EDUCA การศึกษาไทย ครู

“โคเวสโตร” สานต่อ สร้างครูต้นแบบ ส่งต่อแนวคิด “สำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน” ในงาน EDUCA 2019

Home / วาไรตี้ / “โคเวสโตร” สานต่อ สร้างครูต้นแบบ ส่งต่อแนวคิด “สำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน” ในงาน EDUCA 2019

โลก เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญในการรักษาสิ่งแวดล้อม พร้อมมุ่งมั่นพัฒนาสร้างความยั่งยืน บริษัท โคเวสโตร (ประเทศไทย) จำกัด จับมือกับ EDUCA ส่งต่อแนวคิดเรื่อง การจัดกระบวนการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษา ในบริบทของหน้าที่พลเมืองโลก

“โคเวสโตร” ส่งต่อแนวคิด “สำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน”

สานต่อแนวทาง สร้าง “ครูต้นแบบ” ในงาน มหกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู ครั้งที่ 12 หรือ EDUCA 2019 จัดโดย บริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ภายใต้แนวคิด พลังของชุมชนแห่งการเรียนรู้” (The Power of Learning Community) ณ อิมแพค ฟอรั่ม เมืองทองธานีเมื่อเร็ว ๆ นี้

นายสุริยา สัมฤทธิ์จินดากุล

นายสุริยา สัมฤทธิ์จินดากุล ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารองค์กรประจำภูมิภาคอาเซียน บริษัท โคเวสโตร (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตวัสดุโพลิเมอร์ชั้นนำระดับโลก เปิดเผยว่า โคเวสโตร (ประเทศไทย) มีวิสัยทัศน์และความเชื่อมั่นในการสร้างโลกที่สดใสและน่าอยู่ จากความมุ่งมั่นในแนวทางการดำเนินธุรกิจซึ่งให้ความสำคัญ ด้านความยั่งยืน และนำความยั่งยืนมาเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการวิจัยและพัฒนาเพื่อคิดค้น ผลิตและส่งต่อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อทั้งชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม

รวมถึงเน้นสร้างประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ โดย โคเวสโตร สามารถคิดค้นและพัฒนาวัสดุให้สอดคล้องกับความเป็นอยู่ผ่านนวัตกรรมต่างๆ ที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อให้ตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

"โคเวสโตร" ส่งต่อแนวคิด "สำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน"

“เพื่อดำเนินตามแนวทางของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาด้านความอดอยาก, การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม, การสร้างการศึกษาที่เท่าเทียม, การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากร ทางทะเล ถ้าเราสามารถส่งเสริมประเด็นดังกล่าวให้ทุกคนดำเนินตามแนวคิดนี้ได้ เราเชื่อว่าจะช่วยทำให้โลกสดใสขึ้น

โดย โคเวสโตร มีกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมด้านชุมชน การศึกษา และสิ่งแวดล้อม ด้วยการจัดทำสื่อการเรียนการสอน โดยเปิดตัวหนังสือชุดสำหรับเด็ก จุดประกายความคิดเพื่อชีวิตที่สดใส หรือ Bright Minds for a Brighter World เพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอนสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาในประเทศไทย มีเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้และปลูกจิตสำนึกแก่เยาวชนเรื่อง 3R ได้แก่ การลดปริมาณการใช้ (Reduce) การนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำมาเข้ากระบวนการแปรสภาพ (Recycle) ผ่านกิจกรรมรูปแบบต่าง ๆ ที่เยาวชนสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายและเกิดความสนุกสนานไปพร้อมกัน”

"โคเวสโตร" ส่งต่อแนวคิด "สำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน"

นายสุริยา กล่าวต่อว่า ในส่วนของการสร้าง “ครูต้นแบบ” บริษัทฯ ทำต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 2 โดยร่วมมือกับ EDUCA ซึ่งเราเชื่อว่าการส่งผ่านเรื่องความยั่งยืนไปสู่เยาวชนต้องอาศัยความร่วมมือและศักยภาพของครู อาจารย์ ในการจัดการเรียนการสอน อันช่วยให้การศึกษาเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมมีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เรื่องการพัฒนาด้านความยั่งยืนถือเป็นหัวใจหลักของโคเวสโตร และเป็นสิ่งที่เรายึดมั่น เป็นเป้าหมายในการคิดค้นนวัตกรรมต่าง ๆ รวมถึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในหลาย ๆ กิจกรรมที่เราทำ

EDUCA 2019

“เพราะการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนไม่ใช่เรื่องของแค่คนใดคนหนึ่ง แต่เป็นความร่วมมือของทุกคน จึงเป็นที่มาของการส่งต่อแนวคิดเรื่อง การจัดกระบวนการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษา ในบริบทของหน้าที่พลเมืองโลก ซึ่งได้รับเกียรติจากวิทยากร ครูปราศรัย เจตสันติ์ แห่งโรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม, คณะกลุ่ม Critizen และเครือข่าย Thai Civic Education มาร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้ในงาน EDUCA 2019 เพื่อให้ผู้สอนสามารถ นำองค์ความรู้กลับไปถ่ายทอดแก่ผู้เรียน เป็นการปลูกฝังจิตสำนึกและสร้างเข้าใจถึงคุณสมบัติพลเมืองที่ดีที่มี ต่อสิ่งแวดล้อม”

นายปราศรัย เจตสันติ์

ด้าน นายปราศรัย เจตสันติ์ คุณครูจากโรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม กล่าวว่า “หัวข้อ การจัดกระบวนการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาในบริบทของหน้าที่พลเมืองโลก เป็นกิจกรรมที่ผู้สอนสามารถเชื่อมโยงได้หลายวิชา โดยมี 2 คำสำคัญที่น่าสนใจ ได้แก่

1. สิ่งแวดล้อมศึกษา เกี่ยวกับความสามารถทางภูมิศาสตร์ (Geo-Literacy), การเข้าใจปฏิสัมพันธ์ธรรมชาติและมนุษย์ (Interaction), การให้เหตุผลทางภูมิศาสตร์ผ่านการเชื่อมโยง (Interconnection) และการตัดสินใจอย่างเป็นระบบ (Implication)

2. พลเมืองโลก (Global Citizen) ซึ่งบอกเล่าถึงคุณสมบัติของพลเมืองที่มีความสำคัญต่อการจัดการเมืองและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การเห็นอกเห็นใจกัน (Empathy), การเป็นนำหนึ่งใจเดียวกัน (Solidarity), การยอมรับความหลากหลาย (Diversity), การเคารพสิทธิผู้อื่น (Respect), การพึ่งพาอาศัยกัน (Interdependency), การเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกัน (Interconnect)

EDUCA 2019

โดยรูปแบบของกิจกรรมเวิร์คชอปในงาน EDUCA 2019 เป็นการเล่นสร้างเมืองสมมติ ผู้สอนจะต้องทำให้ผู้เรียนเกิด 3 สิ่งด้วยกัน ได้แก่

1. การเข้าใจปฏิสัมพันธ์มนุษย์กับธรรมชาติ

2. การเชื่อมโยงสัมพันธ์กันของผลกระทบที่ส่งผลกัน

3. การนำไปสู่การตัดสินใจบางอย่าง เริ่มจาก…

  • เขียนชื่อตัวเองลงในกระดาษโพสต์อิท
  • ให้เขียนหนึ่งคำ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม แล้วแนะนำกับเพื่อนในกลุ่ม พร้อมบอกเหตุผลที่ตัวเองเขียนขึ้นมา
  • บนโต๊ะมีกระดาษ 1 แผ่น โดยให้สมมติเป็นเมืองแล้วเขียนทิศเหนือลงไปตามที่ต้องการ
  • จับฉลาก เพื่อกำหนดว่าเมืองของกลุ่มเป็นแบบใด จากนั้นใช้ปากกาสีน้ำเงินวาดภาพทางภูมิศาสตร์จากฉลากที่จับได้ เช่น แม่น้ำ ภูเขา รอยเลื่อน ฯลฯ
  • นำโพสต์อิทที่เขียนชื่อตัวเองแปะลงไปเพื่อสมมติเป็นที่ตั้งบ้านของตัวเอง
  • ในซองน้ำตาลจะมีการ์ดสำหรับการสร้างเมืองทั้งหมด 40 ใบ สามารถเลือกได้เพียง 25 ใบ อาทิ การ์ดโรงงานอุตสาหกรรม การ์ดชนกลุ่มน้อย ฯลฯ จากนั้นวางการ์ดที่ได้ตรงไหนก็ได้ แต่จะต้องมีเหตุผลบอกว่าวางตรงนี้ทำไม มันมีผลอะไร มันส่งผลอะไร เหมาะสมอย่างไร
  • ใช้ปากกาสีน้ำเงินวาดถนนเพื่อเชื่อมต่อในแต่ละจุดได้
  • ใช้ปากกาสีแดงวาดเป็นวงกลมจากสถานที่กลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โรงงานถ่านหิน, สถานที่ท่องเที่ยว ฯลฯ เพื่อให้เห็นว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลต่อบุคคลหรือเมืองนั้นอย่างไร, อะไรคือสิ่งที่ควรคำนึงในการตัดสินใจด้านสิ่งแวดล้อม

EDUCA 2019

“สิ่งแวดล้อมศึกษากับพลเมืองโลกมีความเชื่อมโยงกัน สิ่งแวดล้อมเป็นผลกระทบจากพลเมืองโลก ซึ่งการทำให้สิ่งแวดล้อมกับพลเมืองโลกไปด้วยกันได้ต้องมองถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืน เราจึงต้องปลูกฝังให้เด็กนักเรียนมีความเข้าใจธรรมชาติ

ขณะที่ ครู ไม่ว่าจะเป็นครูที่สอนวิชาใดก็ตามสามารถสอดแทรกความสำคัญเกี่ยวกับพลเมืองโลกให้นักเรียนเข้าใจถึงสิทธิ์ของผู้อื่น รู้จักการใส่ใจ รู้จักการเข้าอกเข้าใจผู้อื่น ให้รู้ตัวเองว่าทำอะไรและส่งผลกระทบต่อผู้อื่นและสิ่งแวดล้อมหรือไม่ เพราะคำว่านวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน บางครั้งไม่ต้องคิดสิ่งใหม่ก็ได้ เห็นได้จากบางบริษัทใช้กระบวนการที่ทำให้ผลิตภัณฑ์มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ในส่วนของคุณครูก็อาจสร้างกระบวนการที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ให้เด็กได้เรียนรู้ถึงการแนวทางที่ช่วยสร้างโลกใบนี้ให้เกิดความยั่งยืน” นายปราศรัย กล่าวทิ้งท้าย

รวมภาพกิจกรรม

บทความที่เกี่ยวข้อง