ผลงานการออกแบบสถาปัตยกรรมลักษณะรูปแบบอาคารบ้านเรือนที่น่าสนใจจากว่าที่บัณฑิต ‘โจ้-ณัฐวุฒิ บุญมีโชติ’ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาออกแบบภายใน มหาวิทยาลัยศรีปทุม ที่ใส่ใจทุกรายละเอียด กับการออกแบบให้ห้องหนึ่งห้องให้เป็นเสมือนบ้าน และยังอุุดมไปด้วยธรรมชาติรอบตัว
โจ้-ณัฐวุฒิ บุญมีโชติ’ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์สุดเจ๋ง
ชื่อผลงาน : โครงการเสนอแนะออกแบบภายในโรงแรม @คลองวาฬ บูทีค (THE INTERIOR DESIGN PROPOSAL PROJECT OF @ KLONGWAN BOUTIQUE HOTEL)
แรงบันดาลใจในการสร้างผลงาน :
แรงบันดาลใจมาจากตัวพื้นที่ตั้งของโครงการ ซึ่งอยู่ใจกลางของชุมชนคลองวาฬ เป็นที่ๆ อยู่ติดกับธรรมชาติ และแห่งท่องเที่ยว มีถนนสายหลักสู่ชุมชมเก่าแก่ ควรค่าแก่การอนุรักษ์สิ่งที่มีอยู่คู่กับชุมชน โดยเริ่มต้นชุมชนมีแผนการพัฒนาชุมชนในด้านการท่องเที่ยว ลดมลภาวะให้กับชุมชนอยู่แล้ว ทำให้เกินเส้นทางเดินจักรยานไปตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ทำให้เกิดแนวคิด SENSE OF KLONGWAN ในการนำเอาเอกลักษณ์ของชุมคลองวาฬ (Sense of place) บวกกับแผนพัฒนาชุมชนคลองวาฬในด้านการท่องเที่ยว (Sense of nature) ที่คำนึงถึงธรรมชาติโดยรอบ นำมาใช้เป็นแนวความคิดในการออกแบบโครงการเสนอแนะออกแบบภายในโรงแรม @คลองวาฬ บูทีค โดยจะนำเอาวัสดุพื้นฐานท้องถิ่งมาเป็นอุปกรณ์ประกอบภายในโครงการ เพื่อเป็นการสื่อถึงความเป็นชุมชนคลองวาฬให้ได้มากที่สุด
จุดเด่นของผลงานนี้ :
จุดเด่นเป็นการนำเอา กลิ่นอายของความเป็นพื้นถิ่นของชุมชนคลองวาฬ อีกทั้งยังแสดง “อัตลักษณ์” ของโครงการ ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากความเป็น “ชุมชนคลองวาฬ” ออกไปอย่างมีตัวตน และกลมกลืนกับบริบทโดยรอบ โดยได้สร้างพื้นที่โดยคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งมิติแดด และลม ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามวันและเวลา เพื่อทำให้ SPACE แตกต่างอยู่เสมอ เป็นการเชื่อม SPACE ภายในและภายนอก INSIDE OUT OUTSIDE IN อีกทั้งยังส่งเสริมแผนพัฒนาชุมชนคลองวาฬในด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในการท่องเที่ยว คือ เส้นทางจักยาน (BIKE ROAD) เป็นสถานที่พักผ่อน เพื่อกลุ่มนักปั่น และนักท่องเที่ยวทั่วไป
ความยากของการสร้างสรรค์ผลงานนี้ :
จากการศึกษาข้อมูลการออกแบบ ทำให้เกิดการรวบรวมข้อมูล นำมาสู่การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ศึกษาจากกรณีศึกษา ผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ (Programming) และหลักการออกแบบของ Eco Design จนนำมาสู่ การลงสำรวจพื้นที่ของสถานที่ตั้งของโครงการ และสภาพแวดล้อมรอบๆ โครงการ เพื่อนำไปสู่การออกแบบ โดยคำนึงถึงหลักความเป็นจริง ทำให้มีอุปสรรคในการทำงาน และมีการแก้ไขขั้นตอนในการออกแบบ เพื่อนำมาสู่ผลสรุปในการออกแบบของโครงการ
หากจะให้ออกแบบห้องพักสำหรับนักศึกษา เพื่อให้ตอบโจทย์ต่อนักศึกษามากที่สุด :
จากประสบการณ์ที่ผ่านมาที่ศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัย ผมเองก็ได้พักอาศัยอยู่ที่หอพักใกล้มหาวิทยาลัย และจากการเรียน สาขาวิชาออกแบบภายใน ทำให้ผมคิดย้อนกลับไป หากจะให้ออกแบบหอพักให้ตรงต่อความต้องการของนักศึกษาคงมีหลากหลายแบบมากๆ เพราะแต่ละคนมีความต้องการแตกต่างกันไป แต่ถ้าจะลองยกตัวอย่างเป็นตัวผมเอง หรือเด็กคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ก็คงอยากออกแบบหอพักโดยคำนึงถึงหลักการใช้งานต่างๆ ของพื้นที่ใช้สอย ภายในห้องให้มากที่สุด โดยจะออกแบบให้ห้องนอนแบ่งเป็นสัดเป็นส่วน เช่น พื้นที่ทำงาน พื้นที่พักผ่อน และอื่นๆ (หากมีเพื่อนผู้ร่วมอาศัย) เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่ต้องการพื้นที่ในการทำงาน มากกว่าพื้นที่พักผ่อนเป็นพิเศษ
ฝากถึงน้องๆ ที่สนใจ :
ฝากถึงน้องๆ ที่รักและชอบในงานออกแบบ ที่ชอบสร้างความสุขให้กับเพื่อนมนุษย์ หากน้องๆ สนใจจะเรียนด้านนี้สิ่งที่จำเป็นต้องมี คือ ความคิดที่สร้างสรรค์ และมีพื้นฐานเป็นคนชอบค้นคว้าศึกษาหาข้อมูลใหม่ๆ อยู่เสมอ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ ในงานออกแบบอยู่อย่างสม่ำเสมอ