คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร หลักสูตรปริญญาตรี

เปิดหลักสูตรป.ตรี คณะสัตวแพทยศาสตร์ – ม.เทคโนโลยีมหานคร (MUT)

Home / ข่าวการศึกษา / เปิดหลักสูตรป.ตรี คณะสัตวแพทยศาสตร์ – ม.เทคโนโลยีมหานคร (MUT)

คณะสัตวแพทยศาสตร์ อีกคณะที่เด็กๆ หัวกะทิหลายคนที่ฝันอยากจะเป็นหมอด้านนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม Campus มีหลักสูตรป.ตรี คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร มาแนะนำกัน สถาบันนี้เป็นสถาบันการศึกษาเอกชนแห่งเดียวที่ผ่านการรับรองจากสัตวแพทยสภา ทฤษฎีเข้ม ปฏิบัติจริง!

เปิดหลักสูตรป.ตรี คณะสัตวแพทยศาสตร์ – MUT

คณะสัตวแพทยศาสตร์

เรามุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตสัตวแพทย์ที่มีทักษะในด้านวิชาชีพ และส่งเสริมการสร้างสรรค์งานวิจัยที่ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนแล้ว ยังเป็นสถาบันที่มุ่งเน้นการให้บริการทางวิชาการที่เป็นประโยชน์แก่สังคม โดยผ่านทางหน่วยงานหลัก 3 หน่วยงาน ได้แก่ โรงพยาบาลเพื่อการสอนด้านสัตว์เล็ก โรงพยาบาลเพื่อการสอนด้านสัตว์ใหญ่

ทันสมัยก้าวทันเทคโนโลยี

หลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต มีความทันสมัยก้าวทันเทคโนโลยี สอดคล้องต่อการเปลี่ยนแปลงความต้องการของสังคมและกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ(TQF)

รักษาสัตว์

สาขาที่เปิดสอน 2 สาขา

1.สาขาวิชาการพยาบาลสัตว์

เพื่อให้การศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสัตว์ มีมาตรฐานวิชาการ มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิต ให้มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรมจริยธรรมในการประกอบอาชีพ โดยเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว บัณฑิตต้องมีคุณลักษณะและความรู้ ความสามารถ ดังนี้

1. มีความรู้ทางการพยาบาลสัตว์และศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติการพยาบาลสัตว์แบบองค์รวม โดยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม

2.มีทักษะการปฏิบัติการพยาบาลสัตว์ ในการสร้างเสริมสุขภาพสัตว์ การป้องกัน การบำบัดรักษา และการฟื้นฟูสภาพสัตว์ โดยใช้กระบวนการพยาบาลและบูรณาการความรู้

3.มีคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบมีภาวะผู้นำ คิดสร้างสรรค์ พัฒนางานสู่นวัตกรรม ใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีทักษะในการสื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

4.มีเจตคติที่ดีต่อตนเอง สถาบัน และสังคม ดำรงตนเป็นพลเมืองดี

รักษาสัตว์

อาชีพที่รองรับ

  • การพยาบาลสัตว์ งานด้านดูแลสัตว์ในหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
  • งานที่เกี่ยวข้องโดยทางตรงและทางอ้อมกับสุขภาพสัตว์ เช่นงานเกี่ยวกับการผลิตอาหารสัตว์
  • นักวิชาการและนักวิจัยด้านการพยาบาลสัตว์ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
  • งานที่เกี่ยวข้องกับการเพาะพันธุ์สัตว์ เพื่อการวิจัยและอนุรักษ์
  • อาชีพอื่นๆ ที่ใช้ฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เช่นนักวิทยาศาสตร์ เจ้าของกิจการด้านการดูแลสัตว์

แนวทางการเรียนการสอน

  • จำนวนหน่วยกิตลอดหลักสูตร126 หน่วยกิต หลักสูตร 4 ปี
  • หมวดวิชาทั่วไป 30 หน่วยกิต คิดเป็น 23 %
  • หมวดวิชาเฉพาะ 90 หน่วยกิต คิดเป็น 72 %
  • หมวดวิชาเลือก 6 หน่วยกิต คิดเป็น 5 %

รักษาสัตว์

2.สาขาสัตวแพทยศาสตร์

บัณฑิตศึกษา คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เน้นสร้างบัณฑิตให้มีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะในสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพอย่างลึกซึ้ง บัณฑิตสามารถประยุกต์ความรู้และสร้างนวัตกรรมโดยการใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการผลิตปศุสัตว์ เพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของสัตว์เลี้ยง และการอนุรักษ์สัตว์ โดยมีความตระหนักถึงผลกระทบทั้งในด้านศีลธรรม จริยธรรม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อพัฒนาประเทศให้มีความยั่งยืน

คณะสัตวแพทยศาสตร์ มุ่งเน้นการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติควบคู่กันอย่างเหมาะสมให้นักศึกษาเกิดความรู้ความเข้าใจในการใช้ยา การตรวจสุขภาพสัตว์ การวินิจฉัยโรคสัตว์ การบำบัดรักษา การพยากรณ์โรคสัตว์ และแนวทางในการป้องกันและควบคุมโรค ซึ่งจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน การพิจารณากรณีศึกษา และการประยุกต์ความรู้เพื่อการรักษา โดยมีลำดับดังนี้

1. ความรู้พื้นฐาน ชีววิทยา เคมี เทคโนโลยีสารสนเทศ สัตววิทยา

2.ความรู้เฉพาะทาง สัตวศาสตร์ การรักษา และการดูแล เคมี การเพาะและเลี้ยงดู

3.ภาคปฏิบัติ การรักษา การผ่าตัด การพยาบาล

รักษาสัตว์

อาชีพที่รองรับ

หน่วยงานรัฐบาล ได้แก่ อาจารย์ นักวิจัย กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เช่น กองสัตวรักษ์ กองวัคซีนและเซรุ่ม กองผสมเทียม กองอาหารสัตว์ กองควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ กองสัตวแพทย์สาธารณสุข กองควบคุมสัตว์ ศูนย์ชันสูตรโรคสัตว์ เป็นต้น สำนักอนามัย กระทรวงกลาโหม เช่น กองพันทหารม้า กรมการแพทย์ทหารบก กองทัพอากาศ กรมตำรวจ องค์การสวนสัตว์ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้

หน่วยงานเอกชน ได้แก่บริษัทธุรกิจปศุสัตว์ บริษัทยาสัตว์ บริษัทอาหารสัตว์ วัคซีนและอุปกรณ์ทางด้านสัตวแพทย์ ซึ่งปัจจุบันกำลังพัฒนาไปอย่างมาก นอกจากนี้ยังมีงานที่เกี่ยวกับสวนสัตว์ และการประกอบธุรกิจส่วนตัว ได้แก่ การเปิดคลินิกหรือโรงพยาบาลสัตว์ การทำฟาร์มสัตว์ เปิดร้านขายของเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงและผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์

แนวทางการเรียนการสอน

  • จำนวนหน่วยกิตลอดหลักสูตร 247 หน่วยกิต
  • หมวดวิชาทั่วไป 30 หน่วยกิต คิดเป็น 12 %
  • หมวดวิชาเฉพาะ 211 หน่วยกิต คิดเป็น 85 %
  • หมวดวิชาเลือก 6 หน่วยกิต คิดเป็น 3 %

สอบถาม – สมัครเรียน

บทความที่เกี่ยวข้อง