การประกอบวิชาชีพ การออกแบบชุมชนเมือง หากมองในแง่ขอบเขตการทำงานด้านวิชาชีพแล้ว มีมากมายหลายด้าน ซึ่งรวมไปถึงการเขียนแผนนโยบายสำหรับการพัฒนาโครงการออกแบบชุมชนเมือง การวางแผนการดำเนินการเพื่อศึกษาความเป็นไปได้โครงการและการประเมินผล
โดยยังรวมถึงการเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำและอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับการพัฒนาเมือง แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนในท้องถิ่นนั้น ๆ ซึ่งแนวทางสำหรับการประกอบวิชาชีพการออกแบบชุมชนเมือง จำเป็นจะต้องได้รับการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาญในวิชาชีพ
การออกแบบชุมชนเมือง สถาปัตยกรรม
โดยปกติผู้ที่จะประกอบอาชีพจะต้องจบการศึกษาในระดับปริญญาตรีใน สาขา สถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม ระดับประกาศนียบัตร (Diploma) ด้านการออกแบบชุมชนเมือง หรือศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ในสาขาด้านการวางแผนเมือง
และภายหลังการศึกษาจะต้องสอบเพื่อขอรับใบรับรองประกอบวิชาชีพในสาขาการออกแบบชุมชนเมือง เพื่อประกอบอาชีพตามขอบเขตที่กฎหมายกำหนด โดยขั้นตอนของการเป็นนักออกแบบชุมชนเมือง มี 10 ขั้นตอน ประกอบด้วย
1. การประเมินผล (Assess)
ในเบื้องต้น ผู้ที่จะประกอบอาชีพจะต้องมีความสามารถและความถนัดที่เกี่ยวข้องกับการเป็นนักออกแบบชุมชนเมือง ได้แก่ ทักษะทางด้านการวางผังและออกแบบ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดกลุ่มอาคารและการแบ่งแยกประเภทตามรหัส (Codes Building)
ทักษะด้านการวิเคราะห์และสังเคราะห์ ทักษะความสามารถในการสื่อสารและการเขียน โดยเกี่ยวข้องกับการทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้นำประชาสังคม และทักษะการใช้โปรแกรมที่เกี่ยวข้องในงานวางผังและออกแบบชุมชนเมือง รวมถึง เช่น การใช้ระบบฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ การใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อการจัดทำแผนที่ฐานข้อมูล เป็นต้น
2. การรับรอง (Get)
การได้รับรองรับรองทางด้านปริญญา โดยเฉพาะสาขาวิชาการออกแบบชุมชนเมือง ควรผ่านการเรียนรู้และศึกษาในรายวิชาที่ครอบคลุมในสาขาวิชาดังต่อไปนี้ตลอดหลักสูตร ได้แก่ การออกแบบสถาปัตยกรรม การผังเมือง ภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อม วิศวกรรมศาสตร์ และภูมิสถาปัตยกรรม เป็นต้น
3. การตัดสินใจ (Decide)
การตัดสินใจในการเลือกประกอบวิชาชีพ โดยเฉพาะความเชี่ยวชาญด้านอื่น ๆ ในสายงานออกแบบชุมชนเมืองนั้นมีหลากหลายแนวทาง ขึ้นอยู่กับความสนใจพิเศษเฉพาะด้าน โดยอาจารย์สามารถส่งเสริมให้นักศึกษามุ่งเน้นในสาขานั้น ๆ ตามความสนใจและเลือกประกอบอาชีพตามแนวทางนั้น ๆ
4. การเตรียมการ (Arrange)
การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ในระหว่างการศึกษา ในบริษัทที่ปรึกษาด้านการวางผังและออกแบบ ถือเป็นขั้นตอนแรกของการฝึกฝนเพื่อเรียนรู้ทักษะที่สำคัญสำหรับการออกแบบชุมชนเมืองจากการปฏิบัติการภาคสนาม
5. การพิจารณา (Consider)
การวางแผนเพื่อการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ในสาขาการออกแบบชุมชนเมือง จะมีความสำคัญมากสำหรับความก้าวหน้าในการทำงานในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งจะมีความรับผิดชอบที่มากขึ้นตามตำแหน่งงานนั้น ๆ
6. การเตรียมพร้อม (Become)
การเป็นนักออกแบบชุมชนเมือง จำเป็นต้องได้รับการทดสอบคุณสมบัติเบื้องต้น โดยต้องผ่านการทำงานและเรียนรู้เพื่อเข้าสู่กระบวนการรับรองคุณสมบัติของการรับใบรับรองการประกอบวิชาชีพใน สาขา การออกแบบชุมชนเมือง โดยมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ถือเป็นการการันตีและสร้างความก้าวหน้าในอาชีพ
7. การได้รับการยอมรับ (Recognize)
ผู้ที่ผ่านคุณสมบัติเบื้องต้นจะต้องทำการทดสอบความรู้ความสามารถ โดยทักษะที่จำเป็นสำหรับการประกอบวิชาชีพ เพื่อขอรับ ใบรับรองประกอบวิชาชีพการออกแบบชุมชนเมือง โดยสถาบันรับรองวิชาชีพการวางแผนเมืองอเมริกา (AICP) และสามารถประกอบวิชาชีพนักออกแบบชุมชนเมืองได้
8. การสำรวจ (Explore)
การสำรวจตำแหน่งงานที่ต้องการ โดยสามารถสอบถามได้จากสมาคมวิชาชีพ ซึ่งอาจเป็นความต้องการที่ไม่ได้แจ้งอย่างเป็นทางการภายนอก ซึ่งตำแหน่งนักออกแบบชุมชนเมืองจะเป็นตำแหน่งที่รับรู้ภายในมากกว่า
9. การเรียกดู (Browse)
การสมัครตำแหน่งนักออกแบบชุมชนเมือง นั้นจำเป็นต้องใช้เทคนิคการเขียนประวัติให้มีความน่าสนใจ และบรรยายถึงคุณสมบัติที่โดดเด่นโดยเฉพาะ
10. การลงทะเบียน (Register)
การลงทะเบียนเพื่อสมัครงาน ถือเป็นเทคนิคที่ได้รับความนิยม โดยการลงทะเบียนหางานในตำแหน่งนั้น ๆ ซึ่งมีความสะดวกและสามารถเลือกงานได้ตรงตามความเหมาะสมกับงานมากขึ้น
โดยทั่วไปความต้องการเบื้องต้น สำหรับอาชีพนักออกแบบชุมชนเมือง จะต้องมีพื้นฐานปริญญาตรีใน สาขาสถาปัตยกรรม ,ภูมิสถาปัตยกรรม หรือการวางผังเมือง ซึ่งในระดับปริญญาตรีนั้นจะทำงานในระดับปฏิบัติการ
โดยปกติผู้ที่จบสาขาวิชาการออกแบบชุมชนเมือง หลังผ่านประสบการณ์ทำงานมักจะศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ซึ่งอาจศึกษาต่อในสาขาวิชาอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้อง ได้แก่ สถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม อสังหาริมทรัพย์ และนิเวศวิทยาสิ่งแวดล้อม
ในขั้นต้น
นักออกแบบชุมชนเมืองจะต้องสอบเพื่อขอรับ ใบรับรองประกอบวิชาชีพการออกแบบชุมชนเมือง จึงสามารถประกอบอาชีพได้
สำหรับการทำงานในระยะแรก
นักออกแบบชุมชนเมืองจะทำงานในบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ด้านการวางผังและออกแบบเมือง บริษัททางด้านอสังหาริมทรัพย์ หรือการทำงานภาครัฐ ในเทศบาลนครหรือเทศบาลเมือง (ขนาดใหญ่)
รายได้ของนักออกแบบชุมชนเมือง
จะถูกจัดหมวดหมู่เดียวกันกับนักผังเมือง (Urban Planner) ซึ่งในต่างประเทศรายได้โดยเฉลี่ยอยู่ประมาณ 2,310,700 บาทต่อปี
สำหรับประเทศไทย
อัตราเงินเดือนพื้นฐานในกลุ่มวิชาชีพสถาปัตยกรรม อยู่ที่ 24,500 – 32,800 บาท ต่อเดือน ในระดับปริญญาตรีที่มีประสบการณ์ตั้งแต่ 5-10 ปี
และสำหรับปริญญาโทขึ้นอยู่กับประสบการณ์ โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 31,100 – 41,200 บาทต่อเดือน
ที่มา : หลักเกณฑ์ราคากลางการจ้างที่ปรึกษา ณ ปี พ.ศ.2546
เขียนโดย ผศ.ศิวพงศ์ ทองเจือ
ราคาเล่มละ 300 บาท
ติดต่อสั่งซื้อได้โดยตรง
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ทุกสาขาทั่วประเทศ