเด่น อาทิ
สตาร์ทอัพด้านคณิตศาสตร์
ขึ้นชื่อว่าศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขและหลักสถิติหลากรูปแบบ อาจจะเป็นข้อจำกัดสำหรับใครหลายคนที่มองว่า เป็นเรื่องยากต่อการพัฒนาสู่นวัตกรรมใหม่ แต่ที่ SCI-TU สอนให้นักศึกษามองโลกอย่างลึกซึ้ง หยิบยกปัญหาเป็นโจทย์พัฒนางานวิจัย กระทั่ง นักศึกษาหลักสูตรวิทยาการประกันภัย สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ ในชื่อทีม ‘Kidi kids’ สามารถคว้า รางวัลชนะเลิศ จากผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 60 ทีม บนเวทีประกวดนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการประกันภัย (OIC InsurTech Award 2019) ด้วยไอเดียนวัตกรรม ‘ประกันสุขภาพเด็กระยะสั้น’ แอปฯ ประกันสุขภาพแบบใหม่ ที่ตอบสนองความต้องการและตรงตามความเสี่ยงของผู้บริโภค และช่วยให้บริษัทประกันภัยสามารถคำนวณเบี้ยได้ตรงตามความเสี่ยงของผู้เอาประกันภัย พร้อมลดอัตราการเกิดความเสียหาย (Loss ratio) ของบริษัทประกันภัยได้อีกทางหนึ่ง
สตาร์ทอัพด้านเกษตร
ด้วยความเข้มแข็งด้านวัตถุดิบอาหารและผลผลิตทางการเกษตร ไทย เป็นผลให้นักวิจัย SCI-TU มีโจทย์ในการเรียนรู้และตั้งสมมติฐาน เพื่อพัฒนานวัตกรรมเสริมความเข้มแข็งเกษตรกรไทยจำนวนมาก อาทิ ‘สมาร์ทฟาร์มคิท’ (Smart Farm Kit) อุปกรณ์ควบคุมการรดน้ำอัจฉริยะ ต้นทุนต่ำ สร้างความยั่งยืนเกษตรกรไทย ที่นักวิจัยได้ผสานความรู้เชิงลึกเรื่องพืช ถึงความต้องการน้ำ อัตราความชื้นที่พืชต้องการ ร่วมกับความรู้ด้านซอฟต์แวร์ และ IoT เพื่อสั่งการเปิด-ปิดน้ำผ่านแอปฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ‘แพคเกจทุเรียนเก็บกลิ่น 100%’ พร้อมรักษาความสดนาน 2 เดือน แพคเกจจิ้ง สำหรับเก็บรักษาคุณภาพทุเรียนปอกเปลือกพร้อมบริโภคสด ด้วยเทคโนโลยี Active ที่สามารถดูดซับกลิ่นทุเรียนได้ 100%
สตาร์ทอัพด้านการแพทย์
ด้วยนโยบายของคณะ ที่ตั้งเป้าพัฒนาเด็กวิทย์ให้มีทักษะในการบูรณาการความรู้ต่างสาขาที่เรียน รวมถึงต่างคณะ สู่การต่อยอดนวัตกรรมใหม่ ที่เอื้อต่อการใช้ประโยชน์ของสังคมในบริบท ต่าง ๆ อีกทั้งองค์ประกอบหนึ่งของการพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ คือ พื้นฐานความรู้ด้านวิทย์-เทคโนโลยี คณาจารย์นักวิจัย และนักศึกษา ของ SCI-TU จึงมีผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับด้านดังกล่าวในหลายรูปแบบ อาทิ
- ‘THAMMASK’ หน้ากากผ้ากันน้ำสำหรับแพทย์ไทย ที่ใช้ซ้ำและซักได้สูงสุด 30 ครั้ง ผลลัพธ์จากการศึกษาเชิงลึกถึงคุณสมบัติของสิ่งทอ สู่การผลิตหน้ากากผ้าเพื่อแพทย์ไทยยามวิกฤต
- ‘TATIP’ แอปฯ คัดกรองและวิเคราะห์ขนาดของต้อเนื้อ เพื่อช่วยคัดกรองผู้ป่วยโรคต้อเนื้อ และช่วยวัดขนาดต้อเนื้อให้มีความแม่นยำ หรือใกล้เคียงกับผลวิเคราะห์ของแพทย์มากที่สุด โดยเป็นผลงานการพัฒนาระหว่างนักศึกษาวิทยาการคอมพิวเตอร์ กับคณาจารย์จักษุแพทย์ รพ. ธรรมศาสตร์ ที่ได้ให้การสนับสนุนภาพต้อเนื้อกว่า 50-100 ภาพ
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา SCI-TU สามารถผลักดันนักศึกษา ในการต่อยอดความรู้สู่ “ธุรกิจสตาร์ทอัพ” การันตีด้วยรางวัลจากเวทีประกวดนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ ระดับประเทศและนานาชาติจำนวนมาก อาทิ
- เมโลดี้ เฟรช (Melody Fresh) นวัตกรรมสเปรย์จากสารเคลือบมหัศจรรย์จากกากรำข้าว ยืดอายุดอกไม้ ผลไม้ รวมถึงผลผลิตทางการเกษตร ให้คงสภาพสดใหม่ สวยงามต้านกาลเวลา พลิกวิกฤตกากรำข้าวเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตน้ำมันรำข้าว มาต่อยอดให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
- มังคุดโยเกิร์ตอบกรอบ สูตรซินไบโอติก (Mangosteen vegan yoghurt snack (formula: synbiotic)) ขนมทางเลือกใหม่สำหรับคนรักสุขภาพ ด้วยการนำเนื้อมังคุดฟรีซดรายคุณภาพดีที่มีชิ้นขนาดเล็ก และไม่สามารถนำไปจำหน่ายเป็นเนื้อมังคุดฟรีซดรายเกรดพรีเมี่ยมได้
- รวมถึงโยเกิร์ตถั่วเหลือง มาพัฒนาสูตรผ่านกระบวนการผลิตและแปรรูปที่ช่วยเพิ่มมูลค่า ฯลฯ
นอกจากนี้ คณาจารย์ SCI-TU ยังสามารถต่อยอดความเชี่ยวชาญ ผ่านการพัฒนางานวิจัยร่วมกับภาคเอกชน-อุตสาหกรรม เพื่อเสริมศักยภาพภาคการผลิตในมิติของการลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าการผลิต หลากรูปแบบ อาทิ นวัตกรรมกล่องเก็บลำไยสด ต่ออายุ Shelf life 120 วัน นวัตกรรม Active Packaging สำหรับลำไย ไม่รมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GMP และ HACCPs
โดยนวัตกรรมดังกล่าว ทางทีมวิจัยสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ บริษัท สยามเมอริทพลัส จำกัด เรียบร้อยแล้ว ไรซ์เบอร์รี่สเปรด (Riceberry Spread) แยมข้าวไรซ์เบอร์รี่น้ำตาลต่ำ-ให้พลังงานต่ำ มาพร้อมคุณค่าทางโภชนาการสูง และกระตุ้นระบบขับถ่าย โดยนวัตกรรมซุปเปอร์ฟู้ด เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่าง ทีมวิจัยสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร และบริษัท เคซีจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด (KCG)
อัลบั้มภาพ 12 ภาพ
“การเรียนวิทยาศาสตร์ ถือเป็นสิ่งที่สนุกและท้าทาย แต่ทั้งนี้สิ่งสำคัญที่สุด คือต้องมาเรียนด้วยความชอบ จึงจะทำให้มีแรงบันดาลใจในการเรียน หากเด็ก ๆ คนไหนยังไม่มั่นใจว่าชอบเรียนวิทยาศาสตร์ฯ จริงหรือไม่นั้น สามารถร่วมกิจกรรมเข้าค่ายที่แต่ละสาขาจัดขึ้น เพื่อลองดูว่าเนื้อหาที่ต้องเรียนเป็นอย่างไร ไปสัมผัสประสบการณ์ตรงจากรุ่นพี่ที่เรียนมาก่อน ก็จะช่วยให้ตอบตัวเองได้มากขึ้น ส่วนใครที่รู้ตัวว่าชอบเรียนวิทย์แน่ ๆ เราอาจจะได้พบกันที่ SCI-TU ครับ” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐธนนท์ กล่าวทิ้งท้าย
สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจศึกษาต่อ SCI-TU สามารถตรวจสอบคุณสมบัติและสมัครเรียนออนไลน์ ได้ที่ TCAS รอบ 5 ผ่าน www.mytcas.com ได้ระหว่างวันที่ 9-30 มิถุนายน 2563 ติดตามความเคลื่อนไหวกิจกรรมของ SCI-TU ได้ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ www.facebook.com/ScienceThammasat และ https://sci.tu.ac.th
บทความแนะนำ
- สาขาการตลาด (Marketing) เรียนได้ที่ไหน จบแล้วทํางานอะไร
- บทเรียนออนไลน์ เรียนฟรี สำหรับเด็กจบใหม่ จากเว็บไซต์ Google
- แนะนำ 5 เว็บไซต์เรียนออนไลน์ พัฒนาทักษะ เพิ่มพูนความรู้ | บทเรียนสอนเป็นภาษาอังกฤษ
- เหตุผลที่ทุกคนควรเรียนรู้เรื่องเงิน ตั้งแต่ยังอายุน้อยๆ – ความรู้พื้นฐานด้านการเงิน
- เปิดแรงบันดาลใจเด็กวิทย์ มธ. สูตรพันธุ์ใหม่ สู่อาชีพนักนวัตกรรมอาหาร