คณะวิทยาศาสตร์ จบแล้วทำงานอะไร ทำงาน อาชีพ

แนะนำ 12 หลักสูตรคณะวิทยาศาสตร์ ม.ศิลปากร – เรียนจบทำงานอะไรได้บ้าง?

Home / วาไรตี้ / แนะนำ 12 หลักสูตรคณะวิทยาศาสตร์ ม.ศิลปากร – เรียนจบทำงานอะไรได้บ้าง?

ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับ น้อง ๆ ที่มีความสนใจอยากเข้าเรียนต่อในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งที่นี่มีทั้งหมด 12 หลักสูตร หนึ่งในนั้นมีหลักสูตรน้องใหม่ที่ทันสมัยสาขาวิทยาการข้อมูล (Data Science) เพิ่มเข้ามาด้วย ไปดูกันว่าแต่ละหลักสูตรเรียนจบแล้วสามารถประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง? เป็นแนวทางข้อมูลให้น้อง ๆ ประกอบการตัดสินใจเลือกเรียนในหลักสูตรต่าง ๆ ได้ตรงตามความต้องการ

12 หลักสูตรคณะวิทยาศาสตร์ ม.ศิลปากร – จบแล้วทำงานอะไร?

ข้อมูลคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร : ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2515 เป็นคณะที่ 7 ของมหาวิทยาลัยศิลปากร และเป็นคณะวิชาแรกของมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนด้านวิทยาศาสตร์ โดยเล็งเห็นถึงความจำเป็นและความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในอนาคต ปัจจุบันเปิดสอนครอบคลุมวิทยาศาสตร์พื้นฐานทุกสาขาวิชา ทั้งในระดับปริญญาบัณฑิต ระดับปริญญามหาบัณฑิต และระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต เพื่อตอบสนองความต้องการกำลังคนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ

ที่ผ่านมาคณะวิทยาศาสตร์ทำงานวิจัยในแขนงต่าง ๆ ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในหลายด้าน อาทิ การวิจัยเพื่อนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพในการเกษตรและอุตสาหกรรม การวิจัยด้านวัสดุศาสตร์และเทคโนโลยีฟิล์มบาง การวิจัยด้านออปโตอิเล็กทรอนิกส์ การวิจัยด้านฟิสิกส์บรรยากาศ และผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ศึกษาวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีและตัวเร่งปฏิกิริยาชีวภาพ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์สารชนิดต่าง ๆ และงานวิจัยด้านอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางการพัฒนาครู–นักเรียนทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของโรงเรียนในพื้นที่ภูมิภาคตะวันตก และแหล่งบริการวิชาการ การตรวจวิเคราะห์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การใช้สถิติประยุกต์และระบบคอมพิวเตอร์เก็บและวินิจฉัยข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและศิลปวัฒนธรรมของภูมิภาคตะวันตก ตลอดจนจัดให้มีการประชุมสัมมนา การอบรม การบรรยายพิเศษ และการจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์

เรียนภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ทำงานอะไร?

– นักวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อม
– นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมในองค์กร
– ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษขององค์กร

เรียนภาควิทยาการคอมพิวเตอร์ ทำงานอะไร?

สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์

– Developer/Programmer
– System Analysis – DevOps/Full Stack Developer
– นักวิจัย อาจารย์ นักวิชาการ ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์

สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ

– Developer/Programmer
– Business Analysis
– Data Engineer
– Software Tester

เรียนภาควิชาเคมี ทำงานอะไร?

– พนักงานตรวจสอบคุณภาพและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม
– พนักงานสายการผลิตทางอุตสาหกรรม
– นักวิจัย, ผู้สอน
– นักวิชาการ และผู้ปฏิบัติงานทางเคมีและเคมีประยุกต์ในภาครัฐและเอกชน

เรียนภาควิชาฟิสิกส์ ทำงานอะไร?

– ครู อาจารย์
– นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย
– เจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐาน
– นักอุตุนิยมวิทยา
– นักวิเคราะห์และควบคุมคุณภาพ

เรียนภาควิชาคณิตศาสตร์ ทำงานอะไร?

สาขาคณิตศาสตร์ และสาขาคณิตศาสตร์ประยุกต์

– ครู อาจารย์ หรือบุคลากรทางการศึกษา
– นักวิเคราะห์และวางแผนทางการเงิน
– นักวิจัยภาคอุตสาหกรรม

เรียนภาควิชาสถิติ ทำงานอะไร?

– นักสถิติ (Statistician)
– นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) นโยบายและแผนในองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และสถาบันการเงิน
– นักคณิตศาสตร์ประกันภัย/ประกันชีวิต

เรียนภาควิชาชีววิทยา / ภาควิชาจุลชีววิทยา ทำงานอะไร?

– ผู้สอน นักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และนักอนุรักษ์
– นักวิยาศาสตร์ด้านชีวภัณฑ์ เซลล์ต้นกำเนิด และเซลล์มะเร็ง
– เจ้าของธุรกิจ เช่น เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ไม้ดอกไม้ประดับและการปลูกพืชไม่ใช้ดิน
– เจ้าหน้าที่จัดเก็บตัวอย่างในพิพิธภัณฑ์ หรือหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์
– เจ้าหน้าที่ ห้องปฏิบัติการด้านการควบคุมคุณภาพ
– นักวิชาการควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
– นักวิยาศาสตร์ด้านชีวภัณฑ์

หลักสูตรน้องใหม่ทันสมัย เรียนสาขาวิทยาการข้อมูล (Data Science) ทำงานอะไร?

– นักวิทยาการข้อมูล (Data Scientist)
– นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst)
– ผู้เชี่ยวชาญด้านฐานข้อมูล (Database Specialist)

ดูรายละเอียดหลักสูตรได้ที่ : http://www.sc.su.ac.th/

ขอบคุณที่มาจาก : SU Style, sc.su.ac.th

บทความแนะนำ