ทุนการศึกษา เรียงความ เรียนต่อ

7 เทคนิคเขียนเรียงความ พิชิตทุนการศึกษา มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก

Home / วาไรตี้ / 7 เทคนิคเขียนเรียงความ พิชิตทุนการศึกษา มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก

เอ้า!! น้องๆ คนไหนกำลังจะเขียนเรียงความหรือจดหมายในการสมัครเข้าเรียนต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศอยู่ กระทู้นี้เรามีเทคนิคดีๆ ที่จะช่วยทำให้น้องๆ เขียนเรียงความอย่างไรให้ชนะกรรมการได้มาฝากกัน… เพราะนอกจากการหลักในการเรียงความที่เราอาจจะรู้อยู่แล้วว่ามีอะไรบ้าง แต่สิ่งเหล่านี้ก้มีความสำคัญช่วยทำให้กรรมการเห็นถึงความโดดเด่น ความตั้งใจเขียนของเราได้

7 เทคนิคเขียนเรียงความ พิชิตทุนการศึกษา

1. แสดงความเป็นตัวเองออกมาให้ได้มากที่สุด

ก่อนที่เราจะลงมือเขียน ให้เราถามตัวเองก่อนว่า ‘เรานั้นแตกต่างจากผู้สมัครคนอื่นนั้นอย่างไร’ แล้วพยายามดึงจุดเด่นของตัวเองออกมา ซึ่งความแตกต่างหรือโดดเด่นนั้น อาจจะไม่ได้เกี่ยวกับกิจกรรมที่เราชอบทำหรือความสนใจในเรื่องต่างๆ แต่เป็นเรื่องที่เราอยากจะแสดงความคิดเห็น เช่น ถ้าเราจะกำลังจะจบชั้นมัธยม แล้วเข้าสู่มหาวิทยาลัย เราอาจจะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็ได้ แต่ต้องมีความคิดที่แตกต่างจากผู้อื่น ทำให้กรรมการสนใจอาจจะอ่านต่อจนจบ

2. เขียนให้กระชับและได้ใจความ ไม่ต้องพรรณนาเยอะเกินไป

เราไม่ควรที่จะเขียนกว้างจนเกินไปหรือเรียกง่ายๆ ว่าเนื้อหามีอยู่นิดเดียว แต่ที่เป็นน้ำหมดเลย ไม่เอาแบบนี้นะคะ และไม่ควรนำแนวคิดของผู้อื่นมาขยาย เพราะว่ากรรมการเขาจะไม่นิยมอ่านเรียงความที่มีเนื้อหากว้างเกินไปจนจับใจความไม่ได้ เช่น ถ้าสมมติเราพูดถึงเรื่องที่เราสนใจ ก็ควรที่จะเจาะลึกเรื่องนั้นไปเลย อธิบายไปในความเข้าใจของเรา ไม่ใช่คัดลอกมาจากในหนังสือทั้งหมด

3. จงแสดงถึงทัศนคติในเชิงบวก

เมื่อเราเริ่มเขียนไปเรื่อยๆ แล้วเราก็อาจจะเล่าถึงประสบการณ์ที่ทำให้รู้สึกแย่ เสียใจ ก็ควรใส่แสดงความคิดเห็นในเชิงบวก และไม่ลืมที่จะเขียนบอกถึงผลที่ได้รับหลังจากที่เหตุการณ์นั้นผ่านไป เช่น อาจจะบอกว่าหลังจากเหตุการณ์นั้นก็ทำให้เราได้เรียนรู้ตัวเองมากยิ่งขึ้นและนำสิ่งที่ผิดพลาดมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตให้เดินต่อไปได้

4. แสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์ในตัวเราออกมา

เราต้องรู้ไว้อย่างว่าจดหมายสมัครเข้าศึกษาต่อนั้นไม่ได้มีของเราเพียงคนเดียวเท่านั้น แต่ยังมีเป็นหลักร้อย หลักพัน จากทั่วทุกมุมโลก ดังนั้นเราจึงต้องสร้างความโดดเด่นให้กรรมการอ่านแล้วชอบเราที่สุด โดยการเขียนให้แสดงถึงความคิดสร้างสรรค์ของเราให้ได้มากที่สุด

5. ใช้คำที่เหมาะสม ตรวจทาน และแก้ไขให้ถูกต้องที่สุด

เมื่อเขียนเรียงความเสร็จแล้ว อย่าเพิ่งรีบส่งนะคะ ให้เราทำการตรวจทาน เพื่อหาในส่วนที่เขียนผิดหรือแก้ไขประเด็นหลัก ขัดเกลาให้น่าอ่านมากที่สุด หรือถ้าอ่านแล้วแก้ไขก็แล้วยังเป็นที่พอใจ ก็ลงมือเขียนใหม่เลย แล้วก็ทำการตรวจทานอีกครั้ง เพื่อเราจะได้เรียงความที่ดีที่สุด… ไฟติ้งจ้าาาาา

6. จงตรวจสอบความสมบูรณ์อย่างละเอียด ก่อนตัดสินใจส่งไป

นอกจากที่เราจะทำการตรวจทาน แก้ไขหลายๆ รอบอย่างที่เราได้กล่าวข้างต้นไปแล้ว เราก้อย่าลืมาดูตัวสะกดของประโยคที่เราเขียนไปด้วยนะว่าถูกต้องหรือไม่ ถ้าเราไม่สามารถตรวจเองได้ก็ควรหาใครสักคนที่มีทักษะด้านภาษาดีเยี่ยมมาช่วยตรวจสอบ แก้ไขปรับปรุงให้นะคะ

7. อย่าได้คัดลอกเรียงความของคนอื่นมาโดยเด็ดขาด!

ข้อนี้เป็นอีกหนึ่งข้อที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะถ้าหากกรรมการพิจารณาแล้วพบว่า เรียงความของเรานั้น ได้ทำการคัดลอกของผู้อื่นมาทั้งจะบางส่วนหรือทั้งหมดก็ตาม กรรมการก้จะตัดสิทธิ์เราในทันทีเลย

บทความแนะนำ