สวัสดีค่ะ น้อง ๆ กลับมาพบกับครูพี่โบว์กันอีกแล้วจ้า💜 ครูพี่โบว์สัญญาว่าจะนำเกร็ดความรู้วิชาภาษาไทย ข้อมูลที่เป็นความรู้ เคล็ดลับ เทคนิค วิธีลัดวิชาภาษาไทย หรือ เทคนิค GAT เชื่อมโยง ไม่ว่าจะสนามสอบไหน ครูพี่โบว์จะมาจัดให้แน่นอนค่ะ
หลังจากบทความที่แล้วน้องๆ ได้ลองฝึกทำข้อสอบจริง ข้อสอบ GAT เชื่อมโยง “บทความ เรื่อง สัตว์อพยพเคลื่อนย้ายกลับถิ่นกำเนิดได้อย่างไร” กันไปแล้ว และทุกคนคงได้ตรวจคำตอบจากเฉลยพร้อมคำอธิบาย ที่ครูได้ฝากไว้ให้เรียบร้อยแล้ว ก็คงจะพอเห็นแนวทางในการทำข้อสอบและการจัดสรรเวลาในการทำข้อสอบกันบ้างแล้วนะคะ
เทคนิค GAT เชื่อมโยง
บทความเรื่อง อนาคตราคาสินค้าเกษตรของไทย
บทความที่ผ่านมาเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสัตว์ ซึ่งถือว่าเป็นบทความที่อ่านง่าย เบาสมอง ไม่มีความซับซ้อนทั้งส่วนของเนื้อหา การคิดวิเคราะห์และความเข้าใจ จะยากก็ตรงที่ยิ่งง่ายยิ่งมีตัวหลอก โดยเฉพาะ “การใช้คำว่า ต่างๆ ดังกล่าว ทั้งหมด ล้วน” ซึ่งต้องระวังเรื่องการใช้รายละเอียดย่อยที่กล่าวถึงไปสร้างความสัมพันธ์กับข้อความอื่นๆ เช่น
จากตัวอย่างข้างต้นถ้าน้องๆ พลาดคำสำคัญดังกล่าวจะทำให้พลาดคะแนนไปเยอะมากเลยค่ะ ดังนั้นอย่าลืมนะคะ “ถ้าหากมีคำว่า ต่างๆ ดังกล่าว ทั้งหมด ล้วน ให้นำรายละเอียดย่อยที่กล่าวถึงทั้งหมดไปสร้างความสัมพันธ์กับข้อความที่กำหนดต่อไป” เท่านี้คะแนนเต็มก็ยังอยู่กับเราค่ะ
สำหรับวันนี้ครูพี่โบว์ก็มีบทความที่เป็นข้อสอบจริงอีกบทความหนึ่งมาให้ฝึกซ้อมกันนะคะ “ บทความ เรื่อง อนาคตราคาสินค้าเกษตรของไทย ” บทความนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับเศรษฐกิจที่ว่ากันว่าสับสน ซับซ้อน ซ่อนเงื่อน และพร้อมที่จะตัดคะแนนของเราให้เหลือน้อยที่สุดมาให้น้องๆ ลองฝึกทำกันค่ะ และที่สำคัญครูพี่โบว์ไม่ลืมที่จะเตรียมเฉลยพร้อมอธิบายอย่างละเอียดมาฝากกันเช่นเดิมจ้า
ถ้าพร้อมแล้วเริ่มจับเวลากันเลยค่า …
ตรวจสอบข้อสอบกันค่ะ
หลังจากได้ทำข้อสอบกันไปแล้ว เรามาดูกันดีกว่าว่าเราจะหลงกับดัก หรือหลุมพรางของข้อสอบกันบ้างรึเปล่า
เป็นยังไงกันบ้างคะ 2 บทความที่ผ่านมา ได้คะแนนเท่าไหร่กันบ้างเอ่ย? ทั้งสองบทความเป็นข้อสอบในปีเดียวกัน น้องๆ จะเห็นว่าข้อหนึ่งง่าย ข้อหนึ่งยากและซับซ้อนกว่า แต่ถ้าปีไหนยากทั้งสองบทความละมีหนาวแน่ๆ 😅
การสอบ GAT เชื่อมโยง 1 ครั้ง มีจำนวน 2 บทความ ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที น้ำหนักคะแนนบทความละ 75 คะแนน รวมทั้งหมด 150 คะแนน
ในสถานการณ์จริง เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าข้อสอบจะมีเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร จะยากหรือจะง่ายดังนั้นถ้าเราฝึกทำข้อสอบเยอะๆ ดูข้อผิดพลาดของตัวเองและดูคำอธิบายจากเฉลยเพื่อลบข้อผิดพลาดนั้นๆ รวมทั้งทบทวนเทคนิคพื้นฐานอย่างสม่ำเสมอ ก็น่าจะทำให้เราชินกับกับดัก ตัวหลอก หรือหลุมพราง และไม่หลงกลพลาดในการทำข้อสอบในวันสอบจริงแน่นอนค่ะ
ครูพี่โบว์ เป็นกำลังใจให้ … สู้ตายค่า✌🏻