อาชีพข้าราชการ เป็นอีกอาชีพที่หลาย ๆ คน ให้ความสนใจ โดยจะปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐ อย่างกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานท้องถิ่นของภาครัฐ ซึ่งสามารถรับราชการไปจนถึงเกษียณหากไม่ทำผิดวินัย
ถึงแม้เงินเดือนเมื่อเทียบกับเอกชนอาจจะดูน้อยกว่า แต่ในทางด้านสวัสดิการและความมั่นคง ก็ทำให้หลาย ๆ คนเลือกที่จะทำอาชีพสายนี้ ในบทความนี้มีข้อมูลเกี่ยวกับสวัสดิการ สิ่งที่คุณจะได้เมื่อทำงานข้าราชการ
สวัสดิการอาชีพข้าราชการ – ครอบคลุมถึงครอบครัว
สวัสดิการสิ่งที่จะได้ เมื่อทำงานเป็นข้าราชการแล้ว สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังต่อไปนี้
1. ค่าตอบแทนในระบบราชการ
– เงินเดือน
– เงินประจำตำแหน่ง
– เงินเพิ่ม
– สวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูล
2. สวัสดิการครอบคลุมไปถึงครอบครัว
– ค่าเล่าเรียนบุตร โดยที่บุตรจะได้สิทธิ์นี้ถึง 3 คน
– สิทธิ์การลางาน
– ค่ารักษาพยาบาล ( ครอบคลุมไปถึง พ่อแม่ คู่สมรส และบุตร )
– สิทธิ์ในการลา
– เครื่องราชอิสริยาภรณ์
– บำเหน็จบำนาญ สามารถเลือกได้ว่าจะรับบำเหน็จเป็นเงินก้อน หรือจะเป็นบำนาญที่ได้รับรายเดือนไปจนตลอดชีวิต หากเลือกรับเป็นเงินบำนาญสวัสดิการในการรักษาพยาบาลก็ยังคงอยู่ไปตลอดชีวิต
3. ประโยชน์เกื้อกูล
– ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
– ค่าเช่าบ้าน
– เงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ (โอที)
– รถประจำตำแหน่ง (ตามระดับตำแหน่ง)
– โทรศัพท์ของราชการ (ตามลักษณะงานและระดับตำแหน่ง)
อาชีพข้าราชการมีตำแหน่งอะไรบ้าง?
จะแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ และแบ่งออกเป็นสายงาน ยกตัวอย่างดังต่อไปนี้
– ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้สอนในหน่วยงานการศึกษา เช่น ครูผู้ช่วย, ครู, อาจารย์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์, รองศาสตราจารย์ และ ศาสตราจารย์ ฯลฯ
– ข้าราชการฝ่ายทหาร สังกัดกระทรวงกลาโหมหรือกองทัพไทย แบ่งเป็น กองบัญชาการกองทัพไทย,กองทัพบก,กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ)
– ข้าราชการพลเรือนสามัญ คือ ข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการในกระทรวง ทบวง กรมฝ่ายพลเรือน
– นักวิชาการต่าง ๆ เช่น นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร, นักวิชาการพัฒนาชุมชน, นักวิชาการประมง, นักวิชาการป่าไม้, นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร เป็นต้น
– กลุ่มงานการศึกษา ศิลป สังคม และการพัฒนาชุมชน เช่น นักผังเมือง, นักจดหมายเหตุ, บรรณารักษ์, นักโบราณคดี, นักประเมินราคาทรัพย์สิน, นักพัฒนาการกีฬา ฯลฯ
– กลุ่มอาชีพการคลัง การเศรษฐกิจ การพาณิชย์และอุตสาหกรรม เช่น เจ้าพนักงานการพาณิชย์, เจ้าพนักงานการคลัง, เจ้าพนักงานทรัพยากรธรณี, เจ้าพนักงานศุลกากร, เจ้าพนักงานชั่งตวงวัด, เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี ฯลฯ
– กลุ่มอาชีพวิทยาศาสตร์ เช่น เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์, เจ้าพนักงานอุตุนิยมวิทยา, เจ้าพนักงานอุทกวิทยา เป็นต้น
– กลุ่มอาชีพแพทย์ พยาบาลและสาธารณสุข เช่น เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข, เจ้าพนักงานสาธารณสุข, เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์, เจ้าพนักงานเวชกรรมฟื้นฟู, เจ้าพนักงานเภสัชกรรม ฯลฯ
– กลุ่มวิทยาศาสตร์ เช่น นักกีฏวิทยา, นักชีววิทยารังสี, นักธรณีวิทยา, นักนิติวิทยาศาสตร์ ฯลฯ
จะทำข้าราชการ ต้องสอบ ก.พ. ให้ผ่านก่อน
ทั้งนี้การจะเข้าทำงานราชการได้นั้นต้องทำการสอบ ก.พ. ให้ผ่านก่อน ซึ่งเป็นการสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้าไปทำงานให้กับหน่วยงานราชการ โดยต้องให้ผ่านมาตราฐานในการทดสอบ โดนด่านแรกต้องสอบภาค ก วัดความรู้ความสามารถทั่วไปให้ผ่านก่อน จากนั้นถึงจะมีสิทธิสมัครสอบภาค ข. (ความรู้เฉพาะตำแหน่ง) และ ค. (ความเหมาะสมกับตำแหน่ง) โดยจะต้องทำการสอบในภาค ข และภาค ค ตามลำดับ อ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่ >> สอบ ก.พ. คืออะไร ? สอบไปทำไม ใครสอบได้บ้าง
อ้างอิงจาก: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน