คณะน่าเรียน คณะวิศวกรรมศาสตร์ จบแล้วทำงานอะไร วิศวกรรมโยธา

วิศวกรรมโยธา เรียนเกี่ยวกับอะไร เลือกเรียนที่ไหนดี จบแล้วทำงานด้านไหนได้บ้าง?

Home / ข่าวการศึกษา / วิศวกรรมโยธา เรียนเกี่ยวกับอะไร เลือกเรียนที่ไหนดี จบแล้วทำงานด้านไหนได้บ้าง?

วิศวกรรมโยธา (Civil Engineering) เป็นศาสตร์สาขาหนึ่งทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ที่ครอบคลุมทั้งเรื่องการออกแบบ การก่อสร้าง และการบำรุงรักษา สิ่งปลูกสร้างที่มนุษย์เป็นผู้ที่สร้างขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็น การสร้างตึก อาคาร สะพาน ถนน ระบบขนส่ง ระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ตลอดจนการทำรังวัดในงานสำรวจและแผนที่ รวมไปถึงการวิเคราะห์ทางธรณีและชลศาสตร์ นอกจากนี้ยังจะต้องเรียนรู้วิธีการบริหารจัดการงานก่อสร้างอย่างถูกวิธีให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด อีกด้วย

วิศวกรรมโยธา เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง ?

สำหรับผู้ที่เลือกเรียนทางด้านวิศวกรรมโยธา เมื่อสำเร็จการศึกษาออกมาแล้วนั้นจะต้องมีการสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรม (กว.) เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นวิศวกร หรือ นายช่าง เสียก่อน จึงจะสามารถประกอบอาชีพได้

วิชาเรียนที่น้อง ๆ จะต้องเจอเมื่อเข้าศึกษาต่อทางด้านนี้ เช่น การเขียนแบบวิศวกรรม กลศาสตร์ของไหล โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับวิศวกร วิศวกรรมชลศาสตร์ ธรณีวิทยาวิศวกรรม การออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก การออกแบบโครงสร้างรับแรงแผ่นดินไหว วิศวกรรมชลประทานและการระบายน้ำ การออกแบบผิวจราจร และวิศวกรรมการขนส่ง เป็นต้น

สอนฟรี!! สูตรการรวมตัวต้านทาน ฉบับฟิสิกส์แม่งเถื่อน

Link : seeme.me/ch/devilphysic/MRZ5rM

สาขาย่อย วิศวกรรมโยธา ประกอบด้วย…

1. วิศวกรรมโครงสร้าง (Structural Engineering)

วิศวกรรมโครงสร้าง (Structural Engineering) ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบและคำนวณสิ่งก่อสร้างชนิดต่าง ๆ ดังนั้นการศึกษาในสาขานี้จะเน้นไปทางด้านงานคำนวณวิเคราะห์ ออกแบบโครงสร้างของสิ่งก่อสร้าง และแรงต้านทานของวัสดุ เพื่อหาวัสดุและขนาดของวัสดุที่เหมาะสมกับงานนั้น ๆ งานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การก่อสร้างอาคาร เขื่อนหรือสะพาน เป็นต้น

2. วิศวกรรมก่อสร้างและการจัดการ

วิศวกรรมก่อสร้างและการจัดการ (Construction Engineering and Management) ศึกษาเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารเป็นหลัก โดยเน้นศึกษาทางด้านระบบการสร้างอาคาร การวางแผนงาน การประเมินราคาค่าก่อสร้าง นอกจากนี้ ในบางสถาบันจะมีการสอนเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ และระบบสุขาภิบาลภายในอาคาร

3. วิศวกรรมขนส่ง

วิศวกรรมขนส่ง (Transportation Engineering) การศึกษาแยกเป็น 2 สาขาหลัก คือ ระบบและวัสดุ โดยงานทางด้านระบบจะเน้นทางด้านการวางผัง การจราจร และการจัดการทางด้านงานจราจร โดยทำการศึกษาถึงประโยชน์และค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างระบบถนน สำหรับงานทางด้านวัสดุจะเน้นในการศึกษาวัสดุในการทำถนน ได้แก่ คอนกรีตและยางมะตอย เป็นหลัก โดยศึกษาถึงกรรมวิธีในการสร้างถนนและปรับปรุงถนน

4. วิศวกรรมเทคนิคธรณี

วิศวกรรมเทคนิคธรณี (Geotechnical engineering) ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติทางด้านฟิสิกส์และวิศวกรรมของดิน เพื่อนำมาการวิเคราะห์ ออกแบบ และแก้ปัญหาด้านวิศวกรรมโยธา

วิศวกรรมโยธา

5. วิศวกรรมธรณี

วิศวกรรมธรณี (Geological engineering) ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติทางด้านฟิสิกส์ วิศวกรรมของหิน และธรณีวิทยาประยุกต์ เพื่อการวิเคราะห์ ออกแบบ และแก้ปัญหาด้านวิศวกรรมโยธาและเหมืองแร่

6. วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (Environmental Engineering) ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการระบบสิ่งแวดล้อมในน้ำและในอากาศ การปรับปรุงคุณภาพของของเสียต่าง ๆ

7. วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ

วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ (Water Resource engineering) ศึกษาเกี่ยวกับงานทางด้านแหล่งน้ำ ปริมาณน้ำฝน และระบบการระบายน้ำ รวมทั้งการก่อสร้างคูน้ำ คลอง และแม่น้ำ อีกด้วย

8. วิศวกรรมสำรวจ

วิศวกรรมสำรวจ (Survey Engineering) ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการทำรังวัดและงานทางด้านสำรวจ สำหรับใช้ในทางด้านแผนที่ รวมถึงการศึกษาทางด้านจีพีเอส (GPS) และภูมิสารสนเทศ (Geoinformatics หรือ Geographic information system : GIS)

คุณสมบัติของผู้สมัคร

  • ต้องกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้น ม.6 หรือ จบการศึกษาแล้ว หรือ เทียบเท่า (แผนการเรียนวิทย์-คณิต)
  • ต้องเป็นคนที่มีความรู้พื้นฐานด้านฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ที่ดีพอสมควร นอกจากนี้ยังจะต้องเป็นคนที่ชอบการวิเคราะห์และคำนวณด้วย
  • เป็นคนที่ชอบลงมือปฏิบัติจริง ชอบการพัฒนาประเทศ โดยอาศัยสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ

4 ทริคบวกเลขในห้องสอบได้ไวเว่อร์

Link : seeme.me/ch/tutormp/94WRzk

คะแนนใช้ในการสมัคร (รอบแอดมิชชัน)

  • GPAX
  • O-NET
  • GAT / PAT

** สำหรับการรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา ในรอบอื่น ๆ อาจจะมีความแตกต่างของคะแนนที่ใช้ไม่เหมือนกัน ซึ่งน้อง ๆ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดทั้งหมดที่เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยหรือคณะ/สาขาวิชา ที่น้อง ๆ ต้องการได้เลยค่ะ

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน

  • ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ : คลิกที่นี่
  • ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ขอนแก่น : คลิกที่นี่
  • ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล : คลิกที่นี่
  • ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เชียงใหม่ : คลิกที่นี่
  • ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี : คลิกที่นี่
  • สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีมหานคร : คลิกที่นี่
  • ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ : คลิกที่นี่
  • ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ : คลิกที่นี่
  • สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม : คลิกที่นี่
  • ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.บูรพา : คลิกที่นี่
  • ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ พระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง : คลิกที่นี่
  • สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหาสารคาม : คลิกที่นี่
  • ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ : คลิกที่นี่
  • สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร : คลิกที่นี่
  • ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์  ม.เกษตรศาสตร์ : คลิกที่นี่
  • สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.รามคำแหง : คลิกที่นี่
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา : คลิกที่นี่

เรียนจบแล้วทำงานอะไรได้บ้าง ?

วิศวกรรมโยธาเป็นสาขาวิชาที่เรียนค่อนข้างกว้าง ดังนั้นจึงสามารถประกอบอาชีพได้อย่างหลากหลาย เช่น  วิศวกรก่อสร้าง วิศวกรโครงการ วิศวกรด้านผลิตภัณฑ์วัสดุ วิศวกรสำรวจเส้นทางในการสร้างถนนหรือระบบขนส่ง เป็นต้นซึ่งสามารถทำงานได้ในหลาย ๆ บริษัท เช่น บริษัทวิศวกรที่ปรึกษา บริษัทผลิตภัณฑ์วัสดุ บริษัทรับเหมาก่อสร้าง ได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ฯลฯ

ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีwww.eng.ku.ac.th

บทความที่น่าสนใจ