นักศึกษาใหม่ ปริญญาตรี มหาวิทยาลัย รับตรง สอบรับตรง

รับตรง (แบบปกติ) 9 โครงการ จุฬาฯ ปีการศึกษา 2560

Home / ข่าวการศึกษา / รับตรง (แบบปกติ) 9 โครงการ จุฬาฯ ปีการศึกษา 2560

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดรับสมัครคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี โดยวิธีรับตรง (แบบปกติ) ประจำปีการศึกษา 2560 รวม 9 โครงการ (ผู้สนใจสามารถเลือกสมัครได้ 1 โครงการเท่านั้น) ตามรายละเอียดของแต่ละโครงการดังนี้

รับตรง (แบบปกติ) 9 โครงการ จุฬาฯ ปีการศึกษา 2560

กำหนดการคัดเลือก
– รับสมัครและชำระเงินค่าสมัคร ได้ตั้งแต่วันที่ 1 – 15 มีนาคม 2560

– ตรวจสอบสถานะการสมัคร วันที่ 2 – 16 มีนาคม 2560

– ทักท้วงสถานะการสมัคร ได้ตั้งแต่วันที่ 16 – 17 มีนาคม 2560

– ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ ในวันที่ 28 มีนาคม 2560

– ทำการสอบสัมภาษณ์ ในวันที่ 3 เมษายน 2560

– ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา วันที่ 11 เมษายน 2560

– ทำการยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาผ่านเคลียริ่งเฮาส์ ตั้งแต่วันที่ 25-28 เมษายน 2560

โครงการที่เปิดรับเข้าศึกษา ได้แก่
1. คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ และคณะอักษรศาสตร์ (ผู้สมัครสามารถเลือกได้ 4 อันดับ)

จำนวนที่รับ

– คณะวิศวกรรมศาสตร์ 825 คน
– คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ 105 คน
– คณะรัฐศาสตร์ 90 คน
– คณะอักษรศาสตร์ 310 คน

คุณสมบัติของผู้สมัคร

1.1 คณะวิศวกรรมศาสตร์

– กำลังศึกษา ม.6 หรือสำเร็จการศึกษา ม.6 หรือเทียบเท่า
– กรณีกำลังศึกษา ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) 5 ภาคเรียน ไม่ต่ำกว่า 2.50
– กรณีสำเร็จการศึกษา ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) 6 ภาคเรียน ไม่ต่ำกว่า 2.50

1.2 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

– กำลังศึกษา ม.6 หรือสำเร็จการศึกษา ม.6 หรือเทียบเท่า (ไม่รับ กศน. และ ปวช.)
– กรณีกำลังศึกษา ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) 5 ภาคเรียน ไม่ต่ำกว่า 3.00
– กรณีสำเร็จการศึกษา ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) 6 ภาคเรียน ไม่ต่ำกว่า 3.00

1.3 คณะรัฐศาสตร์

– กำลังศึกษา ม.6 หรือสำเร็จการศึกษา ม.6 หรือเทียบเท่า
– ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) 5 ภาคเรียน ไม่ต่ำกว่า 2.50

1.4 คณะอักษรศาสตร์

– กำลังศึกษา ม.6 หรือสำเร็จการศึกษา ม.6 หรือเทียบเท่า
– กรณีกำลังศึกษา ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) 5 ภาคเรียน ไม่ต่ำกว่า 2.75
– กรณีสำเร็จการศึกษา ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) 6 ภาคเรียน ไม่ต่ำกว่า 2.75

เกณฑ์ที่ใช้ในการคัดเลือก

– คณะวิศวกรรมศาสตร์ : คะแนน GAT + คะแนน PAT1 + คะแนน PAT3
– คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ : คะแนน PAT4 + คะแนน 9 วิชาสามัญ (วิชาภาษาอังกฤษ วิชาคณิตศาสตร์ 1 วิชาฟิสิกส์)
– คณะรัฐศาสตร์ : คะแนน GAT + คะแนน PAT1 หรือ PAT7
– คณะอักษรศาสตร์ : สาขาวิชาภูมิศาสตร์และภูมิศาสตรสารสนเทศ คะแนน PAT1 + คะแนน 9 วิชาสามัญ (วิชาภาษาอังกฤษ วิชาภาษาไทย วิชาสังคมศึกษา) และสาขาวิชาอักษรศาสตร์ คะแนน PAT1 หรือ PAT7 + คะแนน 9 วิชาสามัญ (วิชาภาษาอังกฤษ วิชาภาษาไทย วิชาสังคมศึกษา)

2. หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ (ผู้สมัครสามารถเลือกได้ 1 อันดับ)

จำนวนที่รับ

รวมทั้งหมด 200 คน

คุณสมบัติของผู้สมัคร

– กำลังศึกษา ม.6 หรือสำเร็จการศึกษา ม.6 หรือเทียบเท่า
– กรณีกำลังศึกษา ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) 5 ภาคเรียน ไม่ต่ำกว่า 2.75
– กรณีสำเร็จการศึกษา ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) 6 ภาคเรียน ไม่ต่ำกว่า 2.75

เกณฑ์ที่ใช้ในการคัดเลือก

– คะแนน GAT + คะแนน PAT1 หรือ PAT7 + คะแนน 9 วิชาสามัญ (วิชาภาษาอังกฤษ วิชาภาษาไทย วิชาสังคมศึกษา)

3. หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ (ผู้สมัครสามารถเลือกได้ 1 อันดับ)

จำนวนที่รับ

รวมทั้งหมด 90 คน

คุณสมบัติของผู้สมัคร

– กำลังศึกษา ม.6 หรือสำเร็จการศึกษา ม.6 หรือเทียบเท่า
– ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) 5 ภาคเรียน ไม่ต่ำกว่า 2.75

เกณฑ์ที่ใช้ในการคัดเลือก

– คะแนน GAT + คะแนน PAT1 หรือ PAT7

4. หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ (ผู้สมัครสามารถเลือกได้ 1 อันดับ)

จำนวนที่รับ

รวมทั้งหมด 110 คน

คุณสมบัติของผู้สมัคร

– กำลังศึกษา ม.6 หรือสำเร็จการศึกษา ม.6 หรือเทียบเท่า
– ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) 5 ภาคเรียน ไม่ต่ำกว่า 2.75

เกณฑ์ที่ใช้ในการคัดเลือก

– คะแนน GAT + คะแนน PAT1 + คะแนน 9 วิชาสามัญ (วิชาสังคมศึกษา)

5. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ (ผู้สมัครสามารถเลือกได้ 1 อันดับ)

จำนวนที่รับ

ทั้งหมด 17 สาขา รวม 487 คน

คุณสมบัติของผู้สมัคร

– กำลังศึกษา ม.6 กลุ่มการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
– ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) 5 ภาคเรียน ไม่ต่ำกว่า 3.00
– ผลการเรียนเฉลี่ย (GPA) วิชาเคมี วิชาชีววิทยา วิชาฟิสิกส์ และคณิตศาสตร์ 5 ภาคเรียน ไม่ต่ำกว่า 3.25

เกณฑ์ที่ใช้ในการคัดเลือก

– คะแนน GAT + คะแนน CU-Science (วิชาคณิตศาสตร์ วิชาฟิสิกส์ วิชาเคมี วิชาชีววิทยา) หรือคะแนน 9 วิชาสามัญ (วิชาคณิตศาสตร์ 1 วิชาฟิสิกส์ วิชาเคมี วิชาชีววิทยา)

6. หลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต คณะสัตวแพทยศาสตร์ (ผู้สมัครสามารถเลือกได้ 1 อันดับ)

จำนวนที่รับ

รวมทั้งหมด 50 คน

คุณสมบัติของผู้สมัคร

– กำลังศึกษา ม.6 หรือสำเร็จการศึกษา ม.6 หรือเทียบเท่า กลุ่มการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
– กรณีกำลังศึกษา ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) 5 ภาคเรียน ไม่ต่ำกว่า 3.00
– กรณีสำเร็จการศึกษา ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) 6 ภาคเรียน ไม่ต่ำกว่า 3.00

เกณฑ์ที่ใช้ในการคัดเลือก

– คะแนน GAT + คะแนน PAT1 + คะแนน PAT2 + คะแนน 9 วิชาสามัญ (วิชาชีววิทยา)

7. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (ผู้สมัครสามารถเลือกได้ 1 อันดับ)

จำนวนที่รับ

เปิดรับ 3 หลักสูตร รวม 590 คน

คุณสมบัติของผู้สมัคร

– กำลังศึกษา ม.6 หรือสำเร็จการศึกษา ม.6 หรือเทียบเท่า
– ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) 5 ภาคเรียน ไม่ต่ำกว่า 3.00

เกณฑ์ที่ใช้ในการคัดเลือก

– หลักสูตรบัญชีบัณฑิต และหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต คะแนน GAT + คะแนน PAT1
– หลักสูตรสถิติศาสตรบัณฑิต คะแนน GAT + คะแนน PAT1 + คะแนน PAT2

8. หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต คณะครุศาสตร์ (ผู้สมัครสามารถเลือกได้ 1 อันดับ)

จำนวนที่รับ

เปิดรับ 7 สาขา รวม 291 คน

คุณสมบัติของผู้สมัคร

– กำลังศึกษา ม.6 หรือสำเร็จการศึกษา ม.6 หรือเทียบเท่า
– กรณีกำลังศึกษา ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) 5 ภาคเรียน ไม่ต่ำกว่า 2.00
– กรณีสำเร็จการศึกษา ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) 5 ภาคเรียน ไม่ต่ำกว่า 2.00

เกณฑ์ที่ใช้ในการคัดเลือก

– คะแนน GAT/PAT + คะแนน 9 วิชาสามัญ (ใช้บางวิชา ขึ้นอยู่กับสาขาที่เลือกสมัคร)

9.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารังสีเทคนิค คณะสหเวชศาสตร์ (ผู้สมัครสามารถเลือกได้ 1 อันดับ)

จำนวนที่รับ

เปิดรับ 1 สาขา รวม 15 คน

คุณสมบัติของผู้สมัคร

– กำลังศึกษา ม.6 ในกลุ่มการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
– ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) 5 ภาคเรียน ไม่ต่ำกว่า 2.75

เกณฑ์ที่ใช้ในการคัดเลือก

– คะแนน GAT + คะแนน PAT1 + คะแนน PAT2

—————————————————-

สามารถเข้าไปอ่านระเบียบการสมัครทั้งหมดได้ที่เว็บไซต์ : http://www.admissions.chula.ac.th/normal-match.html

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : สำนักบริหารวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ : 02-2180209-10 โทรสาร : 02-2180208

*** ผู้ที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2559 ให้ใช้ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 (ภาคต้น) รวม 5 ภาคการศึกษา ในการสมัครเข้ารับการคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยวิธีรับตรง (แบบปกติ) ปีการศึกษา 2560 และจะต้องนำใบระเบียนแสดงผลการเรียน (ปพ.1) ที่แสดงผลการเรียน 5 ภาคการศึกษา (ฉบับจริง) มาแสดงในวันสอบสัมภาษณ์ด้วย

—————————————————-

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

>> รับตรง 60 (แบบพิเศษ) 20 โครงการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

>> รับตรง 60 จุฬาฯ มอบทุนเรียนฟรี โครงการจุฬาฯ-ชนบท (ปอเนาะ)

>> รับตรง 60 (แบบพิเศษ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในโครงการจุฬาฯ-ชนบท

ภาพจาก : http://www.chula.ac.th/th/archive/gallery