คณะวิทยาศาสตร์ ชีวมวล ผลงานวิจัย ม.เชียงใหม่ รางวัล

นักศึกษา มช. คว้า 2 รางวัลที่ญี่ปุ่น นำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ต่อยอดเป็นวัสดุเชิงโครงสร้าง

Home / กิจกรรม / นักศึกษา มช. คว้า 2 รางวัลที่ญี่ปุ่น นำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ต่อยอดเป็นวัสดุเชิงโครงสร้าง

การเกษตรถือได้ว่ามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมไทยเป็นอย่างมาก ซึ่งการผลิตพืชผลทางการเกษตรในปัจจุบัน ส่งผลให้มีวัสดุเหลือใช้และเศษเหลือ จากโรงงานอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ชีวมวล” ทำให้เกิดการเผาเพื่อการทำลาย เพราะเป็นวิธีที่ง่ายและค่าใช้จ่ายน้อย แต่การทำลายด้วยวิธีนี้ ก่อให้เกิดพิษต่อสภาพแวดล้อม สุขภาพของมนุษย์ และเป็นหนึ่งในสาเหตุของภาวะก๊าซเรือนกระจก

นักศึกษา มช. คว้า 2 รางวัลที่ญี่ปุ่น

ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดเป็นไอเดีย นำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาต่อยอดเป็นวัสดุเชิงโครงสร้าง ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จนคว้า 2 รางวัล จากประเทศญี่ปุ่นมาเป็นเครื่องการันตี

นายวรวุฒิ อ้ายดวง นักศึกษาปริญญาเอก จากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำผลงานวิจัยจากการเอาวัสดุชีวมวล เช่น ฟางข้าว เปลือกข้าวโพด เศษไม้ไผ่ และใบอ้อย นำมาเป็นแนวทางการเพิ่มมูลค่าชีวมวล ที่เหลือใช้ และการนำไปเผา เพื่อทำลายเศษที่เหลือ จากกระบวนการผลิตทิ้ง

ในผลงานวิจัยหัวข้อ “Utilization of agriculture wastes to produce an environmental friendly material from mushroom mycelium” โดยการนำชีวมวล มาเป็นวัสดุตั้งต้นในการผลิตวัสดุไบโอคอมโพสิตเส้นใยเห็ด (mycelium-biocomposite material) ที่สามารถย่อยสลายได้ อีกทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมคว้า 2 รางวัล ด้านวิทยาศาสตร์ ที่ประเทศญี่ปุ่น

ได้แก่

  • รางวัล Excellent Presenter in the Poster Session (Microbiology) Award of the Sakura Science Program 2021 เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2564
  • รางวัล Best Speaker Award in Young Scientist Seminar (18th YSS, 2021), Yamaguchi University เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2564

นายวรวุฒิ อ้ายดวง นักศึกษาปริญญาเอก ม.เชียงใหม่

นายวรวุฒิ อ้ายดวง นักศึกษาปริญญาเอก ม.เชียงใหม่

จากงานวิจัยชิ้นนี้ สามารถต่อยอดพัฒนาในอนาคตได้อีกเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการผลิตเป็นวัสดุเชิงโครงสร้าง อาทิ แผ่นผนัง หลังคา วัสดุมวลเบา และยังสามารถเป็นผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวัน ที่ใช้แล้วทิ้งได้ หรือเป็นวัสดุทดแทนพลาสติก ซึ่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมที่จะผลักดันพัฒนาผลงานวิจัยต่างๆ ให้ตรงตามหลักของ BCG Economy หรือ การพัฒนาเศษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ตลอดจนส่งเสริมทักษะ ด้านงานการค้นคว้าวิจัยให้แก่นักศึกษาได้มีผลงานวิจัยและมีนวัตกรรม ที่สามารถเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ จนเป็นที่ยอมรับในระดับสากลได้

บทความแนะนำ